[videojs mp4=”http://122.155.92.12/centerapp/UploadFiles/Video/2560/12/26/Mobile/VNOHT601226001028101.mp4″ poster=”http://122.155.92.12/centerapp/Common/GetFile.aspx?FileUrl=~/Uploads/Image/2560/12/26/PNOHT601226001005405.jpg” width=”640″ height=”360″]
นายกฤษณ์ คงเมือง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์เปิดศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ณ บริเวณพุทธอุธยานเพชรบุระ พร้อมปล่อยขบวนเดินรณรงค์ลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ ประกอบด้วยสมาชิกเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับจังหวัดเพชรบูรณ์ในมูลนิธิเมาไม่ขับ กรมคุมประพฤติ คปภ.จังหวัดเพชรบูรณ์ นักเรียน นักศึกษาและประชาชนเข้าร่วม
นางนภัสวรรณ แสงมณี หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์และการจัดการรักษาราชการแทนหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2548 กำหนดให้วันที่ 26 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันอุบัติภัยแห่งชาติเนื่องจากเป็นวันที่เกิดภัยพิบัติสึนามิรุนแรงที่สุดของประเทศก่อให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เป็นจำนวนมาก จังหวัดเพชรบูรณ์จึงได้รณรงค์เสริมสร้างความตระหนักและสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย Safety Mind ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสูญเสียจากภัยพิบัติทั้งภัยที่เกิดจากธรรมชาติและภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์จึงได้จัดงานวันป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติประจำปี 2560 โดยมีกิจกรรมการรณรงค์เสริมสร้างความตระหนักและจิตสำนึกด้านความปลอดภัยทางถนนจากประชาชน จัดกิจกรรมฝึกทักษะการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เพื่อการกู้ชีพกู้ภัยหรือซ้อมแผนความเสี่ยงภัยของแต่ละพื้นที่ จัดนิทรรศการ การแสดงสาธิตช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย
โดยในโอกาสเดียวกันนี้รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 โดยในปีนี้จังหวัดเพชรบูรณ์มีเป้าหมายให้สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตลดลงเมื่อเทียบกับสถิติช่วงเทศกาลปีใหม่เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง โดยให้จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดเป้าหมายดำเนินงานด้วยตนเอง ซึ่งกำหนดช่วงวันรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2560 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2561 และกำหนดชื่อในการรณรงค์ว่า ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร โดยมีมาตรการ 6 มาตรการเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ประกอบด้วย การลดปัจจัยเสี่ยงด้านคน มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสิ่งแวดล้อม มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงด้านผ่านยานพาหนะ มาตรการดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว มาตรการความปลอดภัยทางน้ำใจ มาตรการด้านการช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ พร้อมเน้นการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการ 1ร. 2ส. 3ข. 4ม. อย่างเข้มงวดควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกและตระหนักด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนและประชาชน
‘>
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook