LINE : ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์

ยินดีต้อนรับสู่เพจข่าวท้องถิ่นเพชรบูรณ์

วันพฤหัสที่ 19 ธันวาคม 2024
คอลัมน์วันนี้

ย้อนรอย ภาพประวัติศาสตร์การสู้รบบนเขาค้อ ที่หาดูได้ยากมาก ถ่ายจากเหตุการณ์จริงทั้งหมด

Album นี้ต้องการรวบรวมและแสดงภาพประวัติศาสตร์การสู้รบบนเขาค้อ ที่หาดูได้ยากมาก ถ่ายจากเหตุการณ์จริงทั้งหมด … เพื่อให้คนเพชรบูรณ์ได้รับทาบประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งของเพชรบูรณ์ บ้านเรา …
– เมื่อ พ.ศ. 2510-2525 ได้เกิดความขัดแย้งแนวคิดทางการเมืองจนเกิดการสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับกองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ที่ทางการเรียกว่า ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ในเขตพื้นที่อำเภอเขาค้อ รัฐบาลพยายามใช้กำลังทหารปราบปรามหลายครั้งหลายครา มีผู้คนล้มตายกันนับหมื่นคน … เป็นเวลากว่า 14 ปีจึงสามารถยึดพื้นที่เขาค้อคืนมาได้ จากนั้น เหตุการณ์ความไม่สงบได้ยุติลง โดยนโยบายการเมืองนำการทหาร (นโยบาย 66/23) เปิดโอกาศให้สมาชิก พคท. กลับเข้ามาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย โดยไม่ใช้ความรุนแรงมาแก้ไขความขัดแย้งความคิดทางการเมือง นับเป็นเหตุการณ์ที่สร้างบทเรียนที่สำคัญจากอดีตกาล
ขอขอบคุณ พลเอก หาญ เพทายและพันเอก สมจริง สหเสนี เป็นอย่างสูงที่อนุเคราะห์เล่าเรื่องและให้รวบรวมภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การสู้รบในยุทธภูมิเขาค้อมาบันทึกไว้เพื่อเผยแพร่ โดยคำนึงถึงการเป็นข้อมูลความรู้ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา รวมทั้งขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่มิได้เอ่ยนามไว้ ณ ที่นี้ด้วย
Album นี้ มิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะมาตอกย้ำความเจ็บปวด หรือมารื้อฟื้นความแตกแยกอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น แต่มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อบันทึกและสืบทอดเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของดินแดนแห่งนี้ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และตระหนักในความเสียสละของเหล่าวีรชน … ก่อนที่จะเลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คนที่ไม่ได้มีชีวิตอยู่ร่วมสมัย
– ขอสดุดีทหารและเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเสียสละ และขอไว้อาลัยผู้เสียชีวิตทุกคน
– คำอธิบายภาพแต่ละภาพส่วนใหญ่ คัดลอกมาจากบันทึกการปฏิบัติงานของทหารฝ่ายรัฐบาล
– หากข้อความหรือเรื่องราวใดคลาดเคลื่อน หรือท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม ก็โปรดให้คำชี้แนะ แก้ไขด้วยนะครับ เพื่อจะได้ทำการบันทึกให้ถูกต้อง เป็นประวัติศาสตร์ต่ออนุชนรุ่นหลังต่อไป
-ทุกภาพใน album นี้มีลิขสิทธิ์ นำไปใช้เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์จังหวัดเพชรบูรณ์ได้ และต้องเป็นไปในทางสร้างสรรค์ โดยให้ความเคารพต่อทุกฝ่าย แต่นำไปใช้ในเชิงธุรกิจการค้าหากำไรไม่ได้นะครับ 

ขอขอบคุณ ที่มา วิศัลย์ โฆษิตานนท์    เรียบเรียงภาพบทความแก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดย เพจข่าวท้องถิ่นเพชรบูรณ์   

ขอขอบคุณภาพ บุญธรรม บุญลาภังค์

จุดกำเนิดแห่งสงครามความขัดแย้ง
สถานการณ์ ก่อการร้าย เริ่มขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2508 ในขั้นต้นนั้นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) เข้าแทรกซึมมาจากแนวชายแดนด้านทิศเหนือ และได้ยึดเอาภูหินร่องกล้า เป็นที่มั่น หลังจากนั้น ผกค. ได้ขยายงานรุกเข้าเขาค้อ เพื่อเตรียมสถาปนาเขาค้อให้เป็นฐานที่มั่นในการรุกต่อไป
เนื่องจากเขาค้อ มีสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่ารกทึบสูงชันยากต่อการตรวจการณ์ทางอากาศและทาง พื้นดิน นอกจากนี้ตามเทือกเขาต่าง ๆ ยังมีถ้ำอยู่มากมายเหมาะสำหรับเป็นที่หลบซ่อนและสะสมอาวุธ เสบียงไว้เป็นอย่างดี โดยบริเวณที่ราบลุ่มเชิงเขาค้อ เขาปู่ เขาย่า ยังเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จึงเล็งเห็นว่าเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมอย่างยิ่ง ในการที่จะเข้ามาเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และทำสงครามกองโจร เพื่อปฏิวัติยึดอำนาจรัฐบาล

เมื่อแรกเริ่ม พคท. ได้อาศัยชนเผ่าม้งบางกลุ่มเป็นแกนนำในการขยายฐาน โดยวิธีการโฆษณาชวนเชื่อและตอกย้ำการได้ไม่รับการดูแลและไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐบาล   พคท.ประสบความสำเร็จอีกขั้นโดยการ ปจว.กับชาวเขาในพื้นที่ว่าทหารจะกลับมาแก้แค้น ทำให้ชาวเขาเผ่าม้งและเผ่าอื่นๆ พากันอพยพไปเข้าร่วมงานกับ ผกค.กลุ่มงานเขาค้อข้อมูลที่เปิดเผยต่อมาระบุว่า งานโฆษณาชวนเชื่อทำให้มีชาวเขาราว 3,000 คน เข้าร่วมอุดมการณ์ทางการเมืองและจากนั้น พคท.จึงได้ สถาปนาอำนาจรัฐประชาชนขึ้นในเขตที่มั่นของตน เป็นแห่งแรกในประเทศไทย มีคณะกรรมการบริหารเรียกว่า คณะกรรมการรัฐ มีสภาผู้แทนประชาชนปฏิวัติ ประกอบด้วยสมาชิก 55 คน ที่ได้รับเลือกจากราษฎร และทหารในเขตที่มั่น มีศาลประชาชนซึ่งประกอบด้วย ศาล ผู้พิพากษา และคณะกรรมการการกฎหมาย พื้นที่ตรงนี้ไม่ขอขึ้นกับการปกครองของรัฐไทย

มีการประสานงานกับแกนนำนักศึกษาในเมือง ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและต่อต้านการปกครองเผด็จการในสมัยนั้น … ที่เห็นยืนอยู่ด้านหลังคือ สหายไท !! สามีสหายใบไม้ !!

มีการฝึกอาวุธและวางแผนยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบโดยการช่วยเหลือจากต่างชาติที่ปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์เช่นเดียวกัน 

เมื่อปี พ.ศ 2511 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้ส่งผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เข้ามาปฏิบัติงานในเขตรอยต่อ 3จังหวัด (พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, เลย) รวม 9 หน่วย คือ
1. หน่วยสหายสมหวัง2. หน่วยสหายคำเพชร3. หน่วยสหายชู4. หน่วยสหายพิชัย5. หน่วยสหายสด6. หน่วยสหายทัด7. หน่วยสหายเจริญ8. หน่วยสหายรวม9. หน่วยสหายชิวา

กลุ่มสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่เข้ามาปฏิบัติการอยู่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2518

ในราวเดือนมีนาคม พ.ศ.2511 พคท.แข็งแกร่งขึ้น ดำเนินการจัดตั้งกำลังทหารหลัก แบ่งออกเป็น 3 ชุด ชุดที่ 1 พื้นที่ภูหินร่องกล้า ภูขี้เถ้า ทับเบิก ชุดที่ 2 พื้นที่เขาค้อ และชุดที่ 3 พื้นที่ภูขัด ภูเมี่ยง พร้อมทั้งโฆษณาชวนเชื่อ และชี้นำให้ชาวไทยภูเขาเข้าร่วมอุดมการณ์

กองร้อย 515 แบ่งกำลังออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ปฏิบัติงานด้านการเมือง ตามหมู่บ้านพื้นราบเชิงเขา เขต อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
ส่วนที่ 2 กลางเมืองตามหมู่บ้านพื้นราบเชิงเขาเขต กิ่ง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
ประมาณปี พ.ศ. 2514 ยุบกองร้อย 515 กับกองร้อย 511 รวมกันเป็นกองร้อย 515 ต่อมาปี 2520 ได้ยกระดับทหารบ้าน ซึ่งได้รับการฝึกเป็นกองร้อยทหารหลัก 520
จากการดำเนินงานด้านการข่าว ทำให้เราทราบว่า ผกค. (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) ได้สถาปนาอำนาจรัฐประชาชนขึ้นในเขตฐานที่มันคงของ ผกค. กลุ่มเขาค้อเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและมีอายุยืนยาวถึง 10 ปี และมีระบบโครงสร้างการจัดการค่อนข้างมั่นคง มีคณะกรรมการบริหารเรียกว่า “คณะกรรมการรัฐ” ซึ่งประกอบด้วย
– ประธานกรรมการรัฐ- รองประธานกรรมการรัฐ- กรรมการรัฐฝ่ายปกครอง- กรรมการรัฐฝ่ายเศรษฐกิจ- กรรมการรัฐฝ่ายทหาร- กรรมการรัฐฝ่ายศึกษาและเยาวชน- กรรมการรัฐฝ่ายสาธารณสุข- กรรมการรัฐฝ่ายโฆษณา- กรรมการรัฐฝ่ายการพาณิชย- กรรมการรัฐฝ่ายสตรีและเด็ก

สตรีชาวม้งคนซ้าย ผู้มอบรูปนี้ให้มา .. ได้เล่าว่า เธอได้ทำหน้าที่ฝ่ายจัดเสบียงจัดเลี้ยง อยู่ที่โรงเรียนการเมืองการทหาร หินร่องกล้า .. ได้เคยทำการจัดเลี้ยงบรรดานนักศึกษาที่เคยเข้าร่วมกับ พคท. จำนวนมาก จากเหตุการณ์เมื่อ 14 ตค. 2516 และ 6 ตค. 2519 .. ปัจจุบันเธอและครอบครัวได้กลับเข้ามาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ตั้งบ้านเรือนทำมาหากินสุจริตอย่างมีความสุขอยู่ที่ บ้านเข็กน้อย

การแต่งกายของชาวม้งแบบดั้งเดิมเป็นรูปถ่ายตั้งแต่เมื่อครั้งยังมีเหตุการณ์ไม่สงบ ผกค. และ พคท. ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์

ย้อนไปในปี พ.ศ.2503 พื้นที่บริเวณภูเขารอยต่อ 3 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์-พิษณุโลก-เลย เป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าต่างๆ ซึ่งส่วนมากเป็นเผ่าม้ง กระจายกันตั้งหลักแหล่งบริเวณเทือกเขาค้อ เขาปู่ เขาย่า ภูทับเบิก ภูหินร่องกล้า ภูขี้เถ้า และเทือกเขาอื่นๆ ชาวเขาตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มๆ มีหัวหน้าบ้านปกครองกันเอง เช่น บ้านเล่าลือ บ้านเล่านะ บ้านเซาเน้ง บ้านเล่ากี

เขาค้อมีลักษณะเป็นภูเขาสูงปกคลุมไปด้วยป่ารกทึบ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยปักหลักเลือกพื้นที่รอยต่อสามจังหวัดบริเวณนี้มีเนื้อที่ราว 50 ตารางกิโลเมตร สถาปนาเป็นอาณาเขตของตน

สถานการณ์ก่อการร้าย เริ่มขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2508 จึงเกิดคำว่า ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ขึ้นมาในขั้นต้นนั้น ผกค. เข้าแทรกซึมมาจากแนวชายแดนด้านทิศเหนือ และได้ยึดเอาภูหินร่องกล้า เป็นที่มั่น หลังจากนั้น ผกค. ได้ขยายงานรุกเข้าเขาค้อ เพื่อเตรียมสถาปนาเขาค้อให้เป็นฐานที่มั่นในการรุกต่อไ 

เนื่องจากเขาค้อ มีสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่ารกทึบสูงชันยากต่อการตรวจการณ์ทางอากาศและทางพื้นดิน นอกจากนี้ตามเทือกเขาต่าง ๆ ยังมีถ้ำอยู่มากมายเหมาะสำหรับเป็นที่หลบซ่อนและสะสมอาวุธและเสบียงได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มเชิงเขาค้อ เขาปู่ เขาย่า ยังเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจึงเล็งเห็นว่าเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมอย่างยิ่ง ในการที่จะเข้ามาเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และทำสงครามกองโจร เพื่อปฏิวัติยึดอำนาจรัฐบาล

จนในปี พ.ศ. 2511 ผกค. ได้เข้ามาปฏิบัติงานในเขตรอยต่อ 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก เลย เพชรบูรณ์ โดยมีสหายดั่ง (นายดำริห์) เป็นหัวหน้าในการเข้ามาปลุกระดมมวลชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นราษฎรชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง  25 ธันวาคม 2511 กองทัพภาคที่ 3 จัดตั้งกองบัญชาการผสม 394 ที่สนามบิน อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ เริ่มปฏิบัติการทางทหารอย่างต่อเนื่อง

เปิดยุทธการกวาดล้างที่สำคัญรวม 12 ครั้ง เช่น ยุทธการภูขี้เถ้า ยุทธการรามสูร ยุทธการผาเมืองเผด็จศึก 1-3 ยุทธการผาเมืองเกรียงไกร ฯลฯ ปี พ.ศ.2514-2515 ได้เริ่มสร้างถนนแยกจากถนนพิษณุโลก-หล่มสัก ตรงบริเวณกิโลเมตรที่ 100 บ้านแคมป์สนไปยังบ้านเล่าลือ

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2511 พคท.ประกาศ “วันเสียงปืนแตก” ในพื้นที่เขาค้อ โดยนำกำลังเข้าตีหมู่บ้านเล่าลือและเข้าตีฐานของอาสาสมัครชุดคุ้มครองหมู่บ้านห้วยทรายเหนือ สังหารเจ้าหน้าที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ พร้อมทั้งยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ไปได้

พคท.ประสบความสำเร็จอีกขั้นโดยการ ปจว.กับชาวเขาในพื้นที่ว่าทหารจะกลับมาแก้แค้น ทำให้ชาวเขาเผ่าม้งและเผ่าอื่นๆ พากันอพยพไปเข้าร่วมงานกับ ผกค.กลุ่มงานเขาค้อ   ข้อมูลที่เปิดเผยต่อมาระบุว่า งานโฆษณาชวนเชื่อทำให้มีชาวเขาราว 3,000 คน เข้าร่วมอุดมการณ์ทางการเมืองและจากนั้น พคท.จึงได้ สถาปนาอำนาจรัฐประชาชนขึ้นในเขตที่มั่นของตน เป็นแห่งแรกในประเทศไทย มีคณะกรรมการบริหารเรียกว่า คณะกรรมการรัฐ มีสภาผู้แทนประชาชนปฏิวัติ ประกอบด้วยสมาชิก 55 คน ที่ได้รับเลือกจากราษฎร และทหารในเขตที่มั่น มีศาลประชาชนซึ่งประกอบด้วย ศาล ผู้พิพากษา และคณะกรรมการการกฎหมาย พื้นที่ตรงนี้ไม่ขอขึ้นกับการปกครองของรัฐไทย

เมื่อ 20 พ.ย. 2511 ผกค. กลุ่มเขาค้อประกาศวันเสียงปืนแตก ด้วยการเข้าโจมตีหมู่บ้านเล่าลือ มีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บล้มตายและ ผกค. ได้ยึดอาวุธยุทโธปกรณ์บางส่วน จากนั้นได้โฆษณาชวนเชื่อชาวเขาเผ่าม้ง บริเวณนี้ว่า เจ้าหน้าที่จะทำการแก้แค้นด้วยการกวาดล้างและฆ่าชาวม้งทุกคน จึงเป็นเหตุให้ชาวเขาเหล่านี้เกิดความหวาดกลัวต่างพากันอพยพเข้าร่วมเป็นสมัครพรรคพวกกับ ผกค. กลุ่มเขาค้อเป็นต้นมา

จากนั้นยังคงส่งกำลังเข้าโจมตีฐานปฏิบัติการของฝ่ายรัฐบาลหลายครั้ง ทำให้มวลชนส่วนใหญ่เกรงกลัวอิทธิพล ผกค. ประกอบกับการโฆษณาชวนเชื่อของผู้ก่อการร้าย ทำให้มวลชนอพยพเข้าไปอยู่ในป่า ร่วมเป็นสมัครพรรคพวกกับ ผกค. และได้จัดตั้งสำนักอำนาจรัฐขึ้นมา

ผกค. กลุ่มเขาค้อ มีชื่อรหัสเขตงานว่า เขต ข.33 ปฏิบัติงานด้านการเมือง การทหารครอบคลุมพื้นที่ อ.หล่มสัก อ.เมือง อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ อ.เนินมะปราง รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก

ผกค.กลุ่มเขาค้อ มีฐานที่มั่นประกอบด้วยสำนักอำนาจรัฐ โรงเรียนการเมืองการทหาร สำนักพลเขตนายร้อยพลาธิการ สำนักทหารช่าง สำนักเคลื่อนที่กองร้อยทหารหลัก 515 กองร้อยทหารหลัก 520 พยาบาลเขตและคลังเสบียง อาวุธ

ผกค. ได้ตั้งหมู่บ้านปลดปล่อยในอิทธิพล คือ บ้านภูชัย บ้านแสงทอง หลักชัย ชิงชัย กล้าบุก ทุ่งแดง รวมพลัง รวมสู้ ต่อสู้ ฐานที่มั่นและหมู่บ้านในอิทธิพลเหล่านี้กระจายอยู่ตามเทือกเขาต่าง ๆ บริเวณบ้านหนองแม่นา สะเดาะพง เขาค้อ เขาย่า เขาหลังถ้ำ รวมพื้นที่ฐานมั่น ผกค. ประมาณ 50 ตร.กม.

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)ได้สถาปนาอำนาจรัฐประชาชนขึ้นในเขตฐานที่มันคงของ ผกค. กลุ่มเขาค้อเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและมีอายุยืนยาวถึง 10 ปี และมีระบบโครงสร้างการจัดการค่อนข้างมั่นคง มีคณะกรรมการบริหารเรียกว่า “คณะกรรมการรัฐ”

ในราวเดือนมีนาคม พ.ศ.2511 พคท.แข็งแกร่งขึ้น ดำเนินการจัดตั้งกำลังทหารหลัก แบ่งออกเป็น 3 ชุด

ชุดที่ 1 พื้นที่ภูหินร่องกล้า ภูขี้เถ้า ทับเบิก ชุดที่ 2 พื้นที่เขาค้อ และชุดที่ 3 พื้นที่ภูขัด ภูเมี่ยง พร้อมทั้งโฆษณาชวนเชื่อ และชี้นำให้ชาวไทยภูเขาเข้าร่วมอุดมการณ์มีสภาผู้แทนประชาชนปฏิวัติประกอบด้วยสมาชิกสภาจำนวน 55 คนที่ได้รับเลือกมาจากราษฎรและทหารในเขตฐานที่มั่น ทำหน้าที่กำหนดแก้ไขเพิ่มเติมและตัดทอนกฎหมายลงมติโครงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อความสงบเรียบร้อย มั่นคง และก้าวหน้าของเขตฐานที่มั่น และติดตามตรวจสอบการบริหารของกรรมการบ้านและกรรมการรัฐในการพิจารณาคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในฐานที่มั่นมีศาลประชาชนซึ่งประกอบด้วยศาลผู้พิพากษา และคณะกรรมการกฎหมายมีอำนาจหน้าที่พิจารณาคดีต่าง ๆ ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ (ฐานที่มั่น) ตามกฎหมายที่กำหนดขึ้นไว้ ด้านการปกครอง มีการจัดองค์การบริหารถึงระดับหมู่บ้าน มีเจ้าหน้าที่คือ คณะกรรมการบ้านเป็นผู้บริหา

ด้านเศรษฐกิจ มีการวางโครงการเกี่ยวกับการผลิตแต่ละปีไว้อย่างแน่ชัด คือ กำหนดผลผลิตไว้เพื่อสำรองเวลาสู้รบกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ให้เพียงพอในกรณีที่การรบยืดเยื้อ .. และผลผลิตเพื่อใช้เลี้ยงทหาร ประชาชน ที่อยู่ในเขตฐานที่มั่น
ด้านการพาณิชย์ มีการซื้อของใช้ที่จำเป็นจากภายนอกเข้าไปจำหน่ายแก่ พวกทหารและประชาชนในเขตฐานที่มั่น
ด้านการทหาร มีทหารหลักที่จะรักษาความปลอดภัยแก่ฐานที่มั่น และมีทหารบ้านเป็นกำลังสำรอง กองกำลังเหล่านี้มีขีดความสามารถพร้อมที่จะสู้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม มีการเปิดโรงเรียนสอนลูกหลานของทหารและประชาชนจนถึงระดับหมู่บ้าน

ด้านการสาธารณสุข มีหมอบ้าน สำนักเภสัชและยาป่า รวมทั้งมีการจัดตั้ง โรงเรียนแพทย์เพื่อผลิตหมอ และมีแผนจะจัดตั้งสถานอนามัยขึ้นบริการแก่ชาวบ้าน 2 – 3 หมู่บ้านต่อ 1 แห่ง
ด้านสตรีและเด็ก มีการดำเนินงานจัดตั้งองค์การบริหารจนถึงระดับหมู่บ้าน

ด้านการผลิต ให้ยืนหยัดทำการผลิตรวมหมู่เป็นหลักในการดำเนินการ และผลิตเพื่อใช้ส่วนตัวเป็นรองยึดมั่นการพึ่งตนเอง ความมุ่งหมายในการผลิต คือ การทำนา ปลูกฝ้าย เพื่อใช้ผลิต เครื่องนุ่งห่ม ผลิตยาสมุนไพร และการต้มเกลือ ใช้ประกอบอาหารและต้องผลิตให้เพียงพอ ทุกหมู่บ้าน จะต้องเตรียมข้าวสำรองไว้อย่างน้อยหมู่บ้านละ 4 – 5 ถัง พร้อมทั้งให้เตรียมเสบียงอาหารแห้งไว้ให้พร้อม ถ้าหากถูกโจมตีจะใช้ข้าวและเสบียงที่สะสมเป็นอาหารเลี้ยงชีพระหว่างการสู้รบหรืออพยพหลบหนี

ด้านการทหาร ต้องพึ่งจำนวนของตัวเองเป็นหลัก ให้ทุกหมู่บ้านส่งลูกหลานที่มีอายุเข้าเกณฑ์เป็นทหารให้ยกระดับทหารบ้านให้สูงขึ้น พร้อมที่จะจัดตั้งเป็นกำลังรบหลักหรือช่วยเหลือทหารหลักในการสู้รบกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และให้ทหารทุกคนเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับฝ่ายรัฐ

หลังจากนั้นการสู้รบก็ยังคงมีต่อไปเรื่อย ๆ ชีวิตของทหารผู้กล้าต้องพลีชีพไปกับสงครามมากขึ้น

เมื่อ 28 ธ.ค. 2511 ผกค. โจมตีฐานปฏิบัติการ บ.เล่าลือ ซึ่งอยู่ในเขต อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ นับเป็นเหตุการณ์ ผกค. ปฏิบัติการในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัดเป็นครั้งที่ 2

กองร้อย 515 แบ่งกำลังออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ปฏิบัติงานด้านการเมือง ตามหมู่บ้านพื้นราบเชิงเขา เขต อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
ส่วนที่ 2 กลางเมืองตามหมู่บ้านพื้นราบเชิงเขาเขต กิ่ง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก

เวลาประมาณ 06.00 น. เฮลิคอปเตอร์แบบ Huey ฮท.1 พร้อมฮ. กันชิป จำนวนกมาก ก็กราดยิงปืนกล และจรวด เข้าใส่พื้นที่หนองแม่นา ก็ปล่อยกำลังทหารกองร้อยแรกเข้าสู่สมรภูมิ (เล่ากันว่าเมื่อนักบินบินกลับฐาน มีการอวดรูลูกปืน บนเฮลิคอปเตอร์ ว่าโดนกี่รู ใครโดนมากสุดโดนเลี้ยงเหล้าขาวด้วย )เมื่อกำลังพลทั้งหมดลงสู่เป้าหมายแล้ว พันโทหาญ เพไท ผู้บังคับกองพัน พัน.ร. 3444 ได้นำทหารบุกเข้าสู่เขตบ้านหลักชัยที่หมายเข้าตีแห่งแรกของผกค.เขาค้อ ยังไม่ทันจะสุดชายป่าดี ผกค.เข้าค้อก็ระดมสารพัดอาวุธนานาชนิด ใส่ทหารพัน.ร.3444 เกิดการปะทะกันกว่า 45 นาทีจึงยึดบ้านหลักชัยได้ แต่หลังจากที่ ทหารพันร. 3444 เข้าตรวจสอบและเผาทำลายหมู่บ้าน เมื่อกำลังถอนกำลังออกก็ถูกกำลังผกค. ที่มาดักรอบริเวณทางออกหมู่บ้าน ลอบโจมตี เกิดการปะทะกันจนถึงบ่าย จนผบ.หน่วยทหารไทยทนไม่ไหว ปรับทหารแถวหน้ากระดานลุกเดินยิงสาดเข้าไป แบบไม่กลัวตายผกค.จึงล่าถอยไปในที่สุด สามารถยึดบ้านหลักชัยได้อย่างเด็ดขาด

ขณะเข้าโจมตีทางอากาศ เครื่องบินขับไล่แบบ F-5A หมายเลขเครื่อง 1313 (เลข ทอ. บข.๑๘-๓/๑๐ Sel.No.66-9161) ถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ใช้อาวุธต่อต้านอากาศยานยิงตกบริเวณเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทำให้ เรืออากาศเอกชาญชัย มหากาญจนะ ซึ่งเป็นนักบินเสียชีวิตภายในเครื่องบิน กองกำลังร่วมได้เข้าทำการช่วยเหลือนักบินที่คาดว่ารอดชีวิต โดยการส่งทั้งเครื่องบินขับไล่ เฮลิคอปเตอร์ และกองกำลังทหารภาคพื้นดินของกองกำลังผสมตำรวจ ทหาร พลเรือน ซึ่งในวันต่อมาเมื่อมีการเข้าถึงเครื่องบินและพบศพนักบินผู้เสียสละชีวิตตนเองเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทยในวันนั้นแล้ว ยังพบศพทหารฝ่ายคอมมิวนิสต์จำนวนมากที่เสียชีวิตใกล้จุดที่เครื่องบินตก อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศยังคงส่งเครื่องบินขับไล่แบบ F-5A เข้าโจมตีเป้าหมายต่างๆ ในเขตงานของพรรคคอมมิวนิสต์จังหวัดเพชรบูรณ์อีกหลายภารกิจ ต่อเนื่องหลายปีจนสงครามปราบปรามคอมมิวนิสต์สงบลง อนึ่ง กองทัพอากาศได้ปูนบำเหน็จเลื่อนยศขึ้นเป็น “นาวาอากาศโท” พร้อมเหรียญกล้าหาญ ให้เรืออากาศเอกชาญชัย มหากาญจนะ ซึ่งเป็นนักบินที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ปกป้องผืนแผ่นดินเกิด

 

 

การที่จะเอาชนะ ผกค. ในเขตงานเขาค้อได้โดยเด็ดขาดนี้ จำเป็นต้องใช้กำลังฝ่ายเราที่มีทั้งหมดโจมตีฐานที่มั่นของ ผกค. บริเวณเขาห้วยทราย ทุ่งสะเดาะพง – เขาตะเคียนโง๊ะ – เขาปู่ และบ้านหนองแม่นา ดังนั้น พตท. 1617 จึงมีนโยบายเปิดยุทธการ “ผาเมืองเผด็จศึก 2” ขึ้นเพื่อโจมตีฐานที่มั่น ผกค. ดังที่กล่าวมาแล้ว เพื่อให้การยิงปืนใหญ่เป็นไปอย่างต่อเนื่องครอบคลุมพื้นที่ปฎิบัติการจำเป็น ต้องย้ายปืนจากฐานยิงสนับสนุนสมเด็จมาตั้งยิงบนเขาค้อ (ฐานยิงสนับสนุนอิทธิปัจจุบัน)

ได้เคลื่อนย้าย ปกค. 115 มม. 1 กระบอก ได้ตั้งยิงเมื่อ 17 ก.พ. 2524 และเคลื่อนย้าย ปกค. 105 มม. แบบ XM 618 ที่ ศอว.ทบ. เป็นผู้ผลิตและให้ ป.พัน 4 ทดลองใช้ในสนามจำนวน 2 กระบอก ดังนั้น พตท. 1617 จึงเปิดยุทการ “ผาเมืองเผด็จศึก 2”

อาวุธปืนใหญ่ ขนาดกลาง กระสุนวิถีโค้ง 03 ขนาด 155 มม. ชื่อว่า พระยาตานี้และปืนใหญ่เขา กระสุนวิถีโค้ง 95 ขนาด 105 มม. ชื่อ อินทรีกลืนช้าง ที่ใช้เป็นฐานยิงสนับสนุนทำให้การยิงให้หน่วยดำเนินกลยุทธในพื้นที่จนสามารถ ยึดและทำลายที่มั่น ผกค. เขตงานเขาค้อได้อย่างสิ้นเชิง

ฐานยิงฯ แห่งนี้ทำการยิงให้หน่วยดำเนินกลยุทธ์ ในพื้นที่จนสามารถยึดและทำลายที่มั่น ผกค. งานเขาค้อได้อย่างสิ้นเชิง ต่อมาฐานยิงนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า “ฐานยิงสนับสนุนอิทธิ” เป็นอนุสรณ์แก่ พันเอกอิทธิ สิมารักษ์ ผช.ผอ. พตท 1617 ซึ่งเสียชีวิตจาการบัญชาการรบที่เขาค้อเพื่อนำผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตออกจาก พื้นที่การต่อสู้

หมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งในพื้นที่ตอนใต้เส้นทางถนนสายพิษณุโลก – หล่มสัก มีจำนวนมาก เช่น บ.เล่านะ บ.เล่าเพ้ง บ.เล่าลือ บ.พ้อย บ.หูช้าง บ.สะเดาะพง ฯลฯ แต่มีเหลือเป็นของฝ่ายรัฐเพียงหมู่บ้านเดียว คือ บ.เล่าลือ นอกนั้นพากันอพยพจากถิ่นที่เดิมไปอยู่ตามไร่ในป่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ผกค. ทั้งสิ้น 

“เขาค้อ” ได้มีชื่อนี้ก็เป็นเพราะพื้นที่นี้อุดมไปด้วยต้นค้อ (ไม้ยืนต้นคล้ายตาล) ชาวเขาเผ่าม้งมักนิยมนำไปมุง หลังคาบ้าน

ยอดเขาค้อที่มีความสูง 1,174 เมตร และบนเทือกเขาลูกเดียวกันมียอดอีกยอดหนึ่งสูง 990 เมตร เป็นยอดเขาเคียงคู่ทางด้านทิศตะวันตก ชื่อ เขาปางก่อ … ชาวบ้านทั่วไปจึงเรียกเทือกเขานี้ว่า “เขาค้อ ปางก่อ”

เขาค้อปางก่อเป็นเทือกเขาที่ทอดยาวจากเหนือไปใต้ความยาวตามสันเขาประมาณ 5 – 6 กม. มีลักษณะของเส้นทาง ยุทธศาสตร์พัฒนาตามแนวความคิดของกองทัพภาคที่ 3 ที่จะสร้างเส้นทางจาก บ้านแค้มป์สน (กม.ที่ 100 เส้นทางพิษณุโลก – หล่มสัก) ไปยังบ้านเล่าลือ ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวเขาสุดท้ายที่เหลืออยู่

ทำการสร้างถนนจากตำบลนางั่ว อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ เข้าไปในพื้นที่แทรกซึม มาบรรจบกับเส้นทางจากบ้านแคมป์สน ที่บ้านสะเดาะพงษ์

ยุทธศาสตร์การสร้างถนนเข้าไปในพื้นที่อิทธิพลของ ผกค. เพื่อเป็นการยึดพื้นที่อย่างถาวรหลังจากที่สู้รบผลักดัน ผกค. ให้ล่าถอยไปแล้ว อีกทั้งจะเป็นเส้นทางเคลื่อนพลและขนยุทโธปกรณ์และกำลังบำรุงเข้าสู่สมรภูมิได้อย่างสะดวก

การก่อสร้างทางต้องหยุดชะงักเป็นระยะ ๆ เนื่องจากถูกขัดขวางจาก ผกค. บนยอดเขาค้อปางก่ออย่างรุนแรง จนบางครั้งไม่สามารถสร้างทางต่อไปได้เป็นระยะเวลานาน อีกทั้งถนนที่ได้ตัดขึ้นไปแล้วก็ถูกวางกับระเบิดสร้างความเสียหายแก่ฝ่ายรัฐทั้งชีวิตกำลังพลและยุทโธปกรณ์เป็นระยะ ๆ

ยุทธการฝ่ายรัฐจึงมุ่งที่จะยึดพื้นที่เพิ่มเติมคืบหน้าไปเรื่อย ๆ โดยมีเป้าหมายที่จะยึดยอดเขาค้อให้ได้ จึงได้มอบหมายให้ หน่วย พัน ร.3447 มีการจัดกำลังพลร่วมกับหน่วยสร้างทางฝ่ายพลเรือน รุกเข้ายึดพื้นที่

แผนปฏิบัติการคือ เมื่อได้รับการสนับสนุนการโจมตีทางอากาศต่อที่หมาย บนยอดเขาค้อ กำลังเข้าปฏิบัติการจะแทรกซึมเข้าทางพื้นดิน หลังจากนั้น บริษัทภานุมาศ จำกัด จะสนับสนุนโดยการเส้นทางลำลองด้วยแทรกเตอร์ 2 คัน โดยมีกำลังทห่รคุ้มกันตลอดเส้นทาง เพื่อใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังแนวเส้นทางก่อสร้างกำหนดไปตามพื้นราบ

เดิมทีแรก ได้วางแผนกำหนดก่อสร้างเส้นทางไปตามพื้นราบขนานกับสันเขาค้อปางก่อทางด้านทิศตะวันออก และไปขึ้นทางเขาค้อทางทิศใต้ เนื่องจากพื้นที่ไม่ชันมาก ง่ายต่อการเคลื่อนที่บนยอดเขาค้อ

แต่ปรากฏว่า ผกค. ได้ต้านทานอย่างหนักไม่สามารถเคลื่อนที่รุกตามแผนที่วางไว้ได้ กำลังทหารจึงเปลี่ยนทิศทางเคลื่นที่เข้าหาที่หมายทางเหนือสันเขา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สูงชัน ผกค. วางกำลังต่อต้านทางด้านนี้น้อยเพราะไม่คาดว่าฝ่ายทหารจะปฏิบัติการด้านนี้

ผกค. ได้ดัดแปลงที่มั่นเป็นคูรบไว้ 5 จุด ก่อนที่จะถึงที่หมายบนยอดเขาค้อแต่ละจุดห่างกันประมาณ 300 – 400 เมตร เมื่อฝ่ายทหารยึดที่มั่นคูรบจุดที่ 1 ไว้ได้แล้ว ผกค.จะถอนตัวไปตั้งรบคูรบที่ 2 เมื่อทหารยึดคูรบที่ 2 ได้ ผกค. จะถอนตัวไปตั้งรับจุดที่ 3 ตามลำดับ

การต้านทานของ ผกค.นอกจากกำลังทางพื้นดินแล้วยังได้รับการสนับสนุนการโจมตีด้วยอาวุธ กระสุนวิถีโค้ง ค.61 มม. (ปืนครก) จากยอดเขาค้ออีกด้วย

เมื่อทหารสามารถยึดคูรบที่ 3 ได้สำเร็จ ก็ได้เคลื่อนที่เข้ายึดที่หมายต่อไป ผกค. รู้แผนการปฏิบัติของฝ่ายทหารที่ต้องการยึดเขาค้อ ทางด้านนี้ จึงส่งกำลังมาเพิ่มเติมเพื่อขัดขวางอย่างหนัก การปฏิบัติฝ่ายทหารจึงเคลื่อนที่ไปได้อย่างช้า ๆ และภูมิประเทศยากลำบากเป็นป่าทึบและต้องขึ้นเขาสูงชันมาก

เมื่อทหารยึดคูรบที่ 4 ได้ พบว่า ผกค. ได้แกะสลักบนต้นไม้ใหญ่ว่า “ทหารไทยจะยึดได้ปี 2521” …. แต่ฝ่ายทหารยึดได้ในปี 2522 แสดงว่า ผกค. ได้ประมาณสถานการณ์ล่วงหน้าว่า จะต้องสูญเสียฐานที่มั่นบริเวณนี้อย่างแน่นอน แต่ ผกค.สามารถต้านทานฝ่ายทหารได้นานกว่าที่คิด
จากนั้น ทหารไทยก็สามารถยึดคูรบที่ 5 ห่างจากยอดเขาค้อประมาณ 500 – 600 เมตร ไว้ได้

ทางขึ้นฐานกรุงเทพ ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่สุด อยู่บนยอดเขาค้อ
ยอดเขาค้อ เป็นชัยภูมิที่สำคัญมาก เพราะเป็นเขาโดดอยู่สูงท่ามกลางพื้นที่สมรภูมิเขาค้อ จึงสามารถใช้เป็นจุดควบคุมสถานการณ์การสู้รบในพื้นที่ได้ทั้งหมด มีลักษณะภูมิประเทศเป็นสันเขาแนวยาวและแคบ จากยอดเขาลงไปถึงตีนเขาจะเป็นป่ารกทึบทั้งหมด ..
การยึดยอดเขาค้อได้จากฝ่าย ผกค. เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2522 โดยเริ่มปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อที่หมาย 

ในวันที่ 19 ก.ค. 2522 ฝ่ายทหารได้ขอรับการโจมตีสนับสนุนทางอากาศต่อที่หมายยอดเขาค้ออีกครั้งหนึ่ง เมื่อเสร็จสิ้นการโจมตีทางอากาศแล้ว กองกำลังทางพื้นดินได้เคลื่อนที่เข้ายึดที่หมายยอดเขาค้อได้สำเร็จเมื่อเวลา 13.30 น.

เมื่อฝ่ายทหารยึดยอดเขาค้อได้แล้ว จึงสถาปนาความมั่นคงของยอดเขาค้อ โดยใช้รถแทรกเตอร์สร้างฐานที่มั่นขึ้น (ปัจจุบันก็คือฐานกรุงเทพฯ ที่อยู่หน้าอนุสรณ์ผู้เสียสละเขาค้อ) ….ฐานปฏิบัติการกรุงเทพฯ เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาตามนามเรียกขานทางวิทยุของร้อย ร. 1741 ที่ยึดยอดเขาค้อได้สำเร็จเป็นหน่วยแรกนั่นเอง

เมื่อฝ่ายทหารยึดยอดเขาค้อได้แล้ว ฝ่ายผกค.ก็ได้เพิ่มปฏิบัติการกดดันฝ่ายทหาร เพื่อต้องการยึดจุดยุทธศาสตร์สำคัญนี้คืนมาให้ได้ ด้วยการซุ่มโจมตีตามเส้นทางสู่ยอดเขา พร้อมกับการลอบยิงกำลังบนฐานปฏิบัติการ และวางกับระเบิดตลอดเส้นทางเพื่อตัดขาดและไม่ให้ฝ่ายทหารส่งกำลังบำรุงไปยอดเขาได้

 

การวางกับระเบิดที่รุนแรงที่สุด คือ การวางระเบิดขบวนส่งกำลังซึ่งบรรทุกโดยสัตว์ของกรมการสัตว์ทหารบก ทำให้สัตว์และคนจูงแหลกละเอียดเป็นจุล ไม่พบซากเลยทั้งสัตว์และคนจูง ทำให้กำลังพลบนยอดเขาค้อเริ่มขวัญตกต่ำ

การส่งกำลังไม่สามารถส่งในเวลากลางวันได้ นอกจากนั้น กำลังพลบนเขาค้อเมื่อได้รับบาดเจ็บสาหัส ก็มักเสียชีวิต เพราะไม่สามารถส่งกลับได้ทันเวลา เมื่อถูก ผกค. ขัดขวางหนักขึ้นทำให้ไม่สามารถส่งกำลังในเวลากลางวันได้ ขวัญของกำลังพลตกต่ำ ผกค.ได้ใช้ช่วงเวลานี้ปฏิบัติการทางจิตวิทยาต่อฝ่ายทหาร ผ่านทางเครื่องกระจายเสียงบนยอดเขาค้อให้กำลังพลวางอาวุธและกลับไปอยู่กับครอบครัวเสีย

ฝ่ายทหารได้ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงวางแผนแก้ปัญหาโดยให้กำลังพลขุดคูรบ จากยอดเขาค้อลงมาตีนเขาระยะทางประมาณ 2 กม. เศษ เพื่อใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังและสับเปลี่ยนกำลัง .. บางช่วงเมื่อขุดไปเจอแนวก้อนหิน ก็ต้องหยุดเว้นช่วง แล้วทำการขุดต่อได้เมื่อพ้นแนวก้อนหินไปแล้ว

การเคลื่อนที่ในช่วงนี้จึงต้องวิ่งข้ามก้อนหินใหญ่จากคูรบหนึ่งไปยังอีกคูรบหนึ่ง บางพื้นที่ไม่มีภูมิประเทศที่กำบัง การเคลื่อนที่ก็ต้องใช้เสื่อรำแพนทำเป็นฉากปิดกั้นกำบังแทน การส่งกำลังเพื่อขุดคูรบก็ทำได้สะดวกขึ้น

ชุดนักบินของ พล.อ.สุทร คงสมพงษ์ ที่ใช้ในยุทธการการรบที่เขาค้อ ร่มชูชีพพร้อมร่มช่วยที่ พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ ใช้กระโดดที่บริเวณดอยเล่าอู่ ประเทศลาว
เครื่องใส่ซองกระสุนของปืนพก สายโยงเป้ พร้อมเข็มขัดสนามที่ พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ ใช้ในการรบในยุทธการ “ผาเมืองเผด็จศึก” มีชุดปฏิบัติการของ ผกค. กลุ่มเขาค้อ รหัสเขตงาน เขต.33 รวมทั้งภายในอาคารยังมีป้ายจัดแสดงประวัติและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในการรบ

 

ปลายเดือนมีนาคม 2523 มี ผกค. ระดับนักรบชื่อสหายรุ่ง ได้หลบหนีมามอบตัวกับทางทหาร และได้เปิดเผยว่า ผกค. กำลังขุดคูรบเข้ามาประชิดฐานกรุงเทพฯ และมีส่วนหนึ่งกำลังขุดอุโมงค์จากรอยต่อระหว่างยอดเขาค้อกับยอดเขาปางก่อเข้ามาใต้ฐานกรุงเทพฯ เพื่อจะยึดฐานกลับคืนมาให้ได้ จึงได้มีการแจ้งเหตุการณ์และให้กำลังพลบนฐานกรุงเทพฯ เพิ่มความระมัดระวังตัวยิ่งขึ้น

นอกจากนั้น ยังสืบทราบว่า ผกค.มีแผนระเบิดคูรบของ ฐานกรุงเทพฯ เพื่อเปิดช่องทางให้กำลัง ผกค.ส่วนรุกปฏิบัติการจู่โจมเข้ายึดฐานคืนให้ได้ แต่เนื่องจากสหายรุ่งเข้ามอบตัว ผกค.จึงกลัวว่าแผนดังกล่าวจะถูกเปิดเผย จึงชิงปฏิบัติการโดยเข้าระเบิดโจมตีก่อน แต่มีผลทำให้ระเบิดเพียงขอบฐานภายนอก ไม่สามารถเปิดแนวรบตามแผนที่วางไว้ การใช้กำลังที่จะเข้าจู่โจมฐานจึงไม่สำเร็จ ยึดไม่สามารถฐานกรุงเทพฯ คืนได้ 

ในปี พ.ศ. 2523 การศึกดุเดือดถึงขีดสุด ยุทธการครั้งใหญ่เริ่มเปิดฉากขึ้นยุทธการการผาเมืองเผด็จศึก ยุทธการหักไพรี และยุทธการผาเมืองเกรียงไกร เทือกเขาค้อแทบถล่มทลาย ด้วยวัตถุระเบิดที่ต่างฝ่ายต่างขนมาประหัตประหารกันเลือดแลกด้วยเลือด ชีวิตแลกด้วยชีวิต ความสูญเสียของทั้งสองฝ่ายทวีมากขึ้นจนแทบไม่มีกำลังหลงเหลืออยู่

การเปิดยุทธการ “ผาเมืองเผด็จศึก 1” เพื่อยึดและขับไล่ ผกค. บริเวณเขาค้อการปฏิบัติฝ่ายทหารสามารถยึดเขาค้อได้ภายใต้การ ยิงสนับสนุนของปืนใหญ่ จากฐานยิงสนับสนุนสมเด็จ ซึ่งฐานยิงสนับสนุนตั้งห่างจากเขาค้อ 7 กม. ทำให้ฝ่ายทหารได้ก่อสร้างทางและขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดน ผกค. อย่างรวดเร็ว

การที่จะเอาชนะ ผกค.ได้โดยเด็ดขาดนี้ จำเป็นต้องใช้กำลังฝ่ายทหารที่มีทั้งหมดโจมตีฐานที่มั่นของ ผกค. บริเวณเขาห้วยทราย ทุ่งสะเดาะพง – เขาตะเคียนโง๊ะ – เขาปู่ และบ้านหนองแม่นา ดังนั้น ฝ่ายทหารจึงมีนโยบายเปิดยุทธการ “ผาเมืองเผด็จศึก 2” ขึ้นเพื่อโจมตีฐานที่มั่น ผกค.ทั้งหมด และ เพื่อให้การยิงปืนใหญ่เป็นไปอย่างต่อเนื่องครอบคลุมพื้นที่ปฎิบัติการจำเป็นต้องย้ายปืนจากฐานยิงสนับสนุนสมเด็จมาตั้งยิงบนเขาค้อ นั่นคือฐานยิงสนับสนุนอิทธิในปัจจุบัน

ฐานยิงสนับสนุนแห่งนี้ทำการยิงให้หน่วยดำเนินกลยุทธ์ ในพื้นที่จนสามารถยึดและทำลายที่มั่น ผกค. ได้อย่างสิ้นเชิง ต่อมาฐานยิงนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า “ฐานยิงสนับสนุนอิทธิ” เป็นอนุสรณ์แก่ พันเอกอิทธิ สิมารักษ์ ผช.ผอ. พตท 1617 ซึ่งเสียชีวิตจาการบัญชาการรบที่เขาค้อเพื่อนำผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตออกจากพื้นที่การต่อสู้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
เสด็จเยี่ยมนักรบที่ยุธภูมิเขาค้อ เมื่อ พ.ศ. 2524

จวบจนกระทั้งในปี 2525 เสียงปืนเริ่มสงบลง การศึกย่อมมีแพ้ มีชนะ การรบที่ยืดเยื้อมากว่า 15 ปี ยุติลงแล้วความสงบเงียบเริ่มเข้ามาแทนที่เหลือไว้แต่เพียงความพินาศความเสียหาย แมกไม้ป่าทึบท่วมกลางหุบเขาย่อยยับกับแรงระเบิดเมื่อคราวก่อน ซากเศษอาวุธรถถัง ยุทธปัจจัยต่าง ๆ กระจายเคลื่อนอยู่ทั่วบริเวณ ทุกสิ่งทุกอย่างยุติลงแล้ว เหลือไว้ก็เพียงแต่ประวัติการรบที่ห้าวหาญ และน้ำตาญาติพี่น้องของวีรช

สรุปการเปิดยุทธการเพื่อทำการต่อสู้ปราบปราม พคท.และ ผกค.ในพื้นที่เขาค้อ ของฝ่ายทหารรัฐบาลไทย ได้เปิดยุทธการ 7 ครั้งด้วยกัน คือ
1. ยุทธการโพธิกนิษฐ เมื่อปลาย พ.ศ. 2512 (เปิดยุทธการครั้งแรกเพื่อเป็นเกียรติแก่ พล.ท.อ่อง โพธิกนิษฐ)
2. ยุทธการภูขวาง (กฝร. 15) เมื่อ พ.ศ. 2515
3. การฝึกร่วม 16 (กฝร. 16) ครั้งที่ 1 เมื่อ ธค. 2515
4. การฝึกร่วม 16 (กฝร. 16) ครั้งที่ 2 เมื่อ กพ. 2516 

การสู้รบระหว่างกำลังทหารกับ ผกค. บริเวณเขาค้อ เขาย่า ทุ่งสะเดาะพง เขาปู่ และหนองแม่นา ยุติลงสิ้นเชิงในปี พ.ศ. 2525 นับเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่มิใช่ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งแต่เป็นของประชาชนชาวไทยทั้งปวงที่สามารถยุติความขัดแย้งและการใช้กำลังอาวุธ ตัดสินปัญหามาสู่สันติและการร่วมมือกันพัฒนาประเทศ ตามนโยบาย 66/23 ใช้การเมืองนำการทหาร โดยชักชวนให้ผู้หลงผิดกลับมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย

ในระหว่างการสู้รบกันนั้น ยุทธศาสตร์หนึ่งที่มีความสำคัญของฝ่ายทหารคือ เมื่อรุกด้วยกำลังทหารเพื่อยึดพื้นที่ได้แล้ว จัต้องครอบครองพื้นที่ให้ได้โดยเด็ดขาด ไม่ให้ฝ่าย ผกค. กลับมาโจมตีเพื่อยึดพื้นที่คืนอีก ฉะนั้น จึงเกิดการสร้างชุมชนถาวรขึ้นตามพื้นที่ต่าง ๆ ที่ยึดคืนได้ โดยนำเอาราษฎรอาสา (รอส.) และทหารผ่านศึก ขึ้นไปตั้งเป็นชุมชน เป็นหมู่บ้านจัดตั้งต่าง ๆ โดยทางการได้สร้างบ้านให้พร้อมที่ดินอยู่อาศัย 1 ไร่ และที่ดินทำกินอีก 15 ไร่ ตามสองข้างระยะ 1 กม.จากถนนที่ได้สร้างขึ้นไว้แล้ว และหมู่บ้านต่าง ๆ เหล่านั้น ก็ได้ใช้ชื่อหรือนามสกุลของเหล่าวีรชนที่เสียชีวิตในการสู้รบมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านและสถานที่ต่าง ๆ มาจนทุกวันนี้

อนุสรณ์ผู้เสียสละเขาค้อ สร้างเป็นรูปสามเหลี่ยมเป็นหินอ่อนทั้งหมด ขนาดและรูปทรงของอนุสรณ์สถานนี้ มีความหมายที่สำคัญคือ รูปสามเหลี่ยมหมายถึง การปฏิบัติการร่วมกันระหว่าง พลเรือน ตำรวจ ทหาร ฐานกว้าง 11 เมตร หมายถึง พ.ศ. 2511 อันเป็นปีที่เริ่มการปฏิบัติการรุนแรงของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ความสูงจากแท่นบูชาถึงยอด 24 เมตร หมายถึง ปี พ.ศ. 2524 ปีที่เปิดยุทธการครั้งใหญ่ ความสูงจากฐานถึงยอด 25 เมตร หมายถึงปี พ.ศ. 2525 ปีที่สิ้นสุดการรบ ความกว้างฐานสามเหลี่ยมด้านละ 2.6 เมตร หมายถึงปี พ.ศ 2526 ซึ่งเป็นปีที่สร้างอนุสรณ์ ฯ แห่งนี้

หากกล่าวถึงสมรภูมิเขาค้อในอดีตซึ่งเป็นกำลังสำคัญอีกส่วนหนึ่งในการรบครั้งนั้น คือ ทหารจีนฮ่อ
กองพล 93 จีนคณะชาติ(ก๊กมินตั๋ง) ซึ่งอยู่ที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ได้ส่งกองกำลังทหารจีนฮ่อ มาร่วมปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์พื้นที่เขาค้อ มีภารกิจคุ้มกันการสร้างทางทุ่งสมอ – เขาค้อ โดยบริษัทสร้างทางภานุมาศ
เหล่าทหารที่อาสาร่วมรบ ได้สร้างอนุสรณ์ขึ้นเพื่อให้ระลึกถึงผู้เสียสละในช่วงนั้นที่ตั้งอยู่ อนุสาวรีย์ได้สลักรายชื่อของทหารที่เสียชีวิตและข้อความต่าง ๆ ไว้ด้วย

อนุสรณ์จีนฮ่อ ที่ระลึกทหารอาสาจากองพล 93 ก๊กมินตั๋ง ที่เสียชีวิต จากการเข้าร่วมรบในการต่อสู้ที่เขาค้อ
วันที่ 6 ก.พ. 2524 ได้ทหารอาสาจีนฮ่อจากกองพล 93 ได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติการในเขตพื้นที่ “เขาค้อ” จาก กม. 23 – 30 มีทหารจำนวน 64 นายได้ออกเคลียร์พื้นที่ 935 ทหารกล้าได้ปฏิบัติภารกิจอย่างกล้าหาญ และมีสติมั่นคงจนได้รับความสำเร็จในที่สุด จึงได้สร้างอนุสรณ์เป็นที่ระลึกแก่ผู้เสียชีวิตจำนวน 16 นาย

ปัจฉิมบท … ปัจจุบันนี้ เขาค้อได้รับการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมาก กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเขาค้อไม่ตำ่กว่า 500,000 คน ทั้งนี้เพราะเขาค้อมีภูมิประเทศเป็นทะเลภูเขาสวยงามและมีอากาศเย็นทั้งปี
แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้เรื่องและจดจำเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เขาค้อที่เกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้เลย … ชีวิต เลือดและคราบน้ำตา ต้องสูญเสียไปอย่างมากมาย แต่ละหลักกิโลเมตรของเขาค้อจะมีเรื่องราวการสูญเสียที่เกิดขึ้นให้เล่าขานจดจำ … และรำลึกสำนึกถึงความเสียสละของเหล่าผู้กล้า !!
Album นี้ มิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะมาตอกย้ำความเจ็บปวด หรือมารื้อฟื้นความแตกแยกอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น แต่มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อบันทึกและสืบทอดเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของดินแดนแห่งนี้ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และตระหนักในความเสียสละของเหล่าวีรชนที่ได้พลีชีพไป .. ก่อนที่จะเลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คนที่ไม่ได้มีชีวิตอยู่ร่วมสมัย

 

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2520 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯ ออกบ้านนาจานไปยังฐานปฏิบัติการ ทุ่งสมอ อ.เมืองเพชรบูรณ์ ซึ่งฐานแห่งนี้เป็นฐานปืนใหญ่ด้านหน้าเข้าสู่ “เขาค้อ” ซึ่งนับเป็นกองบัญชาการฝ่ายใต้ของกลุ่มผู้ก่อการร้ายในสมัยนั้น
เวลา 09.00 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯ ถึงฐานปืนใหญ่ทุ่งสมอ เมื่อฟังบรรยายสรุปจากฝ่ายยุทธการ กองทัพภาคที่ 3 แล้ว จึงเสด็จฯด้วยรถสายพานลำเลียงพลพระที่นั่ง ไปยังฐานปฏิบัติการ “สมเด็จ” โดยมีเฮลิคอปเตอร์ “กันชิพ” 2 เครื่องบินถวายการอารักขา
ฐานปฏิบัติการ “สมเด็จ” ห่างจาก ฐานปืนใหญ่ทุ่งสมอ 8 กม. โดยเส้นทางอยู่ในเขตอิทธิพลของกลุ่มผู้ก่อการร้าย ระหว่างนั้นเป็นเวลาประมาณ บ่ายโมง จู่ๆ ผู้ก่อการร้ายได้ระดมยิงเฮลิคอปเตอร์ทั้ง 2 ลำอย่างหนาแน่น


ร้อยเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงมีรับสั่งบัญชาการรบในทันที ทรงมีบัญชาให้ทหารสละรถสายพานเข้าทำการกวาดล้างกลุ่มผู้ก่อการร้ายโดยมี ร้อยเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่ทหาร ออกปะทะกับผู้ก่อการร้ายอย่างดุเดือด โดยมิทรงหวั่นเกรงอันตรายใดๆ เลย
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯ ถึงฐานสมเด็จ พร้อมกับเหล่าทหาร ทรงบัญชาให้ยิงปืนขับไล่ผู้ก่อการร้ายแตกกระเจิงไป เฮลิคอปเตอร์กันชิพถูกยิงเสียหายทั้ง 2 เครื่อง แต่สามารถนำลงจอดที่ฐานทุ่งสมอได้อย่างปลอดภัย


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ประทับที่ฐานสมเด็จ จนผู้ก่อการร้ายล่าถอยไปหมด จึงทรงพระดำเนินนำหน้าทหารม้ามายังฐานปฏิบัติการ “กรุงเทพ” ซึ่งห่างจากฐานปฏิบัติการฐานสมเด็จประมาณ 1 กม. ทรงเยี่ยมทหารแล้วเสด็จขึ้นรถยนต์สายพานลำเลียงพลพระที่นั่งไปยังฐานทุ่งสมอ เสด็จฯ ต่อจากนั้น โดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมายังกองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า แล้วเสด็จขึ้นเครื่องบินพระที่นั่งจากพิษณุโลกกลับเชียงใหม่ เมื่อเวลา 14.00 น. วันเดียวกัน..

ท่ามกลางความร้อนระอุของการรบในพื้นที่เขาค้อ 11 มิถุนายน พ.ศ.2519 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมค่ายสฤษดิ์เสนา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เพื่อทรงพระราชทานกำลังใจแก่ทหารของกองพันพิเศษและชุดปฏิบัติการ 312 โดยมี พันเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ พันโท มนัส คล้ายมณี (ผบ.ค่าย) และพันโท หาญ เพไทย นำกำลังพลรับเสด็จ ต่อมาในระหว่างที่ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถ ณ เรือนรับรอง พลโท สมศักดิ์ ปัญจมานนท์ แม่ทัพภาคที่ 3 ได้เข้าเฝ้าฯและกราบบังคมทูลเรื่องเครื่องบิน F-5A ตกขณะปฏิบัติการในพื้นที่เขาค้อก่อนที่ทั้งสองพระองค์จะเสด็จมาถึงค่าย

ทั้งสองพระองค์ทรงใช้แผนที่ส่วนพระองค์และรับสั่งถามถึงสถานการณ์เพิ่มเติมในพื้นที่การรบด้วยความห่วงใยและทรงรับสั่งถึงเหตุการณ์ที่ต้องสูญเสีย พันโท เจริญ ทองนิ่ม ผู้บังคับกองพันส่งทางอากาศเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2519 ที่ผ่านมาในการปะทะกับ ผกค.บนเขาค้อ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวเสด็จพื้นตรวจเยี่ยมทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ กำลังพลที่ได้รับบาดเจ็บและประชาชนในพื้นที่เขาค้อ เมื่อวันที่ 24 กพ. 2524 ….. ทรงพระเจริญ

 

วันที่ 20 กพ. 2527 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯมาทรงเปิดอนุสรณ์ผู้เสียสละเขาค้อ .. จากนั้น จึงให้ถือเอาวันที่ 20 กพ. ของทุกปี เป็นวันรำลึกวีรกรรมผู้เสียสละเขาค้อ และมีการจัดการวางพวงมาลาทุก ๆ ปี เพื่อเป็นการเทิดเกียรติและรำลึกถึงความเสียสละของเหล่าวีรชนผู้เสียสละเหล่านี้

วันที่ 20 กพ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาทรงเปิดอนุสรณ์ผู้เสียสละเขาค้อ .. จากนั้น จึงให้ถือเอาวันที่ 20 กพ. ของทุกปี เป็นวันรำลึกถึงวีรชนผู้เสียสละเขาค้อ และมีการจัดการวางพวงมาลาทุกปีครับ
ขอพระองค์จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอนุสรณ์ผู้เสียสละเขาค้อ เมื่อวันที่ 20 กพ. 2527 จากนั้น จึงให้ถือเอาวันที่ 20 กพ. ของทุกปี เป็นวันรำลึกถึงวีรชนผู้เสียสละเขาค้อ และมีการจัดการวางพวงมาลาทุกปี

ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อ ด.ช. สุทิน พูลเกตุ ที่ถูกไฟครอกทั้งตัวจากเหตุการณ์ที่ทหารถูกซุ่มโจมตี จนพ่อแม่เสียชีวิตทั้ง 2 คนในการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เขาค้อ
วันจันทร์ที่ 20 กพ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดอนุสรณ์ผู้เสียสละเขาค้อ ทรงปลูกต้นชัยพฤกษ์ ทรงเยี่ยมทายาทผู้เสียชีวิต เสด็จพระราชดำเนินยังพลับพลาบริเวณน้ำตกศรีดิษฐ์ ทรงปลูกต้นสน 2 ใบ จากนั้น เสด็จ ฯ ไปเรือนร่มเกล้า ทรงปล่อยปลาลงในอ่างเก็บน้ำ พระราชทานพันธุ์ปลาและทอดพระเนตรการแสดงของสมาชิกศูนย์เยาวชนเขาค้อ


ตามภาพ ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับ ด.ช. สุทิน พูลเกตุ บุตรของทหารพรานที่เคยรบในประเทศลาวและได้กลับมาสู้รบในพื้นที่เขาค้อด้วย
เมื่อวันที่ 1 ธค. 2520 ด.ช. สุทิน พูลเกตุ เมื่อตอนอายุ 3 ขวบ ได้เดินทางกับพ่อและแม่นั่งรถ GMC ไปรับเสบียงจากค่ายสฤษดิ์เสนา เพื่อนำกลับมาส่งในที่พื้นที่สู้รบที่เขาค้อ และถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ซุ่มโจมตีโดยจรวด RPG บนถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก พ่อแม่ตายทั้ง 2 คนขณะปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่เกิดเหตุเลย .. ด.ช.สุทิน ถูกไฟครอกทั้งตัวและได้นำส่งมารักษาที่ รพ.พระมงกุฎอยู่ประมาณ 2-3 ปี ผ่าตัดนับ 10 ครั้ง ..

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้การสงเคราะห์ดูแลรักษาพยาบาล โปรดเกล้า ฯ ให้หมอหลวงค่อยให้การรักษา และยังได้โปรดเกล้า ฯ ให้ ด.ช.สุทิน เข้าเฝ้าที่พระตำหนักจิตรลดา ฯ ด้วย
เมื่อรักษาตัวพออาการทุเลาแล้ว ด.ช.สุทินที่กำพร้าพ่อแม่ ก็กลับมาอยู่ที่เขาค้อ โดยอาศัยอยู่กับเหล่าทหารในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก โยกย้ายสถานที่ตั้งสำนักงานไปหลายแห่ง นายทหารผู้บังคับบัญชาโครงการ ฯ ก็รับช่วงการดูแล ด.ช.สุทิน กันเป็นทอด ๆ ตลอดมา ทั้งนี้ อยู่ภายใต้การดูแลช่วยเหลือทุกอย่างผ่านทาง “พ่อเสือ” คือ ท่านพลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้า ฯ มอบหมายให้ดูแล ด.ช.สุทิน ตลอดมา
ด.ช.สุทิน ได้กลับมาเรียนหนังสือที่ โรงเรียนเจริญทองนิ่มและโรงเรียนร่มเกล้าเขาค้อ โดยใช้ทุนของกองทัพบก ในระหว่างนั้น ทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินมายังพื้นที่เขาค้อ ก็จะทรงรับสั่งหาตลอด และได้โปรดเกล้า ฯ ให้ ด.ช.สุทิน เข้าเฝ้า ฯ ทุกครั้ง และตรัสกับ ด.ช. สุทิน ทุกครั้งว่า “มีอะไรให้ช่วย ก็บอกนะ”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ ให้ความอนุเคราะห์ดูแล ด.ช. สุทิน มาโดยตลอดจนจบการศึกษา สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพได้ ปัจจุบันนี้ นายสุทิน พูลเกตุ มีครอบครัวอยู่ที่บ้านราชพฤกษ์ เขาค้อ ได้รับบำนาญพิเศษจากกองทัพบก .. และยังคงซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ชีวิตแก่เขามาจนทุกวันนี้
ข้อมูลจาก นายสุทิน พูลเกตุ Sutin Poonkate บ้านราชพฤกษ์ เขาค้อ

  

วันจันทร์ที่ 25 กพ. 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร มายังพระตำหนักเขาค้อ บ้านเขาย่า ต.นางั่ว กิ่ง อ.เขาค้อ ที่ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ร่วมกันก่อสร้างน้อมเกล้า ฯ ถวายเป็นที่ประทับแรม ได้พระราชทานของที่ระลึกให้กับผู้ที่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างพระตำหนักเขาค้อ จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินมายังโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทรงทอดพระเนตรภูมิประเทศบริเวณโครงการ ฯ และพระราชทานพระราชดำริให้จัดทำเป็น “โครงการยุทธศาสตร์พัฒนา” เพื่อแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายในพื้นที่เขาค้ออย่างเด็ดขาด และในโอกาสนี้ ได้ประทับแรม ณ พระตำหนักเขาค้อ ..
นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีพระมหากษัตริย์เสด็จ ฯ มาประทับแรมบนแผ่นดินเพชรบูรณ์ .. สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรชาวเพชรบูรณ์เป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้


วันอังคารที่ 26 กพ. 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ประทับแรม ณ พระตำหนักเขาค้อ บ้านเขาย่า ต.นางั่ว กิ่ง อ.เขาค้อ จากนั้น วันรุ่งขึ้น ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรฐานยิงสนับสนุนอิทธิ ซึ่งได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์อาวุธและการสู้รบในพื้นที่เขาค้อ เสด็จ ฯ ไปวางพวงมาลาที่อนุสรณ์ผู้เสียสละเขาค้อ เสด็จ ฯ ไปทอดพระเนตรกิจการของสถาบันเกษตรที่สูง ทรงมีพระราชดำริให้ปลูกป่า 3 ชนิดคือ ไม้ใช้สอย ไม้ฟืน และไม้ผล แล้วเสด็จ ฯ ไปสำรวจพื้นที่ในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็กและได้มีพระราชดำริให้สร้างแหล่งน้ำเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในหลายแห่ง เพื่อวางแผนในการพัฒนาต่อไป เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรที่มารอเฝ้ารับเสด็จเป็นจำนวนมากที่บริเวณที่ว่าการกิ่ง อ.เขาค้อ
นับเป็นวันสุดท้ายและครั้งสุดท้ายที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินมาบนแผ่นดินเพชรบูรณ์ … ขอพระองค์สู่สวรรคาลัย พระองค์จะสถิตอยู่ในดวงใจของชาวเพชรบูรณ์ตลอดกาลนาน

ขอสดุดีวีรชนผู้กล้า ผู้เสียสละ .. คืนสู่เหย้านักรบเขาค้อ .. 19 กพ. 2559
ท่านเหล่านี้คือทหารกล้าส่วนหนึ่ง ที่ได้เคยปฏิบัติหน้าที่ปกป้องผืนแผ่นดินไทยในสมรภูมิเขาค้อ .. หลายท่านได้พลีชีพ สละเลือดเนื้อ ชีวิตร่างกาย บาดเจ็บ พิการสูญเสียอวัยวะ ในการสู้รบในครั้งนั้นอย่างห้าวหาญ .. และสามารถรักษาแผ่นดินไว้ให้ลูกหลานไทยจวบจนทุกวันนี้
เราไปเที่ยวเขาค้อ ด้วยความชื่นชมในบรรยากาศและความสวยงามต่าง ๆ นานา .. แต่ทุกคนควรจะสำนึกไว้ตลอดไปและเล่าสู่ลูกหลานชั้นหลังต่อ ๆ ไปด้วยว่า กว่าเขาค้อจะมีวันนี้ได้ ชีวิตกี่ชีวิตต้องแลกมา เลือดแทบนองแผ่นดิน ..
ในนามของลูกหลานคนเพชรบูรณ์ ขอกราบขอบพระคุณและขอสดุดีวีรชนทุก ๆ ท่าน .. เราจะจดจำความเสียสละของท่านไว้และจะนำมาเป็นแบบอย่างในการเสียสละเพื่อประเทศชาติบ้านเมืองและเพชรบูรณ์ของเร

ร่างนักรบนิรนามเพิ่งถูกค้นพบในสมรภูมิเขาค้อ เมื่อ พ.ศ. 2552 บริเวณใกล้กับอนุสรณ์ผู้เสียสละเข้าค้อ .. ได้พบเสื้อผ้าข้าวของ ยุทธภัณฑ์ประจำตัวบางอย่างยังอยู่ครบ ซองกระสุนปืนปลย. ๑๑ ระเบิดสังหารพร้อมใช้งาน ๒ ลูก ซองปืนพก พระเครื่อง สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ จวบจนสุท้ายของชีวิตร่วงโรย ป้ายชื่อและสังกัดเลอะเลือนผุพังไป หมวกเหล็กมีร่องรอยกระสุนปืนเจาะเข้าหนึ่งนัด ร่างที่สูญหายไประหว่างการรบ จากคำบอกเล่าของพยานเท่าที่พอทราบได้ อาจจะเป็นทหารนายหนึ่งที่คุ้มกันรถสร้างทาง ของกรมทางหลวง ทำถนนตัดขึ้นสร้างเส้นทางส่งกำลังบนเขาค้อ ถูก ผกค. ซุ่มยิงเสียชีวิต โดยศพนั้นไม่มีผู้พบเห็นจนกระทั่งมีการค้นพบภายหลังเกือบ ๓๐ ปี ปัจจุบันกระดูกของนักรบท่านนี้ถูกฌาปนกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนข้าวของเครื่องใช้อื่น ๆ ถูกจัดแสดงไว้ที่เรือนร่มเกล้า พิพิธภัณฑ์เขาค้อ เพื่อให้ลูกหลานได้เชิดชูสืบไป .. ขอดวงวิญญาณสู่สุคตินะครับ
ภาพและข้อมูลจาก จากใจชายแดนสนาม

วันที่ 20 กพ. 2527 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯมาทรงเปิดอนุสรณ์ผู้เสียสละเขาค้อ .. จากนั้น จึงให้ถือเอาวันที่ 20 กพ. ของทุกปี เป็นวันรำลึกถึงวีรชนผู้เสียสละเขาค้อ และมีการจัดการวางพวงมาลาทุก ๆ ปี เพื่อเป็นการเทิดเกียรติและรำลึกถึงความเสียสละของเหล่าวีรชนผู้เสียสละเหล่านี้
อนุสรณ์ผู้เสียสละเขาค้อ สร้างเป็นรูปสามเหลี่ยมเป็นหินอ่อนทั้งหมด ขนาดและรูปทรงของอนุสรณ์สถานนี้ มีความหมายที่สำคัญคือ รูปสามเหลี่ยมหมายถึง การปฏิบัติการร่วมกันระหว่าง พลเรือน ตำรวจ ทหาร ฐานอนุสรณ์ ฯ กว้าง 11 เมตร หมายถึง พ.ศ. 2511 อันเป็นปีที่เริ่มการปฏิบัติการรุนแรงของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ความสูงจากแท่นบูชาถึงยอดอนุสรณ์ น สูง 24 เมตร หมายถึง ปี พ.ศ. 2524 อันเป็นที่เปิดยุทธการครั้งใหญ่ ความสูงจากฐานถึงยอดอนุสรณ์25เมตร หมายถึงปี พ.ศ. 2525 อันเป็นปีที่สิ้นสุดการรบความกว้างฐานสามเหลี่ยมด้านละ 2.6 เมตร หมายถึงปี พ.ศ 2526 ซึ่งเป็นปีที่สร้างอนุสรณ์ ฯ แห่งนี้

 

‘>

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

คอลัมน์วันนี้ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด