LINE : ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์

ยินดีต้อนรับสู่เพจข่าวท้องถิ่นเพชรบูรณ์

วันพฤหัสที่ 26 ธันวาคม 2024
ข่าวเด่นเพชรบูรณ์

‘พื้นที่มากได้เงินน้อย พื้นที่น้อยได้เงินมาก’ จุดเปลี่ยนจากข้าว สู่เผือกของชาวนา บ้านนาเฉลียง เพชรบูรณ์

PP-11-แปลงปลูกเผือกของคุณกาญจนา11

การปรับเปลี่ยนมาปลูกพืช หรือทำเกษตรกรรมที่ไม่คุ้นเคย เพื่อรับมือกับปัญหาภัยแล้งคงไม่ใช่เรื่องง่ายและรวดเร็วชนิดพลิกฝ่ามือที่จะทำให้สำเร็จ ทั้งนี้ อาจต้องเติมความอดทนและความพยายามเพิ่มเข้าไปเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ และเชื่อแน่ว่าสถานการณ์เช่นนี้คงไม่อยู่กับพวกเราเป็นเวลายาวนาน

เมื่อต้นปีมีโอกาสลงพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เพราะทราบข่าวมาว่ามีชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง ในหมู่ 1 ต.นาเฉลียง อ.หนองไผ่ ซึ่งเคยยึดอาชีพทำนาปรัง ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองมาปลูกเผือกและพืชชนิดอื่นแทน โดยการเปลี่ยนครั้งนี้กลับกลายเป็นการพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เพราะพวกเขาสามารถสร้างเม็ดเงินได้มากกว่าการทำนาที่เคยเป็นอาชีพดั้งเดิมเสียด้วยซ้ำ

มีโอกาสได้พบและพูดคุยกับ คุณกาญจนา และ คุณศราวุธ สรรคพงษ์ สามี/ภรรยา ซึ่งอยู่บ้านเลขที่ 155 หมู่ 1 ต.นาเฉลียง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ เนื่องจากเป็นอีกครอบครัวที่ถือว่าประสบความสำเร็จจากการปลูกเผือกแทนการทำนาข้าว

PP 1 ขนาดหัวเผือกเมื่อเทียบกระป๋องกาแฟ22

เมื่อหลายปีก่อนครอบครัวนี้ยังคงยึดอาชีพทำนา ทั้งนาปีและนาปรัง บนพื้นที่ทั้งหมดกว่า 100 ไร่ เพราะอยู่ติดกับแม่น้ำป่าสัก แต่ภายหลังเกิดปัญหากระทบกับการปลูกข้าว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำ ราคาข้าว ตลอดจนต้นทุนการปลูก ซึ่งเมื่อปลูกเสร็จแทบจะไม่เหลือเงินติดบ้านเลย

เพราะการดิ้นรนแล้วไม่ท้อถอย จึงทำให้คุณกาญจนา และคุณศราวุธ เปลี่ยนมาปลูกเผือกตามคำแนะนำของน้าที่ประสบความสำเร็จมาก่อนหน้านี้แล้ว

คุณกาญจนาปลูกเผือกมา 3 ปี เป็นพันธุ์หอมเชียงใหม่ เหตุผลที่ใช้พันธุ์นี้เพราะมาจากความต้องการของตลาด เนื่องจากลักษณะเด่นคือ มีความหอมหวานในเนื้อ ให้ผลผลิตดี น้ำหนักดี สั่งซื้อต้นพันธุ์โดยตรงมาจากเชียงใหม่ เวลาซื้อจะเหมาเป็นตัน คละขนาด มีจำนวน 4-5 ต้นต่อกิโลกรัม

PP 10เผือกพันธุ์หอมเชียงใหม่ ผ่าแล้วจะพบเ222

ราคาซื้อต้นพันธุ์ไม่เคยคงที่ จะผันแปรไปตามความต้องการของตลาด อย่างปีที่แล้ว (2558) ราคาตันละ 8,000-10,000 บาท แต่ก่อนหน้านี้ช่วงที่ยังไม่มีใครสนใจ ราคาต้นพันธุ์ 6,000-8,000 บาทต่อตันเท่านั้น

สำหรับขั้นตอนการปลูก คุณกาญจนาอธิบายว่า ก่อนจะนำต้นพันธุ์ลงปลูก จะต้องมีการเตรียมดินด้วยการไถหว่าน ตากดินให้แห้งก่อนเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค แต่ยังไม่ต้องใส่ปุ๋ยหรือสารในดินแต่อย่างใด จากนั้นนำต้นพันธุ์ปลูกลงดินซึ่งมีวิธีปลูกคล้ายกับการดำต้นข้าว โดยมีระยะห่างระหว่างต้น 27 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถวห่างกัน 1 เมตร แล้วปล่อยน้ำเข้าแปลง

ที่มา http://www.matichon.co.th/news/80487

Logo

ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา
เทคโนฯ เกษตร
วันที่ 23 มีนาคม 2559  http://www.technologychaoban.com/news_detail.php?tnid=2793&section=5

PP-11-แปลงปลูกเผือกของคุณกาญจนา11

แปลงปลูกเผือก ของ คุณกาญจนา

การปรับเปลี่ยนมาปลูกพืช หรือทำเกษตรกรรมที่ไม่คุ้นเคย เพื่อรับมือกับปัญหาภัยแล้งคงไม่ใช่เรื่องง่ายและรวดเร็วชนิดพลิกฝ่ามือที่จะทำให้สำเร็จ ทั้งนี้ อาจต้องเติมความอดทนและความพยายามเพิ่มเข้าไปเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้ และเชื่อแน่ว่าสถานการณ์เช่นนี้คงไม่อยู่กับพวกเราเป็นเวลายาวนาน

เมื่อต้นปีมีโอกาสลงพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เพราะทราบข่าวมาว่ามีชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง ในหมู่ที่ 1 ตำบลนาเฉลียง อำเภอหนองไผ่ ซึ่งเคยยึดอาชีพทำนาปรัง ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองมาปลูกเผือกและพืชชนิดอื่นแทน โดยการเปลี่ยนครั้งนี้กลับกลายเป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาส เพราะพวกเขาสามารถสร้างเม็ดเงินได้มากกว่าการทำนาที่เคยเป็นอาชีพดั้งเดิมเสียด้วยซ้ำ

มีโอกาสได้พบและพูดคุยกับ คุณกาญจนา และ คุณศราวุธ สรรคพงษ์ สามี/ภรรยา ซึ่งอยู่บ้านเลขที่ 155 หมู่ที่ 1 ตำบลนาเฉลียง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื่องจากเป็นอีกครอบครัวที่ถือว่าประสบความสำเร็จจากการปลูกเผือกแทนการทำนาข้าว

เมื่อหลายปีก่อนครอบครัวนี้ยังคงยึดอาชีพทำนา ทั้งนาปีและนาปรัง บนพื้นที่ทั้งหมดกว่า 100 ไร่ เพราะอยู่ติดกับแม่น้ำป่าสัก แต่ภายหลังเกิดปัญหากระทบกับการปลูกข้าว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำ ราคาข้าว ตลอดจนต้นทุนการปลูก ซึ่งเมื่อปลูกเสร็จแทบจะไม่เหลือเงินติดบ้านเลย

เพราะการดิ้นรนแล้วไม่ท้อถอย จึงทำให้คุณกาญจนา และคุณศราวุธ เปลี่ยนมาปลูกเผือกตามคำแนะนำของน้าที่ประสบความสำเร็จมาก่อนหน้านี้แล้ว

คุณกาญจนาปลูกเผือกมา 3 ปี เป็นพันธุ์หอมเชียงใหม่ เหตุผลที่ใช้พันธุ์นี้เพราะมาจากความต้องการของตลาด เนื่องจากลักษณะเด่นคือ มีความหอมหวานในเนื้อ ให้ผลผลิตดี น้ำหนักดี สั่งซื้อต้นพันธุ์โดยตรงมาจากเชียงใหม่ เวลาซื้อจะเหมาเป็นตัน คละขนาด มีจำนวน 4-5 ต้น ต่อกิโลกรัม

ราคาซื้อต้นพันธุ์ไม่เคยคงที่ จะผันแปรไปตามความต้องการของตลาด อย่างปีที่แล้ว (2558) ราคาตันละ 8,000-10,000 บาท แต่ก่อนหน้านี้ช่วงที่ยังไม่มีใครสนใจ ราคาต้นพันธุ์ 6,000-8,000 บาท ต่อตัน เท่านั้น

สำหรับขั้นตอนการปลูก คุณกาญจนา อธิบายว่า ก่อนจะนำต้นพันธุ์ลงปลูก จะต้องมีการเตรียมดินด้วยการไถหว่าน ตากดินให้แห้งก่อนเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค แต่ยังไม่ต้องใส่ปุ๋ยหรือสารในดินแต่อย่างใด จากนั้นนำต้นพันธุ์ปลูกลงดินซึ่งมีวิธีปลูกคล้ายกับการดำต้นข้าว โดยมีระยะห่างระหว่างต้น 27 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถวห่างกัน 1 เมตร แล้วปล่อยน้ำเข้าแปลง

จากนั้น 20 วันหลังปลูก จะจ้างแรงงานจากสระบุรี มาโปะร่อง เพราะมีความเชี่ยวชาญและมีทักษะ โดยมีค่าแรงจ้างโปะร่องคิดเป็นวา ราคาวาละ 3 บาท เนื่องจากเผือกเป็นของใหม่ ชาวบ้านแถวนี้จึงยังไม่มีประสบการณ์ การโปะร่องคือการยกร่องเพื่อทำเป็นคันดินกลบโคนต้น เป็นการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมถึงต้น แล้วให้สูบน้ำเพิ่มเข้าอีกในร่องระหว่างแถวอีก ขณะเดียวกัน จะต้องโรยปุ๋ยทั้งสองฝั่งของร่องด้วย

ระหว่างรอการเจริญเติบโตจะต้องมีการฉีดพ่นยาป้องกันเชื้อรา พร้อมกับใช้ยาเร่งราก โดยใส่ยาเร่งรากในอัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ใส่ยาเร่งแป้งประมาณ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วงตอนอายุ 3-4 เดือน คุณกาญจนา ชี้ว่า การปลูกเผือกสิ้นเปลืองปุ๋ยมากต้องใส่เฉลี่ยเดือนละครั้ง เพราะกว่าจะได้เก็บผลผลิตต้องใส่จำนวน 4-5 ครั้ง

ดังนั้น สรุปต้นทุนหลักในการปลูกเผือกที่เห็นชัดและค่อนข้างสูงคือ ค่าต้นพันธุ์ ค่าปุ๋ย/ยา และค่าแรงโปะร่อง โดยต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ประมาณ 3 หมื่นบาท

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ เรื่องน้ำ เพราะในร่องจะขาดน้ำหรือระดับน้ำไม่ควรพร่องลง เนื่องจากเผือกชนิดนี้เป็นพันธุ์เผือกน้ำ ต่างกับเผือกอีกชนิดที่ชาวม้งทำกันอยู่บนภูเขา อันนั้นใช้ระบบสปริงเกลอร์

คุณศราวุธ ชี้ว่า ความจริงแล้วเผือกต้องใช้น้ำเช่นกัน เพียงแต่เผือกใช้พื้นที่ปลูกน้อยแค่ 10 ไร่ จึงทำให้ใช้น้ำน้อยกว่าปลูกข้าวมากที่ใช้เนื้อที่ 100 ไร่ ที่สำคัญเผือกมีกำไรดีกว่าการปลูกข้าว

คุณกาญจนา บอกว่า ช่วงเวลาที่เก็บผลผลิตให้มีคุณภาพและความสมบูรณ์ควรเริ่มในช่วงระหว่าง 5 เดือนครึ่ง ถึง 6 เดือน และไม่ควรเก็บเร็วกว่านี้เพราะเผือกจะขาดความสมบูรณ์แล้วทำให้ราคาตกทันที

นอกจากนั้นแล้ว การเลือกช่วงปลูกให้เหมาะสมถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักเผือก คุณกาญจนา ชี้ว่า เมื่อรอบที่แล้วเริ่มปลูกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม แล้วไปเก็บเดือนเมษายน-พฤษภาคม ได้น้ำหนักหัวละประมาณ 3.50 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าดีแล้วยังเคยสามารถปลูกได้น้ำหนักถึงไร่ละ 6 ตัน เพราะปัจจัยทุกอย่างสมบูรณ์ รุ่นล่าสุดที่กำลังจะเก็บ เธอคาดว่าน่าจะได้ผลผลิตจำนวน 3 ตัน ต่อไร่ และถือเป็นตัวเลขที่พอใจแล้ว

การมีรายได้จากเผือกจะต้องดูจากลักษณะความสมบูรณ์และน้ำหนักหัวเผือกที่ได้มาตรฐาน เพราะเป็นตัวกำหนดราคาขาย ทั้งนี้ น้ำหนักที่ดีควรอยู่ประมาณหัวละ 3.50 กิโลกรัม แต่ก็ไม่ง่ายนักที่จะทำได้เช่นนั้น แต่ถ้าหัวเผือกมีความสมบูรณ์มาก แม้น้ำหนักที่ได้ไม่ต่ำกว่า 1 กิโลกรัม ก็สามารถขายได้ราคาดีในช่วงที่ตลาดต้องการ

รายได้อีกอย่างหนึ่งที่เกิดจากการปลูกเผือก นั่นคือ “ลูกเผือก” ซึ่งจะมีลักษณะหัวเล็กๆ อยู่รอบหัวใหญ่ที่เรียกว่าหัวแม่ โดยจะฝังอยู่ใต้ดิน ทั้งนี้ เผือกบางหัวสามารถมีลูกเผือกถึง 10 ลูก หรือมากกว่า เพราะว่าเป็นพันธุ์ลูกดก ทั้งนี้ ลูกเผือกยังขายให้แก่ชาวบ้านเพื่อนำไปต้มขายเป็นอาหารตามตลาด

“อย่างที่ผ่านมา ถ้าชั่งน้ำหนักหัวเผือกได้สัก 6 ตัน จะได้ลูกเผือกถึง 3 ตัน และมีคนมารับซื้อเฉพาะลูกเผือกด้วย โดยขายกันตันละ 1,200 บาท หรือกิโลกรัมละ 12 บาท แต่บางครั้งราคาอาจมีลดลงถึง 6 บาท ต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตาม จะมีรายได้จากลูกเผือกเข้ามาอีกทางด้วย เพราะเมื่อแม่เผือกราคาถูกก็อาศัยขายลูกเผือกได้ราคาดี”

นอกจากนั้นแล้ว ชาวบ้านบางรายต้องการลดต้นทุนการซื้อต้นพันธุ์ก็มักจะนำลูกเผือกไปเพาะเป็นต้นกล้า ซึ่งก็สามารถปลูกได้เช่นกัน แต่วิธีนี้มีข้อเสียตรงที่การเจริญเติบโตของต้นช้า และหัวเผือกด้อยคุณภาพ จะต่างกับการซื้อต้นพันธุ์มาปลูกอย่างสิ้นเชิง

เจ้าของแปลงชี้ว่า เผือกจะปลูกซ้ำที่เดิมไม่ได้ เพราะอาจเจอปัญหาเชื้อราในดิน ดังนั้น เกษตรกรจึงนิยมมีพื้นที่หลายแห่งเพื่อย้ายแปลงปลูกสลับกันไป-มาหมุนเวียน แต่ในช่วงระหว่างรอ สามารถปลูกพืชล้มลุกในแปลงที่รื้อออกไปได้ เพราะถือเป็นการสร้างคุณภาพปรับปรุงดินไปพร้อมกัน อีกทั้งยังเกิดรายได้ในช่วงระหว่างการรอด้วย

คุณกาญจนา กล่าวว่า จะมีพ่อค้าจากตลาดไทเดินทางมาดูแปลงปลูกเผือกก่อนเก็บผลผลิต ทั้งนี้ หากพ่อค้าพอใจคุณภาพเผือกจะตีราคารับซื้อเหมาทั้งหมด แล้วมาขุดเอง ซึ่งในปี 2558 แปลงเผือกแห่งนี้มีผลผลิตที่ได้มาตรฐานมากจนมีพ่อค้ามาขนเพื่อขายส่งไปยังต่างประเทศ ส่วนเผือกที่ตกเกรด พ่อค้ามักนิยมนำไปวางขายในตลาดไท คุณกาญจนา ชี้ว่า การหันมาปลูกเผือกทำให้มีรายได้ดีกว่าเมื่อก่อน ถึงแม้บางปีราคาเผือกอาจถูกลง แต่ยังมีรายได้ดีกว่าการปลูกข้าว

“อย่างที่ผ่านมา ตีราคาเหมาให้ไร่ละ 1 แสนบาท หักเงินค่าลงทุนทั้งหมดประมาณ 3 หมื่นบาท จะเหลือไร่ละ 7 หมื่นบาท หรือบางปีราคาไม่ดีอาจเหมาไร่ละ 5 หมื่นบาท แล้วถ้าหักเงินลงทุนออกไร่ละ 3 หมื่นบาท จะเหลือ 2 หมื่นบาท ถ้าปลูกสัก 10 ไร่ ก็ยังมีเงินเหลือสัก 2 แสนบาท”

ปัจจุบันชาวบ้านในพื้นที่ตำบลนาเฉลียงหันมาปลูกเผือกเพิ่มขึ้น จากเมื่อก่อนมีปลูกเผือกกัน 2-3 ราย แต่หลังจากประสบปัญหาราคาข้าวจึงเปลี่ยนมาปลูกเผือกกันกว่า 10 ราย แต่ละรายใช้พื้นที่ 10 ไร่ และมีแนวโน้มจะปลูกกันเพิ่มมากขึ้นอีก

ไม่เพียงมีรายได้จากเผือก ครอบครัวนี้ยังมีค่ากับข้าวจากชมพู่ทับทิมจันทร์จำนวน 100 ต้น ปลูกมา 3 ปี ได้ผลผลิตมา 2 รอบ ไม่ค่อยได้ดูแลอะไรเป็นพิเศษ ไม่เคยฉีดยา หรือให้ปุ๋ยแต่อย่างใด แต่ยังให้ผลผลิตดกมาก นำไปขายที่ตลาดสดแถวบ้านในราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท อย่างปีที่แล้วมีรายได้จากการขายชมพู่ถึง 4 หมื่นบาท ก็นำมาใช้เป็นรายได้หมุนเวียนในบ้าน

ในท้ายสุด คุณกาญจนา เผยว่า ถ้าคิดจะปลูกเผือกต้องหาแหล่งจำหน่ายที่ชัดเจนก่อน เพราะถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากเผือกเป็นพืชที่ต้องมีแหล่งขายเฉพาะ ไม่สามารถวางขายตามตลาดทั่วไปเหมือนผักต่างๆ ได้ แล้วอย่าไปหลงกระแส หรือหลงเชื่อหากมีการเสนอให้ปลูกก่อนแล้วมารับซื้อ ควรตรวจสอบตลาดด้วยตัวเองหรือหากรวมกลุ่มกันได้จะเป็นการปลอดภัย

สนใจต้องการหาซื้อเผือกที่มีคุณภาพ ติดต่อได้ที่ คุณกาญจนา สรรคพงษ์ โทรศัพท์ (085) 964-8100’>

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

ข่าวเด่นเพชรบูรณ์ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด