เหตุเกิด ที่มา http://www.rtrc.in.th/ewt_news.php?nid=296&filename=index |
วันที่ 10 สิงหาคม 2544 – 18 สิงหาคม 2544
|
สถานที่ |
อำเภอเขาค้อ หล่มสัก และวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
|
ลักษณะเหตุ |
ฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ใน 3 อำเภอ คือ อำเภอเขาค้อ อำเภอหล่มสัก และอำเภอวิเชียรบุรี ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2544 จนเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 18 สิงหาคม 2544 |
บทวิเคราะห์เหตุการณ์ |
1.ภัยพิบัติที่บ้านน้ำก้อมาจากสาเหตุใด ? |
โดยทั่วไปสาเหตุหลักของการเกิดน้ำหลากหรือน้ำท่วมฉับพลันมาจากสาเหตุ 2 ประการ คือ จากธรรมชาติ เช่น ฝนตกหนัก, ช่วงเวลาฝนตกนาน, ลำน้ำไม่สามารถรับน้ำได้ ฯลฯ และจากมนุษยชาติ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่, การบริหารจัดการ ฯลฯ ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากปริมาณฝนที่บริเวณต้นน้ำเหนืออำเภอหล่มสัก ซึ่งได้จากการเฉลี่ยข้อมูลบริเวณ อำเภอภูหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และบริเวณอำเภอนครไทย อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก พบว่าในรอบ 5 วันก่อนเกิดเหตุมีปริมาณฝนเพียง 200 ม.ม. ซึ่งเมื่อนำมาแปลงเป็นน้ำท่า สำหรับลุ่มน้ำก้อ จะมีน้ำท่าประมาณ 10 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ประกอบกับลำน้ำก้อน่าจะสามารถรับน้ำได้ ดังนั้นเหตุการณ์ในครั้งนี้จึงน่าจะมาจากน้ำมือมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินทำกิน การตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำ การบุกรุกสภาพป่าไม้เชิงเขา ก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรง ซึ่งอย่างน้อยก็ทำให้ยอดน้ำมาเร็วขึ้น แรงขึ้น สามารถชะล้างหน้าดินให้พังทลาย แม้ว่าจะมีปริมาณฝนไม่มากนักการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศดังกล่าวยังทำให้มีน้ำท่ามากขึ้น 30-40 % จากสภาพเดิม |
2. เหตุใดเหตุการณ์ที่บ้านน้ำก้อจึงมีความรุนแรง? |
มีการสร้างชุมชนซึ่งอยู่ห่างจากไหลเขาเพียงไม่กี่กิโลเมตร และห่างจากช่องเขาน้ำก้อใหญ่ตัดกับเขาวังบาน เพียง 2.5กิโลเมตร เมื่อเกิดการพังทะลายของลาดเขาโดยเฉพาะเขาน้ำก้อใหญ่ ปริมาณน้ำหลากผสมโคลนต้นไม้ ตอไม้ จากการวิเคราะห์โดยแบบจำลอง “Diffusion Wave” พบว่า จะใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 – 10 นาที ก็จะถึงบริเวณหมู่บ้าน ซึ่งความเร็วของโคลนดังกล่าวมีประมาณ 4 – 6 ม./วินาที ดังนั้นชาวบ้านจึงไม่มีเวลาแม้แต่จะทำกิจกรรมอันใดได้ทันประกอบกับเหตุการณ์เกิดขึ้นเวลาประมาณตี 3 ซึ่งเป็นเวลาหลับนอนอย่างสนิท ถ้าลองพิจารณาในรูปของแรงกระแทกที่มากระทำต่อเสาอาคารบ้านเรือน พบว่า ด้วยความเร็วของสายน้ำและโคลนดังกล่าว และด้วยความหนาหรือ ความลึกของชั้นโคลนประมาณ 1 เมตร พบว่าแรงกระแทกมีไม่ต่ำกว่า 1 ตัน ดังกล่าว ดังนั้นโครงสร้างอาคารจึงไม่สามารถต้านแรงกระแทกน้ำได้ |
3. ทำไมไม่มีการเตือนภัยให้ชุมชนรับทราบ ? |
คงต้องยอมรับอย่างเปิดเผยว่าระบบทำนายและเตือนภัยในบ้านเรายังไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้มิได้หมายความว่า เราไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัยกรมอุตุฯ มี Super Computer แต่เราขาด “Software” ซึ่งในที่นี้หมายถึง การบริหารและจัดการ อดีตที่ผ่านมามีเหตุการณ์น้ำท่วมหลายครั้งเรามีระบบการบริหารและการจัดการอย่างไร เรามีหน่วยงานราชการถึง 32 หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องที่เกี่ยวกับน้ำ เอกภาพในการทำงานของแต่ละหน่วยงานเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างบ้านน้ำก้อ หน่วยงานใดเป็นผู้ดูแลลำน้ำก้อ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นปัญหาของการบริหาร และจัดการซึ่งรัฐบาลคงจะต้องให้ความสนใจมากขึ้น การที่ปราศจากข้อมูลทางด้านอุทกวิทยา ข้อมูลทางด้านปฐพี จึงเป็นไปได้ยากที่จะสร้างระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพได้
|
4. แล้วจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไรเพื่อสร้างความมั่นใจกับชุมชน ? |
โดยทั่วไปการแก้ปัญหาในเรื่องน้ำหลาก โคลนถล่ม จะมีอยู่ 2 มาตรการ กล่าวคือ มาตรการแรกเป็นการใช้สิ่งก่อสร้าง เพื่อหน่วงหรือยับยั้งความรุนแรง เช่น ในกรณีของเขื่อน ฝาย หรือโครงสร้างอื่น อีกมาตรการหนึ่ง เป็นมาตรการที่ไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง เช่น ระบบทำนายและเตือนภัย ระบบการจัดการในพื้นที่เสี่ยงภัย เป็นต้นอย่างไรก็ตาม การใช้โครงสร้างตามมาตรการแรกสำหรับภัยธรรมชาติสำหรับภัยธรรมชาติลักษณะนี้ มักจะทำได้ค่อนข้างลำบาก ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถจัดหาสถานที่รวมทั้งต้องใช้งบประมาณมหาศาล ดังนั้นการใช้ระบบทำนายและเตือนภัยร่วมกับระบบการจัดการในพื้นที่จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
|
ความเสียหาย |
1.ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต
ผู้เสียชีวิต 131 ราย (ตำบลน้ำก้อ 123 ราย , ตำบลน้ำชุน 78 ราย) บาดเจ็บ 109 ราย สูญหาย 5 ราย (ตำบลน้ำก้อ 4 , ตำบลน้ำชุน 1 ราย)
2.ราษฎรได้รับความเดือดร้อน
ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 8,889 คน 1,749 ครัวเรือน 3.พื้นที่การเกษตร
พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 83,320 ไร่ ปศุสัตว์ 25,882 ตัว บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 215 หลัง บางส่วน 499 หลัง บ่อปลา/บ่อกุ้ง 473 แห่ง 4. ประมาณมูลค่าความเสียหาย 112,417,933 บาท
|
การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด |
1. จัดตั้งศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เพื่อรับบริจาคเงิน เครื่องอุปโภค บริโภค รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง ณ ที่ทำการปกครองจังหวัดเพชรบูรณ์ ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์
2. องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ สำงานโยธาธิการ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท และกองพลทหารม้าที่ 1 นำเครื่องจักรกล ไปทำการรื้อถอน ซากปรักหักพัง และค้นหาศพผู้เสียชีวิต
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกับ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์และโรงพยาบาลหล่มสัก จัดหน่วยแพทย์ พยาบาล บริการให้การรักษาพยาบาลผู้ประสบภัย
4. สำนักงานบรรเทาทุกข์ สภากาชาดไทย มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ โครงการเพื่อนพึ่ง “(ภาฯ)” ยามยาก เหล่ากาชาดจังหวัดเพชรบูรณ์ นำสิ่งของอุปโภค บริโภค เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค ไปแจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัย
5. โครงการเพื่อนพึ่ง “(ภาฯ)” ยามยาก ร่วมกับเหล่ากาชาดจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดตั้งโรงทานประกอบอาหารเลี้ยงผู้ประสบภัย และมอบเงินสงเคราะห์แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต จำนวน 31 รายๆละ 5,000 บาท
6. ผู้ว่าราชการจังหวัด ประชาสงเคราะห์จังหวัดฯ ได้แจกจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ราษฎรที่บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 208 หลัง บ้านเสียหายบางส่วน 128 หลัง
|
ข้อเสนอแนะ |
1. ควรมีระบบทำนายและเตือนภัย ระบบทำนายและเตือนภัยสำหรับภัยธรรมชาติลักษณะนี้จะต้องเป็นแบบ Real time เนื่องจากเหตุการณ์เกิดขึ้นในเวลารวดเร็ว การทำนายน้ำหลากและแผ่นดินถล่ม จะอาศัยการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 3 ตัว เพื่อกำหนดจุดวิกฤตของการเริ่มเคลื่อนตัว กล่าวคือ ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำฝน ข้อมูลการอิ่มตัวของดิน และลักษณะหรือคุณสมบัติของชั้นดิน สำหรับตัวแปรสองตัวหลัง สามารถกำหนดและวิเคราะห์ได้จากภาคสนามและห้องปฏิบัติการ ความสำคัญจึงอยู่ที่การกำหนดหรือทำนายน้ำฝนล่วงหน้าให้แม่นยำ จากนั้นจึงจะสามารถคาดการณ์จุดเริ่มต้นของการเคลื่อนตัวเพื่อเข้าสู่ระบบเตือนภัย
2. ควรมีระบบการจัดการที่ดี ระบบทำนายและเตือนภัยที่ดีจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการบริหาร และจัดการที่มีประสิทธิภาพ การจัดการที่ว่าเป็นการจัดการในภาวะฉุกเฉิน (Emergency management) กับการจัดการลดผลกระทบในระยะยาว (Long term hazard mitigation)
2.1) การจัดการในภาวะฉุกเฉิน ประกอบไปด้วย การทำนายและเตือนภัย การหลบภัย การค้นหา และช่วยชีวิต การจัดหาเสบียงรวมทั้งการรักษาพยาบาล
2.2) การจัดการลดผลกระทบในระยะยาว ประกอบไปด้วย การจัดการด้านผังเมือง การจัดการด้านการควบคุมโครงสร้าง สาธารณูปโภคต่างๆ 3. รัฐบาลควรดำเนินการดังนี้
3.1) แผนระยะสั้น ภาครัฐควรมีการจัดสร้างระบบทำนายและเตือนภัยสำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง โดยพื้นที่ดังกล่าวควรมีคณะทำงานออกสำรวจและเก็บข้อมูลเพื่อนำเข้ามาหาข้อสรุปร่วมกัน นอกจากนี้ภาครัฐควรจะสนับสนุนด้านการจัดทำ data base ของข้อมูลทางด้านอุทกวิทยา ข้อมูลทางด้านปฐพี เพื่อใช้ในการสร้างระบบทำนายและเตือนภัยในพื้นที่แต่ละแห่งที่มีความเสี่ยง 3.2) แผนระยะยาว ภาครัฐควรจะทำการประเมินผลกระทบจากภัยพิบัติต่อชุมชนแต่ละแห่งตามลำดับความสำคัญ ทั้งนี้จะทำให้ทราบว่า พื้นที่ชุมชนใดจะต้องมีการบริหารและจัดการด้านผังเมืองอย่างไร การจัดการด้านโครงสร้างสาธารณูปโภคควรจะดำเนินการไปในทิศทางใด ข้อกำหนดใดที่เหมาะสมและประเมินว่าสามารถลดผลกระทบจากภัยพิบัติได้ก็น่าจะประกาศใช้เป้นระเบียบปฏิบัติ หรือเป็นกฎหมายต่อไป |
‘>
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook