LINE : ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์

ยินดีต้อนรับสู่เพจข่าวท้องถิ่นเพชรบูรณ์

วันพฤหัสที่ 19 ธันวาคม 2024
ท่องเที่ยว

สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอบึงสามพัน

อำเภอบึงสามพัน 

ประวัติความเป็นมาอำเภอบึงสามพัน

อำเภอบึงสามพันมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานที่น่าสนใจ ตามที่ได้มีการบอกเล่าสืบต่อเป็นตำนานดังต่อไปนี้ โดยก่อนที่จะเรียกเป็นชื่ออำเภอบึงสามพันคนทั่วไปรู้จักบริเวณที่ตั้งของอำเภอในชื่อของ     “ ซับสมอทอด ” ซึ่งไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่ามีการเรียกขานชื่อซับสมอทอดมานานเพียงใด เพราะบริเวณดังกล่าวนี้ยังไม่มีชุมชนมาตั้งอยู่แต่ก่อน ด้วยเป็นสภาพของป่าดงดิบ มีความอุดมสมบูรณ์ และรกชัฏเป็นอย่างยิ่งประกอบไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ และเต็มไปด้วยสัตว์ป่าน้อยใหญ่มากมายหลายชนิด เช่น ช้าง เสือ กระทิง เก้ง กวาง เป็นต้น ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาก่อนปีพุทธศักราช 2484 โดยการเดินทางสัญจรไปมาในขณะนั้นลำบากเป็นอย่างมาก เพราะยังไม่มีถนนเป็นเพียงเส้นทางที่ลัดเลาะผ่านบริเวณป่าผ่านจากทางเหนือไปทางใต้เท่านั้น ซึ่งปกติจะเป็นเส้นทางค้าขายของพ่อค้าโคกระบือในอดีตด้วยคือเป็นเส้นทางสัญจรไปมาเป็นครั้งคราว อาทิเช่น นายกา ราษฎรจากภาคอีสานคือจังหวัดอุบลราชธานี เป็นพ่อค้าโคกระบือเรียกตามภาษาอีสานว่า “พ่อฮ้อยกา” ได้นำโคกระบือต้อนมาตามแนว ถนนคชเสนีย์ (คือถนนสายสระบุรี-หล่มสัก ในปัจจุบัน ซึ่งถนนคชเสนีย์เพิ่งจะมาสร้างในช่วงระยะเวลาประมาณปีพุทธศักราช 2484 – 2489 หรือในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ) เป็นเวลาอยู่หลายปี เพื่อนำมาขายให้กับชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ และชาวจังหวัดนครสวรรค์ บางครั้งยังนำไปขายถึงจังหวัดพิจิตร และพิษณุโลกอีกด้วย จนกระทั่งปีพุทธศักราช 2494 นายกา นายทอง และครอบครัว รวม 4 ครัวเรือนได้พาครอบครัวมาตั้งรกรากเป็นกลุ่มแรกโดยมาตั้งอยู่บริเวณซึ่งเรียกว่าบ้านซับเกษตร ตำบลบึงสามพันในปัจจุบัน เพราะเห็นว่าเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก มีดินดี และมีน้ำท่าบริบูรณ์ เหมาะสำหรับทำการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง หรือเรียกได้ว่ามี “ ดินดำ น้ำชุ่ม ” นั่นเอง

ส่วนสาเหตุที่ได้ชื่อว่า “ ซับสมอทอด ” เพราะว่ามีต้นสมอใหญ่มากอยู่ต้นหนึ่งขึ้นอยู่ที่ริมคลองซับสมอทอดพร้อมกับเอนลงไปในคลอง ดูโดดเด่นกว่าต้นไม้อื่น ซึ่งคลองนี้จะไหลจากทิศตะวันตกไปลงสู่บึงสามพัน สมัยนั้นคลองมีความลึก มีน้ำใสสะอาด และมีต้นไม้ขึ้นอยู่ริมคลองอย่างหนาแน่น จนกระทั่งปี พ. ศ. 2513 ต้นสมอต้นดังกล่าวได้ถูกน้ำเซาะและได้ล้มลง จึงเป็นตำนานของคำว่า “ ซับสมอทอด ” ซึ่งแปลเป็นภาษาอย่างง่ายว่า “ แหล่งน้ำซึ่งมีต้นสมอยืนต้นอยู่หรือทอดเอนอยู่ ” ปัจจุบันคลองซับสมอทอดได้ตื้นเขินขึ้นมาก

คำว่า “บึงสามพัน ”เป็นชื่อเรียกบึงแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบึงสามพัน ประมาณ 3 กิโลเมตร โดยบึงสามพันมีขนาดความกว้างประมาณ 150 เมตร และมีความยามประมาณ 3 กิโลเมตร และมีลักษณะทอดตัวจากทางทิศเหนือไปยังทิศใต้ บึงสามพันเมื่อก่อนนั้น (ก่อนปี พ.ศ. 2500) อุดมไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะมีจระเข้ชุกชุมมาก ประมาณกันว่าไม่ต่ำกว่า 3,000 ตัว ปัจจุบันยังมีหลักฐานยืนยันได้จากระดูกจระเข้จำนวนมากอยู่ที่วิหารวัดบึงสามพันล่าง บ้านบึงสามพันล่าง หมู่ที่ 5 ต.บึงสามพัน และบุคคลเก่าแก่ที่อ้างอิงได้ คือ นายเย้า เจริญสุข อายุ 90 ปีได้เสียชีวิตแล้วเมือปีพุทธศักราช 2544 โดยนายเย้าเคยมีอาชีพจับจระเข้ที่บึงสามพันเพื่อเอาหนังไปขายตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2493 โดยขายได้นิ้วละ 12 บาท วัดจากด้านทางกว้างของตัวจระเข้ นายเย้า เจริญสุข เคยเป็นบุคคลสำคัญของฟาร์มจระเข้จังหวัดสมุทรปราการ ในการแสดงการจับจระเข้ให้ผู้ชมที่มาชมจระเข้ในฟาร์มแห่งนี้ทุกวัน โดยบุคคลทุกคนในฟาร์มจระเข้ เรียกว่าอาจารย์เพราะมีความเชี่ยวชาญมาก โดยนายเย้า ยังเคยถูกเชิญมาออกรายการทีวีของคุณไตรภพ ลิมปะภัทร ในรายการทไวไลโชว์ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 มาแล้วโดยนายเย้าเคยเล่าประสบการณ์ชีวิตให้ฟังว่า เมื่อเด็กแกจะเป็นคนเกเรไม่ยอมช่วยพ่อแม่ทำนา ไม่ทำการงานเร่ร่อนไปอยู่ในที่ต่าง ๆ จนย่างเข้าวัยหนุ่ม วันหนึ่งไปพบพระธุดงค์รูปหนึ่งเข้า พระธุดงค์ถูกอัธยาศัย และเมตตาให้ประสิทธิประสาทวิชาให้ คือ วิชาปราบจระเข้ วิชาจับสัตว์ดุร้าย พร้อมให้มีดหมอติดตัวมาเล่มหนึ่ง ดังนั้นต่อมาแกจึงได้มีอาชีพล่าจระเข้ทุกท้องที่ที่มีจระเข้ มาอีกหลายสิบปี ก่อนผันชีวิตตนเองในบั้นปลายมีอาชีพประจำอยู่ที่ฟาร์มจระเข้จังหวัดสมุทรปราการจนตลอดชีวิต โดยลุงเย้า ได้เคยฟังเสียงเล่าลือเป็นครั้งแรกมาก่อน เมื่อปีพุทธศักราช 2493 ว่า ณ บึงสามพันแห่งนี้มีจระเข้กว่า 3,000 ตัว โดยได้เดินทางมาทางเรือตามแม่น้ำป่าสักผ่านจังหวัดอ่างทอง ลพบุรี อำเภอชัยบาดาล อำเภอวิเชียรบุรี จนเข้าเขตอำเภอบึงสามพัน สามารถจับจระเข้ได้เป็นจำนวนมาก ประมาณว่าจระเข้ในบึงมีมากกว่า 3000 ตัวอีก สมกับคำล่ำลือกันว่าบึงสามพัน โดยถูกเรียกชื่อว่าเป็นบึงสามพันมานานแล้ว จนกระทั่งถูกนำใช้มาเป็นชื่อของอำเภอบึงสามพันในปัจจุบัน

การคมนาคมในอำเภอบึงสามพัน ในสมัยที่ยังขึ้นอยู่กับอำเภอวิเชียรบุรี (ต่อมาอำเภอหนองไผ่แยกออกจากอำเภอวิเชียรบุรี ขณะนั้นอำเภอบึงสามพันจึงขึ้นอยู่กับตำบลบ้านโภชน์อำเภอหนองไผ่ ตามมาด้วย) นั้นทุรกันดารเป็นอย่างยิ่ง ถนนสายหลักคือถนนคชเสนีย์(คือถนนสายสระบุรี-หล่มสักในปัจจุบัน) ได้เริ่มดำเนินการสร้างในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 (ระหว่าง พ.ศ 2484-2489) จอมพล ป. พิบูลสงคราม ตามแนวนโยบายที่จะย้ายเมืองหลวง จากกรุงเทพมหานคร มายังจังหวัดเพชรบูรณ์ เนื่องจากมีสภาพทางภูมิศาสตร์ มีภูเขาล้อมรอบอยู่ถึงสามด้าน เว้นแต่ด้านทิศใต้เท่านั้นยากแก่การบุกรุกของข้าศึก “ เหมาะสมกับการก่อสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ขึ้นในชื่อว่านครบาลเพชรบูรณ์ ” ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยจำยอมให้ ประเทศญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยได้ โดยได้เกณฑ์แรงงานราชฎรมาจากจังหวัดต่างๆในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสานเป็นจำนวนมาก ประมาณ 5000 คน สมัยนั้นผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก อันเกิดจากการได้รับเชื้อไข้ป่า(ไข้มาลาเรีย) หรือไม่ก็ตกเป็นอาหารของเสือและสัตว์ร้าย คนโบราณกล่าวว่า เมืองเพชรบูรณ์เป็นเมืองเนรเทศข้าราชการ ข้าราชการคนใดโกงบ้านโกงเมืองหรือทำผิดวินัยราชการ จะถูกเนรเทศมาอยู่จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมักจะเสียชีวิตด้วยไข้ป่า จนมีคำอุปมามาแต่ครั้งโบราณว่า “ หากผู้ใดจะมาเมืองเพชรบูรณ์ให้เตรียมหม้อดินมาด้วย คนละ 1 หม้อ เพื่อเตรียมใส่กระดูกของตนเองกลับไปด้วย ” ซึ่งถนนสายนี้ถือเป็นสายเอกของอำเภอบึงสามพัน ก่อนที่จะมีถนนสายวังพิกุล และสายจังหวัดนครสวรรค์เชื่อมกับจังหวัดชัยภูมิในเวลาต่อมา

กลุ่มราษฎรที่เข้ามาอาศัยอยู่รุ่นแรก เริ่มตั่งแต่ครอบครัวนายกา ตั่งแต่ปีพุทธศักราช 2494 เป็นต้นมา เริ่มมีราษฎรจากต่างจังหวัดข้างเคียงอพยพมามากขึ้นได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร ลพบุรี สระบุรีชัยภูมิ เป็นต้น ซึ่งพื้นที่ซับสมอทอดมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้นานาพันธุ์และชุกชุมด้วยสัตว์ป่าและสัตว์น้ำ จึงเป็นพื้นที่บุกเบิก และหักล้างถางพงของราษฎรต่างพื้นที่ บางส่วนมักมีคดีติดตัวมา ต่างขนบธรรมเนียมประเพณี ต่างถือดีทำให้เกิดการแย่งที่ทำมาหากินและแย่งกันเป็นใหญ่ในหมู่บ้านจึงตัดสินและลงเอยด้วยการฆ่ากันเป็นประจำ ประมาณเดือนละ 4 ศพ ดังมีคำกล่าวมาแต่ก่อนว่า “ อยากรวยให้ไปอยู่ที่ลำนารายณ์ อยากตายให้ไปอยู่ที่ซับสมอทอด ”

สิ่งศักดิ์สิทธ์ที่เคารพนับถือของชาวอำเภอบึงสามพัน ซึ่งมีประวัติความเป็นมาน่าสนใจคือ พระพุทธรูป “ หลวงพ่อบึงสามพัน ” โดยมีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า วันหนึ่งราษฎรบ้านโภชน์กลุ่มหนึ่งมียายมอญรวมอยู่ด้วยได้พากันมาหาปลาที่บึงสามพัน(ซึ่งในขณะนั้นมีปลาชุกชุมมาก) โดยวิธีการยกยอ โดยยายมอญยกยอทั้งวันจนเหน็ดเหนื่อยไม่ได้ปลาแม้แต่ตัวเดียวจึงเกิดความท้อแท้ใจมองดูดวงอาทิตย์ก็บ่ายคล้อยลงทุกที ทันใดนั้นก็เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้น เพราะยอของยายมอญเกิดไปเกี่ยวกับวัตถุอะไรบางอย่างไม่ทราบได้และไม่สามารถยกยอขึ้นได้จึงให้เพื่อนบ้านหลายคนช่วยกันยกยยอแต่ยกยออย่างไรก็ไม่ขึ้นเป็นเวลาหลายครั้ง ซึ่งช่วงแรกไม่มีใครกล้าดำน้ำลงไปดูใต้น้ำเพราะขณะนั้นจระเข้ชุกชุมมาก แต่ในที่สุดเพื่อนบ้านเห็นว่าไม่มีทางดึงขึ้นได้แน่จึงเสี่ยงดำน้ำลงไปดูให้แน่ใจและจะได้ปลดยอออกให้ จึงพบว่าวัตถุที่ติดยออยู่นั้นเป็นพระพุทธรูปสมัยเก่า แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถนำพระพุทธรูปขึ้นจากบึงได้ทั้งที่พระพุทธรูปองค์ไม่ใหญ่นัก จนต้องทำบุญอธิษฐานจิตว่า “ จะเทิดทูลยิ่งชีวิต ” จึงอัญเชิญขึ้นมาได้ ปัจจุบันหลวงพ่อบึงสามพันประดิษฐานที่วัดบ้านโภชน์อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง และมีประวัติการปล้นพระพุทธรูปหลวงพ่อบึงสามพันขึ้นครั้งหนึ่งเมื่อปีพุทธศักราช 2504 พวกโจรได้บุกเข้ามาโจรกรรมหลวงพ่อบึงสามพัน หลวงพ่อคงเจ้าอาวาสวัดบ้านโภชน์ในขณะนั้นเข้าขัดขวางจึงถูกพวกโจรทุบด้วยฆ้อน จนหลวงพ่อคงสลบไป พวกโจรคิดว่าหลวงพ่อคงตายแล้ว จึงหันกลับมาที่พระพุทธรูปหลวงพ่อบึงสามพันพากันอุ้มพระพุทธรูปหลวงพ่อบึงสามพันออกจากพระอุโบสถ แต่พวกโจรไม่สามารถอุ้มหลวงพ่อบึงสามพันออกจากอุโบสถได้เพราะหลวงพ่อบึงสามพันได้แสดงปาฎิหารย์ให้องค์ใหญ่กว่าประตูพระอุโบสถ(หลวงพ่อบึงสามพันเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 19 นิ้ว สูง 31 นิ้ว) ต่อมาพวกโจรที่ปล้นวัดบ้านโภชน์ครั้งนั้น ก็เกิดฆ่าฟันกันเองจนตายหมด และเมื่อถึงช่วงเวลาระหว่างเดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคมของทุกปีราษฎรบ้านโภชน์จะต้องนำองค์หลวงพ่อบึงสามพัน ออกมาให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา และทำการสรงน้ำกัน โดยมีความเชื่อกันว่าถ้าได้นำหลวงพ่อบึงสามพันแห่และทำพิธีสรงน้ำกันจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

1.2 การจัดตั้งเป็นอำเภอ

เมื่อปี พ.ศ. 2509 ตำบลซับสมอทอด ได้แยกออกจากตำบลบ้านโภชน์ อำเภอหนองไผ่ เมื่อถึงปี พ.ศ 2518 ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอบางส่วนเห็นควรใช้ชื่อกิ่งอำเภอซับสมอทอดตามชื่อตำบลเดิม แต่ในที่สุดที่ประชุมเห็นด้วยกับการใช้ชื่อว่า “ กิ่งอำเภอบึงสามพัน ” โดยให้เหตุผลว่าในพื้นที่มีบึงสามพันซึ่งเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจและน่าจะเป็นเอกลักษณ์เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปจนจำได้ง่าย เมื่อกล่าวถึงชื่อกิ่งอำเภอก็จะทำให้นึกถึงบึงสามพันได้ทันที

สถานที่น่าสนใจ

หลวงพ่อบึงสามพัน    เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเนื้อสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 19 นิ้ว สูง 31 นิ้ว สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัยตอนปลาย อู่ทองตอนต้นพบจมอยู่ในลำน้ำบึงสามพัน ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดคงสมโภชน์ ตำบลบ้านโภชน์ อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ หลวงพ่อบึงสามพัน จมอยู่ในลำน้ำบึงสามพัน สันนิฐานว่าเมื่อหลายร้อยปีก่อน บึงสามพันแห่งนี้น่าจะเป็นเส้นทางเดินเรือของคนสมัยนั้น คงจะมีการอัญเชิญพระพุทธรูปมาด้วยแล้วเกิดอุบัติเหตุเรือล่ม (บางคนก็เชื่อว่าถูกจระเข้ขนาดใหญ่หนุนท้องเรือ) ทำให้ทรัพย์สินและพระพุทธรูปจมน้ำ ส่วนผู้คนถ้าไม่จมน้ำก็คงหนีเอาตัวรอด บางส่วนก็ถูกจระเข้กัดตาย เนื่องจากได้พบซากจระเข้ และซากเรือโบราณที่ทำจากไม้ตะเคียนและฆ้องโบราณในลำน้ำจำนวนมาก พอที่จะยืนยันได้ที่ลำน้ำบึงสามพัน แห่งนี้มีปลาชุกชุม จึงมีผู้คนจากหลายพื้นที่เข้ามาหาปลาในช่วงน่าน้ำเป็นประจำทุกปีโดยใช้เรื อเป็นพาหนะโดยมีเครื่องมือจับปลาตามวิธีชีวิตชาวชนบท เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ก่อนปี พ.ศ.2493 อยู่มาวันหนึ่งชาวบ้านโภชน์ อ.หนองไผ่ ได้ชักชวนกันมาหาปลาที่บึงสามพัน ได้มีหญิงหม้ายชื่อยายมอญ (เป็นต้นตระกูล ออกเจนจบ ในปัจจุบัน) โดยการยกยอหาปลา มากับเพื่อนบ้านหลายคน ทันใดนั้นได้เหตุเหตุอัศจรรย์กับยายมอญ ทั้ง ๆ ที่ในบึงมีปลาชุกชุมคนอื่นๆ ก็หาปลาได้เป็นปกติ แต่ในวันนั้นยายมอญ ยกยอ ไม่ได้ปลาแม้แต่ตัวเดียว จนตะวันบ่ายคล้อยใกล้จะกลับบ้าน ยายมอญก็ยังไม่ได้เปล่าจึงเกิดความท้อแท้ใจ จึงยกยอมาพลับจะเก็บบนเรือ แต่ปรากฏว่ายอของยายมอญ ไปติดกับวัตถุบางอย่างในน้ำ ยกไม่ขึ้น ยายมอญจึงให้เพื่อนบ้านผู้ชายช่วยดำน้ำลงไปปลดยอให้ แต่ปรากฏว่ายอไปติดกับวัตถุบางอย่าง แหลมๆ แล้วหนักมาก จากนั้นเพื่อนบ้านที่ไปด้วยกันก็ลงช่วยกันยกขึ้นมา ปรากฏว่าเป็นพระพุทธรูป นำขึ้นมาจากน้ำด้วยความอยากลำบากทั้งๆ ที่พระพุทธรูปองค์ไม่ใหญ่นัก จากนั้นยายมอญจึงอธิฐานว่า ขอให้นำพระพุทธรูปขึ้นมาโดยง่ายดาย จะเทิดทูนไว้ยิ่งชีวิต หลังจากอธิฐานยายมอญก็อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมาอย่างง่ายดาย เป็นอัศจรรย์แก่ชาวบ้านยิ่งนักจากนั้นก็ช่วยกันตัดไม้มาทำคานหามแล้วอัญเช ิญไปไว้ที่วัดโพธิ์ทอง หรือวัดคงสมโภชน์ในปัจจุบัน ต่อจากนั้นมาชาวบ้านได้หารือจัดงานเฉลิมฉลองตามประเพณีเพื่อเป็นสิริมงคล ชาวบ้านก็ร่วมกันตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า”หลวงพ่อบึงสามพัน” ตามที่ได้มาจากลำน้ำบึงสามพัน นับตั้งแต่นั้นมา พระพุทธรูปหลวงพ่อบึงสามพันจึงเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวบ้านโภ ชน์และชาวบึงสามพัน

เมื่อวันนี้ 11 ก.ค.2545 มีชาวบ้านและสมาชิก อบต.บึงสามพัน ได้ไปอัญเชิญหลวงพ่อบึงสามพันมาทำพิธีดำน้ำแล้วอธิฐาน”ขอให้ฝนตกตามฤดูการ ณ์” จากนั้นก็นำลงไปในลำน้ำดำน้ำถึง 3 ครั้ง ในครั้งที่ 3 ทำให้ทุกคนในที่นั้นแปลกใจเกิดอัศจรรย์ มีลมพัดและมีลมหมุนบนตลิ่งทำเอากิ่งต้นโพธิ์พัดหัดแล้วก็มีฝนตกลงมาอย่างแ รง ต้องรีบอัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อบึงสามพันขึ้นจากน้ำอย่างเร็ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นทำเอาทุกคนตลึงเพราะว่าก่อนหน้านี้ไม่มีแวว ว่าจะมีลม ฝนแม้แต่น้อย จากเหตุการณ์ครั้งนี้เองทำให้ชาวบ้านบึงสามพันมีความต้องการที่จะไปอัญเชิ ญพระพุทธรูปหลวงพ่อบึงสามพันจากวัดคงสมโภชน์ อ.หนองไผ่ มาประดิษฐานไว้ที่ลำน้ำบึงสามพันแห่งนี้เพราะมีความเชื่อว่า”พระพุทธรูป องค์นี้ต้องการจะกลับมาประดิษฐานที่ลำน้ำแห่งนี้”เนื่องจากเป็นที่ที่ยายม อญพบครั้งแรก”ชาวบ้านและสมาชิก อบต.บึงสามพันเคยไปเจรจากับกรรมการวัดและเจ้าอาวาสแล้ว ได้อ้างว่า หลวงพ่อบึงสามพัน ต้องอยู่คู่อำเภอบึงสามพัน ทำอย่างไร ก็ไม่ยอมให้ยังบอกอีกว่า พระพุทธรูปองค์นี้เป็นสมบัติอันล่ำค่าของที่นี้ จากนั้นมาชาวบ้านบึงสามพันได้แต่อัญเชิญหลวงพ่อบึงสามพันมาที่ลำน้ำบึงสาม พัน หมู่ 5 ต.บึงสามพันในวันสงกรานต์ให้ประชาชนได้สงฆ์น้ำเมื่อเสร็จพิธีก็ต้องอัญเชิ ญกลับไปที่วัดคงสมโภชน์ อ.หนองไผ่ตามเดิม ปฏิบัติอย่างนี้มา 2 ปีทำให้ชาวบ้านบึงสามพันเกิดความศรัทธาและหวงแหน ต้องการนำมาประดิษฐานไว้ที่อำเภอบึงสามพัน ได้มีการประชุมหารือเตรียมนำชาวบ้านนับร้อยไปทวงคืน(เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เมื่อ พ.ศ.2547)เรื่องนี้ได้เข้าหูนายมาโนช ศรีแผ้ว นายอำเภอบึงสามพันในสมัยนั้น เกรงว่าจะเกิดความแตกแยกระหว่างชาวบ้านโภขน์ อ.หนองไผ่กับชาวบึงสามพัน (น้ำผึ้งหยดเดียว)ได้เข้าพบ นายดิเรก ถึงฝั่ง ผวจ.เพชรบูรณ์ นำเรื่องที่เกิดขึ้นนำเรียนให้ทราบ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดตัดสินใจทันที่ว่าให้รีบกลับไปเรียนประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและ ทุก อบต.ร่วมสมทบทุนเพื่อทำพิธีหล่อองค์จำลองขึ้นมาใหม่และให้ก่อสร้างมณฑปขึ้ นกลางลำน้ำบึงสามพันให้ดูดีและสวยงามไปนิมนต์พระเกจิชื่อดังมาร่วมพิธีปลุ กเษก 3 วันต่อมานายมาโนช ศรีแผ้ว นายอำเภอบึงสามพันก็ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของ ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้เงินทำบุญสมบทจากชาวบ้านและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนด้วยความศรัทธาอันแร งกล้าภายใน 5 วันได้เงินร่วมทำบุญจำนวน 300.000 บาทในเบื้อยงต้นได้สร้างมณฑปกลางน้ำขึ้นมาก่อน กว่าจะสร้างเสร็จ พบทั้งอุปสรรคมากมายด้วยความตั้งใจด้วยแรงศรัทธา สามารถสร้างเสร็จภายในเดือนเศษ วันที่ 9 กรกฎาคม 2548ได้จัดพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปหลวงพ่อบึงสามพันองค์จำลองและพุทธาภิเษ กขึ้นบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบึงสามพันในวันนี้มีข้าราชการ พ่อค้าประชาชนกว่าเจ็ดพันคนร่วมพิธี โดยมี นายดิเรก ถึงฝั่ง ผวจ.เป็นประธานในพิธี ทางคณะกรรมการได้จัดทำพระบูชาลอยองค์เนื้อทองคำบริสุทธิ์ จำนวน 15 องค์ พระบูชาขนาดหน้าตักเก้านิ้ว 300 องค์ หน้าตักห้านิ้ว 400 องค์ พระบูชาลอยองค์เนื้อนวโลหะ-เนื้อเงิน-รุ่นกรรมการและเหรียญ ร่วมจำนวน 19.999 องค์ให้ประชาชนเช่าบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล ไม่พอจำหน่ายและไม่มีจำหน่ายแล้วเพราะว่าได้ทำลายแบบพิมพ์ไปหมดแล้ว ส่วนพระพุทธรูปบูชาที่ทำการหล่อเสร็จแล้วก็อัญเชิญมามาไว้ในที่ว่าการอำเภ อบึงสามพัน 1 องค์และที่มณฑปกลางลำน้ำบึงสามพัน หมู่ 5 อ.บึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ชาวอำเภอบึงสามพันก็ได้พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองประดิษฐานอยู่ที่อำเภอบึงสามพันไว้สักการบูชาดังความตั้งใจ สืบต่อไป

ทุ่งทานตะวันที่บึงสามพัน มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ที่บ้านเขาหลวง บ้านป่ายาง ตำบลสระแก้ว มีการปลูกทานตะวันบนภูเขาหลวง ครอบคลุมพื้นที่กว่าหมื่นไร่ เมื่อดอกทานตะวันบานในตอนเช้า ภูเขาบริเวณนี้จะกลายเป็นทุ่งทานตะวันมีสีเหลืองอร่ามสวยงาม ในช่วงเดือนธันวาคมทางอำเภอบึงสามพันได้จัดงาน “ตะวันบานบนภูที่บึงสามพัน” ภายในงานมีการจัดประกวดดอกทานตะวันที่ใหญ่ที่สุด การประกวดธิดาตะวัน การแปรรูปเมล็ดทานตะวัน และการจำหน่าย ผลผลิตทางการเกษตร  การเดินทาง จากจังหวัดเพชรบูรณ์ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 21ผ่านอำเภอหนองไผ่ ไปจนถึงสี่แยกราหุลให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 225ไปทางจังหวัดชัยภูมิอีก 18 กิโลเมตร ถึงสี่แยกซับบอนให้เลี้ยวซ้ายไปอีก 14 กิโลเมตร ถึงบริเวณบ้านป่ายางซึ่งทำไร่ทานตะวัน


‘>

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

ท่องเที่ยว ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด