เพชรบูรณ์-ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อที่เป็นปัญหา เชื้อไวรัสโคโรน่า COVID–19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 ของประเทศไทย
(5 มี.ค.63) ที่ห้องประชุมสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ นายพงษ์พิทยา ธนไกรศรีทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ที่กำหนดให้คณะกรรมการมีหน้าที่ กำหนดนโยบาย วางระบบและแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด โรคติดต่อที่เป็นปัญหาของจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดชิดเชื้อไวรัสซิก้า วัณโรค โรคสเตปโตค็อกคัสซูอิส (โรคหูดับ) โรคไวรัสตับอักเสบบีและซี โรคไข้หวัดนก โรคพิษสุนักบ้า โรคมาลาเรียและโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID – 19 )
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ข้อมูล 25 ก.พ. 63 จังหวัดเพชรบูรณ์ พบผู้ป่วย 45 ราย มากสุดที่ อ.บึงสามพัน 14 ราย การดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ในปี 2563 ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออก ได้แก่ จัดทำโครงการ 6 ร (โรงเรียน โรงพยาบาล โรงเรือน(บ้าน) โรงธรรม(วัด) )รงงานและโรงแรม) โดยจัดตั้งศูนย์ข้อมูลประจำหมู่บ้าน จัดให้มีการประชุมและหากกรณีผู้ป่วยต่อเนื่องจะยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน เพื่อลดการเกิดโรคป้องกันการเสียชีวิต ด้านการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ปี 2563 ที่ขึ้นทะเบียนรักษา 168 ราย มีเป้าหมายการดำเนินงานให้ได้ร้อยละ 88 การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาวัณโรค จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้มีการตั้งคณะทำงานพัฒนา ป้องกัน ควบคุมวัณโรค จัดทำแผนงานโครงการขอสนับสนุนงบประมาณ สำหรับควบคุมโรคกองทุนสุขภาพตำบล การนิเทศติดตามงานวัณโรคและเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกกลุ่มเสี่ยงเช่น เรือนจำ ทัณฑสถาน เป็นต้น ส่วนโรคสเตปโตค็อกคัสซูอิส (โรคหูดับ) กินหมูดิบ พบผู้ป่วย 29 ราย มากสุดที่ อ.เมือง 14 ราย
สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า ยังไม่พบการติดเชื้อในคนและไม่พบผู้ป่วยมาแล้ว 21 ปี ที่ผ่านมาจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้มีการดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี โดยการเฝ้าระวังและประชาสัมพันธ์ในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นการอย่างต่อเนื่อง
โรคมาลาเรีย ข้อมูลระหว่างปี 2555 – 2562 จังหวัดเพชรบูรณ์ พบผู้ป่วยเป็นข้ามาลาเรีย 27 ราย การดำเนินงานใน ปี 2563 ได้มีการดำเนินทำโครงกำจัดเชื้อมาลาเลียที่ดื้อยา ซึ่งจะดำเนินการในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อ.วิเชียรบุรี อ.น้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ มีเป้าหมายให้ปลอดโรคมาลาเรียในปี 2567
ด้านสถานการณ์ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ประเทศไทย ยกระดับโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ( COVID – 19 ) เป็นโรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 โดยมีผู้ป่วยยืนยัน 43 ราย มีเสียชีวิต 1 ราย
(ข้อมูล 3 มี.ค. 63) สำหรับสถานการณ์และการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID – 19 ) ข้อมูล 4 มี.ค.63 จังหวัดเพชรบูรณ์ “ยังไม่พบผู้ป่วยยืนยัน” ที่ผ่านมาได้มีการเฝ้าระวังติดตามผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง 16 ราย และ ติดตามครบ 14 วัน ผลการติดตาม ปกติทั้ง 16 ราย สำหรับมาตรการในการดำเนินงานป้องกันควบคุมเชื้อโคโรนา 2019 ( COVID – 19 ) ขอความร่วมมือจากทุกส่วนราชการให้ความร่วมมือในประกาศของจังหวัดเพชรบูรณ์
นายพงษ์พิทยา ธนไกรศรีทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้กำชับให้คณะกรรมการได้มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคอย่างจริงจัง โดยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชน อำเภอ ท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้เฝ้าระวังควบคุมโรคที่ยังพบการระบาดในเรื่องของ ไข้เลือดออก ตรวจหาวัณโรค โรคสเตรปโตคอคคัส ซูอิส ให้เตือนห้ามกินหมูดิบ โรคพิษสุนัขบ้า ให้ปศุสัตว์และอำเภอเมืองไปประสานเทศบาลนางั่ว ในการจัดหาที่สำหรับสร้างเป็นเซลล์เตอร์ของสุนัขจรจัด เพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
สำหรับไวรัสโคโรน่าให้ถือปฎิบัติตามมาตรการรัฐบาลและกระทรวงสาธารณะสุขอย่างเคร่งครัด และส่งเสริมการทำเจลล้างมือด้วยตนเองหรือล้างสบู่และวัดไข้ก่อนเข้าเรียน ที่กักกันมอบให้ทางทหารไปช่วยประชุมและหาข้อสรุปให้ว่าจะเป็นที่กักกัน (ถ้ามี) ส่วนผีน้อยได้มีมาตรการให้มาแจ้งกับทางสาธารณสุขและกักตัวอยู่ที่บ้านให้ครบ 14 วัน ทางสาธารณสุขจะมอบให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ไปตรวจทุกวัน ติดตามและสังเกตอาการทุกวันจนครบ 14 วัน
‘>
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook