[videojs mp4=”http://122.155.92.12/centerapp/UploadFiles/Video/2561/05/08/Mobile/VNOHT610508001018201_08052018_041645.mp4″ poster=”http://www.phetchabunnews.com/wp-content/uploads/2018/05/31959190_2062534137122585_1074007953058562048_n.jpg” width=”530″ height=”315″]
ที่หอวัฒนธรรมนครบาลเพชรบูรณ์ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ นายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ แถลงข่าวเตรียมจัดตั้งอุทยานธรณีเพชรบูรณ์ “Phetchabun Geo Park ” แสดงลักษณะภูมิประเทศหรือลักษณะทางธรณีวิทยาที่โดดเด่นของจังหวัดเพชรบูรณ์ ดึงดูดนักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจเข้ามาจังหวัดเพชรบูรณ์
นายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า กรมทรัพยากรธรณี โดยสำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 1 ( ลำปาง ) ได้ทำการสำรวจ ศึกษา และประเมินคุณค่าทางวิชาการ รวมทั้งศึกษาศักยภาพการพัฒนา และการบริหารจัดการแหล่งธรณีวิทยาในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนรวบรวมแหล่งธรณีวิทยาต่างๆ ในพื้นที่ จัดตั้งเป็นอุทยานธรณีวิทยา Geo Park และได้เคยมีการรับฟังความคิดเห็นจากอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) และผู้แทนชุมชนท้องถิ่นแล้วเห็นว่าจังหวัดเพชรบูรณ์มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นอุทยานธรณีวิทยา โดยชุมชนท้องถิ่นพร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ซึ่งโดยปัจจุบันจากการสำรวจ จังหวัดเพชรบูรณ์มีแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาที่โดดเด่น จำนวน 21 แห่งประกอบด้วย ถ้ำใหญ่หนาว รอยตีนสัตว์ดึกดำบรรพ์ อาโคซอ แคนยอนน้ำหนาว เลยดั้นลานหินมหัศจรรย์ ผาแดงแหล่งรอยเลื่อนเพชรบูรณ์ จุดชมวิวผาหงษ์ สะพานห้วยตองเชื่อมแผ่นโลก แหล่งซากดึกดำบรรพ์ปลาน้ำจืดโบราณ น้ำตกธารทิพย์ โนนหัวโล้น ภูเขาปะการัง ผาเจ็ดสี แหล่งซากดึกดำบรรพ์หอยตะเกียง น้ำตกเสาหินอัคนี สุสานหอยสิบล้านปี แหล่งข้าวสารหินวัดถ้ำเทพบันดาล บ่อน้ำเดือด แหล่งไม้กลายเป็นหิน แหล่งหินคลอนหรือมวลสารพอก ฟอสซิลกระดูกสะโพกไดโนเสาร์ และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาและธรรมชาติวิทยาจังหวัดเพชรบูรณ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวต่อว่า การจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีเพชรบูรณ์ ” Phetchabun Geo Park ” จะเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยา ที่เป็นหลักฐานที่แสดงถึงประวัติความเป็นมาของเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้เกิดมาในอดีต สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจเข้ามาจังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ชาวเพชรบูรณ์เป็นจำนวนมาก และในอนาคตหากมีการจัดตั้งอุทยานธรณีเพชรบูรณ์ เรียบร้อยแล้ว จังหวัดเพชรบูรณ์ก็จะผลักดันให้เป็นอุทยานธรณีโลกต่อไป
‘>
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook