การละเล่น รำโจ๋ง ของชาววิเชียรบุรี …
เป็นการเล่นที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีจินตนาการในลักษณะการต้อนวัว ซึ่งแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายหญิงกับฝ่ายชายสมมุติให้ฝ่ายชายเป็นวัว ส่วนฝ่ายหญิงเป็นคนต้อนและไล่จับวัว
ฝ่ายหญิงจะไปต้อนฝ่ายชายออกมาทีละคน ในขณะที่ไล่ต้อนจับกันอยู่นั้น จะมีสัญญาณโทนตีจังหวะเสียงดัง ครึ่ม ครึ่ม ครึ่ม เมื่อจับได้แล้ว ฝ่ายหญิงจะควบคุมไว้ แล้วไล่ต้อนจับฝ่ายชายคนต่อไปจนหมด แล้วจึงชวนกันออกมารำฝ่ายหญิงจะรำเป็นวงกลมอยู่รอบนอก ฝ่ายชายจะรำอยู่วงในทำทีเหมือนถูกล้อมคอก ท่ารำท่อนนี้จะเปลี่ยนไปตามจังหวะการตีของกลองโทน เสียงดัง โจง จะ โจง จะ ครึ่ม ๆ จำนวน 7 เที่ยว แล้วเปลี่ยนเป็นครึ่ม 1 เที่ยว ในช่วงนี้ฝ่ายชายจะเปลี่ยนคู่รำ อาจจะไปข้างหน้าหรือถอยมารำกับคนข้างหลังก็ได้
สาเหตุที่เรียกว่า “รำโจ๋ง” เพราะเรียกตามเสียงโทนที่ใช้ตีประกอบการรำคือ โจ๋ง จะ โจ๋ง จะ ครึ่ม ครึ่ม
ฝ่ายหญิงนุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก และห่มสไบ ฝ่ายชายนุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม ผ้าสไบคล้องคอ ก่อนที่จะรำต้องมีการไหว้ครูเสียก่อน‘>
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook