[videojs mp4=”http://122.155.92.12/centerapp/UploadFiles/Video/2561/08/06/Mobile/VNOHT610806001028901_06082018_053831.mp4″ poster=”http://www.phetchabunnews.com/wp-content/uploads/2018/08/PNOHT610806001028902_06082018_053831.jpg” width=”530″ height=”315″]
ที่ห้องประชุม 3 ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ นายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานประชุม หารือในการแก้ไขปัญหาผิวทางถนนทรุดตัวทางขึ้นภูทับเบิก ทางหลวงหมายเลข 2331 โจ๊ะโหวะ-อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ช่วง กม.9 300 ถึง 10 650 โดยมี ทหาร ตำรวจ แขวงทางหลวงเพชรบูรณ์ที่ 1 ผู้แทนกรมทรัพยากรธรณี ผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม
นายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า ตอนนี้เราได้ผู้เชี่ยวชาญจากกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมทางหลวง เข้ามาตรวจสอบ พบว่า พื้นที่ปัญหาผิวทางถนนทรุดตัวทางขึ้นภูทับเบิก มีโอกาสเกิดดินสไลด์มาก เพราะพบลักษณะขั้นบันไดของชั้นดิน 3 ขั้น ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนเริ่มต้นก่อนจะถล่ม ตอนนี้ ได้ให้ประชาชน 3 หลังคาเรือน ที่อยู่ในแนวถนนทรุดตัว ต้องย้ายออกทันที และได้มอบให้นายอำเภอหล่มเก่าดำเนินการ ซักซ้อมการอพยพอีก 25 หลังคาเรือน ด้านล่างที่ตั้งอยู่ในหุบเขาเดียวกัน
ปัจจุบันตามกฎหมายเราได้ปิดเส้นทาง 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีประชาชนที่อาศัยอยู่บนภูทับเบิกลักลอบเดินทางถนนเส้นนี้ เนื่องจากอีกเส้นทางที่สามารถใช้ได้มีระยะทางที่ไกล จึงไม่สามารถปิดกั้นได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปัญหานี้ทางจังหวัดก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้เตรียมขอใช้เส้นทาง เหมืองแบ่ง เป็นอีกเส้นทางที่มีระยะทางไม่ไกล แต่มีข้อพิพาทกันอยู่ โดยจะขอไปทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าจะมีกฎหมายใด ที่จะเปิดใช้เส้นทางนี้เพื่อแก้ไขปัญหาให้ราษฎรได้ใช้ชั่วคราวหรือไม่ นอกจากนี้ ก็ได้เตรียมนำเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรหนัก ที่กำลัง แก้ไขถนน ที่ทรุดตัวให้ลงมา จากทางขึ้นภูทับเบิก โดยมีเพียงบางส่วนที่ต้องอยู่เปิดทางน้ำ เมื่อเสร็จแล้วก็จะลงมาทันที เช่นกัน เพื่อความปลอดภัย และไม่เป็นการเพิ่ม vibration ให้ชั้นดิน
ด้านนายนิวัติ บุญนพ ผู้อำนวยการสำนักงาน ทรัพยากรธรณีเขต 1 กล่าวว่า ทีมงานกรมทรัพยากรธรณี ได้ลงพื้นที่สำรวจ พบความเสียหายหลายจุด ถนนทรุดตัวลง 1- 2 เมตร มีรอยแยกหลายแนวบนถนนกว้าง 10-70 ซม. และยาว 25 -150 ม. ทิศทางตั้งฉากกับ Slope พบ scarp อยู่ทั่วไป สลับลักษณะขั้นบันไดของชั้นดิน 3 ขั้น หากถึง 4 ขั้น จะอยู่ในเกณฑ์อันตราย ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนเริ่มต้นก่อนจะถล่ม และยังพบ palaeo landslide (กองดินสไลด์โบราณ) ขนาดใหญ่รองรับถนน มีพื้นที่ครอบคลุมช่วงของถนนที่มีปัญหา จึงสรุปได้ว่ามวลดินในพื้นที่ที่รองรับถนนอยู่ในสภาวะอ่อนแอ พร้อมจะเสียสมดุล และมีแนวโน้มที่จะเกิดการลื่นไถลแบบ Rotational Slide ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ และตามพยากรณ์อากาศจะมีฝนตกในภาคเหนือติดต่อกันระหว่าง 5 – 10 ส.ค. 61 จึงต้องเฝ้าระวังหากมีปริมาณน้ำฝน ตกในพื้นที่ ใน 24 ชม. หากวัดได้ 100 มม. ให้ชาวบ้านเตรียมเก็บของ 150 มม. ให้อพยพ และ ถึง 180 มม. จะมีโอกาสเกิดการถล่มได้ นอกจากนี้ ทีมงานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะมาติดตั้งกล่องเตือนภัยดินถล่มประจำหมู่บ้าน ซึ่งถ้ามีการกดสัญญาณก็จะมีการร้องเตือนภัยไปในหลายๆหมู่บ้าน เป็นการส่งสัญญาณเตือนภัยประชาชนอีกทางหนึ่ง
ผู้สื่อข่าว : ภูมินทร์ วันดีผู้เรียบเรียง : กนกพร ประสงค์แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเพชรบูรณ์
http://thainews.prd.go.th/website_th/news/news_detail/TNSOC6108060010069
‘>
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook