LINE : ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์

ยินดีต้อนรับสู่เพจข่าวท้องถิ่นเพชรบูรณ์

วันพฤหัสที่ 19 ธันวาคม 2024
ท่องเที่ยว

วัดสนธิกรประชาราม อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

 

77 หมู่ที่ 3 ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเทศไทย 67000

เป็นวัดพุทธศาสนา ธรรมยุติกนิกาย ประเภทวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ ณ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเทศไทย
วัดสนธิกรประชารามสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533[1], ได้รับรองเป็นวัดในพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 2535[1] และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2547

เมื่อปลาย พ.ศ. 2531 พระกิตติสารโสภณ (ชลอ กิตฺติสาโร) และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ (ธรรมยุต) ซึ่งต่อมาเป็นพระธรรมวราลังการ (ชลอ กิตฺติสาโร) เจ้าอาวาสวัดเพชรวราราม อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ และที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 4, 5, 6 และ 7 (ธรรมยุต) ปรารภแก่ วลีรัตน์ ลำใย โยมวัดคนหนึ่ง ว่า ต้องการที่ดินแปลงที่อยู่ติดริมแม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อสร้างวัดเป็นอนุสรณ์แด่พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร วัดบวรนิเวศวิหาร[ต้องการอ้างอิง]
เมื่อวลีรัตน์ ลำใย ทราบความประสงค์ จึงขอที่ดินแปลงติดแม่น้ำป่าสัก ที่เป็นสวนผลไม้ของขุนชำนาญนิธิกร[เป็นใคร?] ได้สร้างไว้ จาก อุทัย นิธิกร มารดาของขุนชำนาญนิธิกร จำนวน 6 ไร่ 23 ตารางวาเศษ ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 18354 เลขที่ดิน 27 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2532[ต้องการอ้างอิง] และ ถวายให้วัดเพชรวรารามในงานสอบธรรมสนามหลวง ประจำปี 2531 ณ วัดเพชรวราราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์[ต้องการอ้างอิง] ต่อมา วัดเพชรวรารามได้จัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีกจำนวน 6 ไร่ 3 งาน รวมมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 12 ไร่ 3 งาน

 

ขณะสร้างวัด พระกิตติสารโสภณ (ชลอ กิตฺติสาโร) นิมนต์ พระพิพัฒน์ (ฉายา ฐิตายุโก) จากวัดถ้ำเขาหินปูน (ปัจจุบันเรียกว่า วัดถ้ำปูนสวรรค์) ตำบลนาสนุ่น อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มาเป็นประธานที่พักสงฆ์[ต้องการอ้างอิง]กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 โดยมีวลีรัตน์ ลำใย เป็นผู้รับใบอนุญาตในการสร้าง
กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยให้ชื่อว่า “วัดสนธิกรประชาราม”[1] และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
ชื่อ “วัดสนธิกรประชาราม” มาจากคำว่า “สนธิ” ซึ่งมาจากชื่อของพระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจสาโร) ส่วนคำว่า “กร” มาจากสร้อยนามบรรดาศักดิ์ของ ขุนชำนาญนิธิกร และคำว่า “ประชา” หมายถึง ประชาชนทั่วไป สำหรับคำว่า “อาราม” หมายถึง วัดหรือสถานที่มีความร่มรื่น รวมเป็น “สนธิกรประชาราม” มีความหมายว่า วัด หรือ สถานที่มีความร่มรื่น ที่ขุนชำนาญนิธิกรและประชาชนร่วมกันสร้างเป็นอนุสรณ์แด่ พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจสาโร)
ลำดับเจ้าอาวาส

ลำดับที่ รายนาม ตั้งแต่ปี จนถึง หมายเหตุ
1. พระครูพิพัฒน์วชิรคุณ
(พิพัฒน์ ฐิตายุโก) พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2541 เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ (ธรรมยุต) และผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ (ธรรมยุต) ด้วย
2. พระครูวิชมัยปุญญารักษ์
(ศุภชัย ปภาสิริ) พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2544 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ (ธรรมยุต), เจ้าคณะอำเภอหล่มสัก-เขาค้อ (ธรรมยุต) และเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ (ธรรมยุต) ด้วย
3. พระวิสุทธินายก
(ถนอม ศรีภักดิ์) พ.ศ. 2545 (ยังอยู่ในตำแหน่ง) เป็นเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ (ธรรมยุต) ด้วย

 

สิ่งสำคัญภายในวัด

พระประธาน
พระประธาน
พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ออกแบบ โดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี นายช่างผู้ออกแบบพระพุทธรูปปางลีลาประจำพุทธมณฑล[ต้องการอ้างอิง] และมีพระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) เจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก (พระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ 9) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระมหานายก พระราชาคณะปลัดขวาฐานานุกรมในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธานในการเททอง[ต้องการอ้างอิง]
[แก้]ศาสนสถาน และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ
ภายในวัด มีอุโบสถหลังหนึ่ง ประกอบด้วยสองชั้น ชั้นล่างเป็นศาลาการเปรียญ กว้าง 17.20 เมตร ยาว 33 เมตร ชั้นบนใช้ประกอบสังฆกรรม กว้าง 8.90 เมตร ยาว 20.90 เมตร อุโบสถนี้สร้างตามแบบของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
นอกจากนี้ ในวัดยังมีอาคารหลังหนึ่ง เรียก “อาคารธรรมรักษา” เป็นอาคารสองชั้นใช้สำหรับการศึกษาเล่าเรียนของพระสงฆ์ ชั้นล่างเป็นห้องพักพระวิทยากร 1 ห้อง และห้องเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีอีก 5 ห้อง ส่วนชั้นบนเป็นที่พักสำหรับพระภิกษุสามเณร 20 ห้อง’>

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

ท่องเที่ยว ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด