คนอ่านข่าว: 51
ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อการพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ เสนอ ที่ประชุม ครม.สัญจร ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 17-18 กย. 2561 (Working Team Summary) สภาพและทำเลที่ตั้งของจังหวัดเพชรบูรณ์ : อยู่ระหว่าง 3 ภาค เหนือ อีสาน และกลาง มีภูเขาล้อมรอบ มีแม่น้ำป่าสักอยู่ตรงกลางตามแนวยาวเหนือ-ใต้ของจังหวัด และมีลำน้ำสาขาหลายสายจากภูเขาตลอด 2 ด้านไหลลงสู่แม่น้ำป่าสัก > ที่ผ่านมา การวางยุทธศาสตร์การพัฒนา ก็จะพิจารณาเฉพาะภาคเหนือ หรือกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง .. เพชรบูรณ์จึงถูกมองเป็นเพียงจังหวัดชายแดนของกลุ่มและของภาค นอกจากนั้น ยังมีภูเขาล้อมรอบ ทำให้ถูกมองว่า ไม่มีความเชื่อมโยงกับจังหวัดอื่น ๆ หรือหากมี ก็น้อยมาก จังหวัดเพชรบูรณ์จึงได้รับการพัฒนาในลักษณะเชื่อมโยงกับจังหวัดอื่น หรือกลุ่มจังหวัดอื่น น้อยมาก > นับเป็นความโชคดีและโอกาศดีของจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่การประชุม ครม.สัญจร ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 17-18 กันยายน 2561 ในครั้งนี้ ได้มีการนำกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 และภาคอีสานตอนบน 1 มาประชุมร่วมกัน จึงทำให้จุดทำเลที่ตั้งของจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่เป็นสะพานเชื่อมต่อภาคเหนือและภาคอีสาน รวมทั้งภาคกลางด้วยนั้น โดดเด่นขึ้นมา > จังหวัดเพชรบูรณ์ จึงควรนำศักยภาพของจังหวัดเพชรบูรณ์ดังกล่าว มาวางแผนพัฒนาจังหวัดเชื่อมโยงกับภูมิภาคต่าง ๆ โดยจัดทำข้อเสนอในเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ ต่อบทบาทสำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่จะมีผลโดยตรงต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศโดยรวม ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ สี่แยกอาเซียน เชื่อมโยงเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว 2. ยุทธศาสตร์ แก้มลิงลุ่มน้ำป่าสักตอนบน 3. ยุทธศาสตร์ เพชรบูรณ์ : ดินแดนแห่งความสุข
1 ยุทธศาสตร์ สี่แยกอาเซียน เชื่อมโยงเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว > สี่แยกอาเซียน คือจุดตัดกันเป็น 4 แยก ของทางหลวงสายสำคัญของประเทศ คือ ทางหลวงหมายเลข 12 และทางหลวงหมายเลข 21 ซึ่งก็สอดคล้องกับ ASEAN Road Network คือ เส้นทาง East-West Corrodor ตัดกับเส้นทาง Northeastern Corridor ที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ > จากสี่แยกอาเซียนดังกล่าว เชื่อมโยงไปทุกทิศทาง ก็จะทำให้เกิดการพัฒนา ดังนี้ >เป็นสะพานเชื่อมต่อเศรษฐกิจ ระหว่างภาค เหนือ-อีสาน และภาคกลาง ซึ่งหมายความว่า การใช้เส้นทางที่จะเป็นการเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างภาคเหนือและภาคอีสาน จะต้องใช้เส้นทางผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-ขอนแก่น) และ ทางหลวงหมายเลข 225 (นครสวรรค์-ชัยภูมิ) >เป็นเส้นทางท่องเที่ยว 5 มรดกโลกทางวัฒนธรรม : อยุธยา ศรีเทพ บ้านเชียง สุโขทัย และหลวงพระบาง (การเชื่อมโยงการท่องเที่ยว 5 มรดกโลกทางวัฒนธรรมนี้ เป็นการดึงเอาศักยภาพการท่องเที่ยวของเมืองมรดกโลกหลวงพระบาง มาร่วมเป็นศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประเทศไทยด้วย อันจะสามารถเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กำลังซื้อสูง ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวมรดกโลก ให้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยได้เพิ่มมากขึ้น) >เป็นเส้นทางเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ : เพชรบูรณ์ พิษณุโลก เลย ชัยภูมิ และลพบุรี จากยุทธศาสตร์ สี่แยกอาเซียน เชื่อมโยงเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวดังกลาว จะต้องมี โครงการเพิ่มศักยภาพและแก้ปัญหาของจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยพิจารณาจากจุดเริ่มต้นที่ สี่แยกอาเซียน ไปทิศทางต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือ – ขยายทางหลวง 21 เป็น 4 เลน จากหล่มสักไปด่านนากระเซ็ง อ.ท่าลี่ จ.เลย ทิศตะวันออก – ขยายทางหลวง 12 เป็น 4 เลน (ช่วงน้ำหนาว) – จัดตั้งและจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวก อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ (น้ำหนาว) 4 แหล่ง ทิศใต้ – ขยายทางหลวง 225 เป็น 4 เลน นครสวรรค์-เพชรบูรณ์-ชัยภูมิ – ผลักดัน เมืองโบราณศรีเทพ เป็นมรดกโลก UNESCO – จัดตั้งและจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวก อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ (วิเชียรบุรี) 3 แหล่ง *- สำรวจ ออกแบบ ทำ EIA ทางรถไฟ ลำนารายณ์-หล่มเก่า และตะพานหิน-นาเฉลียง ทิศตะวันตก *- เร่งซ่อมทางขึ้นทับเบิก และปรับปรุงเส้นทางลงด้านบ้านเหมืองแบ่ง ต.วังบาล *- ขยายทางขึ้นวัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว – ปรับปรุงจุดชมวิวรัชมังคลาภิเษกเป็นระดับ World Class – ปรับปรุงสวนสน 200 ปี แคมป์สน เป็นสวนระดับ World Class – ขยายเส้นทางจุดทดสอบ เนินมหัศจรรย์ เขาค้อ
หมายเหตุ *- สำรวจ ออกแบบ ทำ EIA ทางรถไฟ ลำนารายณ์-หล่มเก่า และศึกษาสายตะพานหิน-นาเฉลียง *- เร่งซ่อมและขยายทางขึ้นทับเบิก และปรับปรุงเส้นทางลง ทางด้านบ้านเหมืองแบ่ง ต.วังบาล *- ขยายทางขึ้นวัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว 3 โครงการนี้ ของบประมาณมาดำเนินการแบบเร่งด่วน เป็นรูปธรรมทันที
2 ยุทธศาสตร์ แก้มลิงลุ่มน้ำป่าสักตอนบน > จังหวัดเพชรบูรณ์ มีภูเขาล้อมรอบ มีแม่น้ำป่าสักอยู่ตรงกลางตามแนวยาวเหนือ-ใต้ของจังหวัด และมีลำน้ำสาขาจากภูเขาไหลลงสู่แม่น้ำป่าสักตลอด 2 ด้านตามแนวยาวลงใต้ของพื้นที่จังหวัด และเนื่องจากแม่น้ำป่าสักในช่วงจังหวัดเพชรบูรณ์นี้ เป็นต้นน้ำ จึงมีความลาดชันของลำน้ำเป็นอย่างมาก > เมื่อถึงหน้าน้ำ น้ำจำนวนมหาศาล จะไหลจากภูเขาทั้ง 2 ด้านมาตามลำน้ำ และไหลลงแม่น้ำป่าสัก ในลักษณะไหลบ่าท่วมมา จนเกิดปัญหาอุทกภัยขึ้นบ่อยครั้งในหลายพื้นที่ของจังหวัด และน้ำปริมาณมหาศาลดังกล่าวนี้ ก็จะไหลไปยังเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งเมื่อใดที่น้ำมีปริมาณมาก ก็จะไหลล้นเขื่อน ไปสร้างปัญหาน้ำท่วมในที่ลุ่มภาคกลางและ กทม. และเมื่อถึงหน้าแล้ง ด้วยเหตุที่ลำน้ำมีความลาดชันมาก ดังนั้น แม่น้ำป่าสักในช่วงจังหวัดเพชรบูรณ์จึงอยู่ในสภาพที่แห้ง จนแทบไม่มีน้ำอยู่ในลำน้ำเลย > ยุทธศาสตร์ แก้มลิงลุ่มน้ำป่าสักตอนบน คือ การสร้างแหล่งเก็บน้ำไว้ตามซอกเขาโดยอ่างเก็บน้ำขนาดต่าง ๆ ตามสภาพภูมิประเทศ โดยจะทำไว้บริเวณซอกเขาที่เป็นต้นน้ำของลำน้ำสาขาของแม่น้ำป่าสักที่มีจำนวนมากตลอดแนวแนวเทือกเขาทั้ง 2 ด้านของจังหวัดเพชรบูรณ์ > ยุทธศาสตร์ แก้มลิงลุ่มน้ำป่าสักตอนบน จึงจะทำหน้าที่เก็บน้ำไว้ตามซอกเขายามหน้าน้ำ ปล่อยน้ำลงมาตามลำน้ำสาขาในยามหน้าแล้ง อันจะทำให้เกิดผลที่ตามมาคือ เกิดความอุดมสมบูรณ์เพื่อการเกษตรตามพื้นที่ที่ลำน้ำสาขาไหลผ่านทั้งหมด แก้ปัญหาภัยแล้ง ทำให้แม่น้ำป่าสักมีน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ตลอดทั้งปี > ยุทธศาสตร์ แก้มลิงลุ่มน้ำป่าสักตอนบน จะสามารถแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ ทั้งในจังหวัดเพชรบูรณ์ ในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง และ กทม. ได้ด้วย
จากยุทธศาสตร์ แก้มลิงลุ่มน้ำป่าสักตอนบน ดังกล่าว จะต้องมี โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำไว้ตามซอกเขา ในขนาดต่าง ๆ กัน ดังนี้ – อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง … แห่ง – อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก …. แห่ง – ระบบส่งน้ำไปยังพื้นที่ต่าง ๆ (รอข้อมูลจาก ชลประทานจังหวัดฯ)
3 ยุทธศาสตร์ เพชรบูรณ์ : ดินแดนแห่งความสุข > จังหวัดเพชรบูรณ์ มีวิสัยทัศน์การพัฒนาคือ เป็น “ดินแดนแห่งความสุขของคนอยู่และผู้มาเยือน” > แต่ด้วยลักษณะของพื้นที่ของจังหวัดที่มีแนวยาวเหนือ-อยู่ อยู่ท่ามกลางขุนเขาและป่าไม้ จึงมีพื้นที่บางแห่งเกิดปัญหาอุปสรรคในการพัฒนา ซึ่งจะต้องมีแนวทางที่ชัดเจนที่จะทำให้การพัฒนาสามารถดำเนินการไปควบคู่กับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนเพชรบูรณ์มีชีวิตอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืน > ที่ผ่านมา จังหวัดเพชรบูรณ์มีความโดดเด่นเรื่องการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก จนมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ปีหนึ่ง ๆ กว่า 2 ล้านคน จึงมีผลกระทบทางสังคมเกิดขึ้นตามมาหลายประการ ซึ่งจะต้องมีการวางแผนแก้ไขอย่างจริงจัง > การวางแผนแก้ปัญหาทางสังคมนี้ จะต้องมีข้อกำหนดแบบมองภาพรวมที่ชัดเจน อย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของจังหวัดเพชรบูรณ์ และโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
จากยุทธศาสตร์ เพชรบูรณ์ : ดินแดนแห่งความสุข ดังกล่าว จะต้องมี – การวางแผนแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินบนพื้นที่เขาค้อ – การวางแผนแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินบนพื้นที่ทับเบิก – การวางแผนแก้ปัญหา การกำจัดขยะที่เป็นระบบ ครอบคลุมทุกพื้นที่ – การดูแลแก้ปัญหาหมู่บ้านที่มีปัญหาเร่งด่วน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านสักง่าและบ้านนาสะอุ้ง อำเภอหล่มเก่า
สรุป ของคณะทำงาน … จะเห็นได้ว่า ข้อเสนอเชิงยุทธศาสต์ ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ควรเร่งจัดทำขึ้นมาทั้ง 3 ข้อ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 17-18 กันยายน 2561 นี้ ล้วนแต่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ที่สำคัญที่สุดทั้ง 3 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์เรื่องการท่องเที่ยวทั้งเชิงธรรมชาติและเชิงวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์เรื่องเกษตรปลอดภัย ยุทธศาสตร์เรื่องคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และวิสัยทัศน์ที่ว่า เพชรบูรณ์ : ดินแดนแห่งความสุขของคนอยู่และผู้มาเยือน นั่นเอง
ที่มา วิศัลย์ โฆษิตานนท์
‘>
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook