คนอ่านข่าว: 1,604
หล่มสัก “อำเภอนี้ดีกว่าที่คิด”
Unseen “บ้านห้วยโปร่ง” และ “บ้านท่ากกแก” เมืองโบราณสถานและวัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่
สวัสดีครับ พบกับธิวอีกตามเคย
ตอนนี้เราก็ยังอยู่ที่ “เพชรบูรณ์” อีกเหมือนเดิม
จะเล่าเรื่องต่อจาก อ.วังโป่ง ที่ผมได้ไปเสาะหามาแล้ว
จนเป็นที่ชอบใจของใครหลายๆคน
“หล่มสัก” ก็เป็นอีกอำเภอหนึ่งที่ต้องเดินทางขึ้นมาทางเหนือของจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมยาวนาน
“ชาวไทหล่ม” เป็นชื่อเรียกของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ที่หล่มสัก
แต่เดิมได้อพยพมาจากฝั่งลาว สังเกตุเห็นได้ชัดว่าภาษาที่นี่จะสำเนียงคล้ายภาษาลาว สำเนียงไพเราะ เสนาะหูมาก
ส่วนในเรื่องวัฒนธรรม ผมจะพาไปบ้าน “ห้วยโปร่ง” และ “ท่ากกแก”
หมู่บ้านที่ถูกซ่อนตัวจากโลกภายนอกที่รอวันที่นักท่องเที่ยวไปสัมผัส
กลิ่นอายวัฒนธรรมของชาวไทหล่มยังอยู่ที่นี่เต็มไปหมด
ไม่ว่าจะเป็นภาษา เครื่องแต่งกายและโบราณสถาน
ส่วนในธรรมชาติก็ถูกอ้อมล้อมไปด้วยภูเขา
เราสามารถมองเห็นดาวบนดิน “แสงไฟบนภูทับเบิก” สุกสว่างยามค่ำคืน
ส่วนเรื่องที่พักก็คงต้องพึ่ง “เฮือนลุงน้อย”
โฮมสเตย์หลังใหม่ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางของผมครั้งนี้
ดูแลโดยลุงน้อย ข้าราชการเกษียณอายุที่พร้อมใจร่วมกับชาวบ้าน
จะพัฒนาให้หมู่บ้านนี้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้ได้
โฮมสเตย์ลุงน้อย โทร : 081-7519109
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์
OTOP นวัตวิถี
Otop phetchabun
ขอขอบคุณที่มาภาพและข้อมูลทั้งหมดและ ติดตามที่เพจที่
บ้านห้วยโปร่ง
หมู่บ้านที่อยู่ไม่ไกลจากตัวอำเภอหล่มสัก
แต่ความแตกต่างนั้นโดยสิ้นเชิง
วัฒนธรรมและธรรมชาติของหมู่บ้านนี้
ได้ถูกหล่อหลอมและรักษาไว้ จนทำให้ผมคิดว่า
กาลเวลา ก็ไม่สามารถทำให้หมู่บ้านนี้เปลี่ยนแปลงไปได้
เจดีย์พระนางสิงขรเทวี
ธิดากษัตริย์ขอมที่ถูกส่งมาแต่งงานกับพ่อขุนผาเมือง
มาพร้อมกับ “พระพุทธมหาธรรมราชา”
พระนาง คือ ผู้ที่เผาเมืองราด (หล่มสัก) เนื่องจากไม่พอใจที่พ่อขุนผาเมืองที่ยกทัพไปขับไล่พวกขอมและก่อกบฏต่อพระบิดาของนาง
ทำให้ไฟใหม้ข้าวของรวมไปถึงข้าวสาร
จนกลายเป็น “ข้าวสารดำ” ที่เห็นได้ในบริเวณวัดและในพิพิธภัณฑ์
ภาษาไทหล่ม
ภาษาและวัฒนธรรมของชาวไทหล่ม ผสมผสานระหว่างล้านช้าง กับ ล้านนา สำเนียงลาวที่มีความนุ่มนวลอ่อนช้อยเหมือนทางล้านนา คล้ายกับลาวหลวงพระบาง
ซึ่งผมไม่คิดเลยว่าจะได้ยินสำเนียงลาวแบบนี้ อยู่ใจกลางเมืองไทยอย่างเมืองหล่มสักเลย
สะพานห้วยตอง
สะพานที่มีตอม่อสูงที่สุดในเมืองไทย
ประตูสู่อิสาน อยู่ไม่ไกลจากบ้านห้วยโปร่ง
วัดท่ากกแก
ศิลปะและโบราณสถานสมัยล้านนายังคงอนุรักษ์ไว้ที่หมู่บ้านนี้
น้ำตกธารทิพย์
เป็นน้ำตกที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองหล่มสัก
สามารถไปนั่งเล่นน้ำและปิคนิคกันที่นี่ได้
ประเพณีการเส็งกลอง
การตีกลอง การละเล่นพื้นบ้านของชาวอำเภอหล่มสัก
ชาวบ้านในหมู่บ้านห้วยโปร่ง
ยังคงสืบสานกับมาอยู่เรื่อยๆ จังหวะและทำนองจะแตกต่างจากกลองยาวที่เราเคยเห็นกัน
ถ้าใครอยากสัมผัส แวะเข้าไปชมได้
เจดีย์พ่อขุนผาเมือง
กษัติรย์ผู้กล้าหาญ ที่ครองเมืองราด (บ้านห้วยโปร่ง)
เมืองหล่มสัก คือ เมืองเดิด เนื่องจากเป็นบริเวณที่น้ำท่วมถึงง่าย ทำให้เกิดความเสียหายต่อการเกษตรกรรม ท่านจึงย้ายมาตั้งเมืองใหม่ ชื่อว่า เมืองลาด หรือ เมืองราด ซึ่งปัจจุบัน คือ บ้านห้วยโปร่ง นี่เอง
เมืองหล่มสัก
อนุสรณ์สถานเมืองราดพ่อขุนผาเมือง
เป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมข้อมูลและประวัติความเป็นมาของเมืองราด รวมถึงโบราณวัตถุที่สำคัญ ก็ถูกจัดแสดงไว้ที่นี่
กลุ่มทอผ้าไทหล่ม
อีกหนึ่งอย่างที่ผมอยากจะบอกเล่าสู่นักท่องเที่ยว
คือการได้มาเห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านไทหล่มอย่างแท้จริง
มาเห็นการทอผ้า ที่โครตจะเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทหล่มเลยก็ว่าได้
ลวดลายบนผืนผ้าที่กว่าจะได้มา ไม่ใช่เรื่องง่าย
ลวดลายเป็นเอกลักษณ์และมีความสวยงามเฉพาะตัว
พิพิธภัณฑ์ไทหล่ม
ตอนเย็นมาเดินเล่นถนนคนเดิน (วันเสาร์)
อำเภอหล่มสักเป็นอำเภอเล็กๆ แต่มีถนนคนเดินที่ใหญ่มาก บอกได้เลยเดินจนเมื่อย อาหารการกินเพียบอยู่ใจกลางตัวอำเภอหล่มสัก ที่จัดแสดงความเป็นมาของชาวหล่มสักตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน อาหารและวัฒนธรรมเฉพาะก็ถูกรวบรวมมาไว้ที่นี่ด้วย
ข้าวสารดำ
ชาวบ้านเชื่อว่ามาจากตำนานเผาเมืองราดของพระนางสิงขรเทวี(ธิดาขอม) ที่เผาเสบียงอาหาร เผาข้าวสารจนหลงเหลือเป็นข้าวสารดำอย่างที่เห็น เนื่องจากโกรธเคืองที่พ่อขุนผาเมืองเป็นปฏิปักษ์ต่อบิดาของตน (กษัตริย์ขอม)
กระจกเงาโบราณ ในอนุสรณ์สถานเมืองราด
บ้านห้วยโปร่ง
ขอบคุณ น้องๆนักเรียนโรงเรียนพ่อขุนผาเมืองอุปถัมป์
ที่มาเป็นไกด์ตัวน้อยอธิบายให้พี่ได้ความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวและวัฒนธรรมในหมู่บ้านของน้อง
ความน่ารักของเด็กๆที่เป็นไกด์ตัวน้อย
แต่ความรู้ความสามารถของน้องๆเกินกว้าเด็กประถมจะสามารถทำได้แล้ว กล้าที่ตะแสดงออกและทำทุกๆอย่างที่บอกกับนักท่องเที่ยวขาวไทยว่า “บ้านพวกหนูมีดี”
ขอขอบคุณลุงน้อย และพี่เอื้อม
และชาวบ้านทุกคน ที่ต้อนรับผมเป็นอย่างดีพี่เอื้อมเป็นชาวบ้านห้วยโปร่งที่ตัดสินใจออกจากเมืองกรุง หลบหนีจากความเจริญ กลับมาพัฒนาหมู่บ้านของตัวเอง นำสิ่งที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมอันล้ำค่า โบราณสถานอันเก่าแก มาชูให้หมู่บ้านเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้ได้
ผ้าทอไทหล่ม มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า
“นุ่งซิ่น ถือผ้าเบี่ยงแพร”
ซิ่น (กระโปรง) ที่มีลักษณะเด่นของชาวไทหล่ม นั่นก็คือ “ซิ่นหัวแดงตีนก่าน” สังเกตุว่าบริเวณเอวของซิ่นจะเป็นผ้าสีแดงที่เป็นลวดลายเอกลักษณ์
ผ้าเบี่ยงแพร ที่พันเฉียงเพิ่มความสวยงามและใช้อเนกประสงค์ได้
สุดท้าย หมู่บ้านท่ากกแกหมู่บ้านชาวไทหล่มอีกหนึ่งหมู่บ้านที่มีประวัติความเป็นมาและวัฒนธรรมอันยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์เก่าสมัยล้านนาและล้านช้างผสมกันและยังมีประเพณีแห่ปราสาทผึ้งโบราณและไหลเรือไฟน้อยที่กำลังจะจัดขึ้นในเดือนตุลาคมนี้
คุณยายมาร่วมทำเรือไฟน้อยที่วัดบ้านท่ากกแก
บ้านไทหล่ม อายุกว่า 100 ปี
บ้านเรือนอาศัยแบบดั้งเดิมของชาวไทหล่มที่ยังหลงเหลือให้เห็นอยู่ ตอนนี้หาดูได้ยาก เหลือเพียงไม่กี่หลังแล้ว อยู่ข้างๆวัดท่ากกแก
[ae-fb-embed url=’https://www.facebook.com/lostinmyway/videos/322725052367668′ width=’500′ showtext=’true’ showcaptions=’true’ allowfullscreen=’true’ autoplay=’true’]
“หล่มสัก” กับ “ชาวไทหล่มที่ยังคงอยู่”
จังหวัดเพชรบูรณ์
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ธิวได้มีโอกาสไปเยือน “อำเภอหล่มสัก” เป็นครั้งแรก ซึ่งผมก็ไม่รู้หรอกว่าที่เมืองนี้จะมีอะไร รู้แค่ว่าเป็นทางผ่านเพื่อที่จะไป เขาค้อและภูทับเบิกเท่านั้น
พอได้ทำการบ้านและศึกษาดูประวัติศาสตร์จริงๆ
เมืองนี้มีที่มายาวนานเหมือนกัน มีวัฒนธรรมและภาษาอันล้ำค่า แต่กำลังถูกกลืนกินไปตามกาลเวลา เลยทำให้นักท่องเที่ยวรุ่นหลังๆอย่างเรา ไม่ค่อยจะรู้จักและให้ความสนใจมากนัก
ยกตัวอย่าง “หมู่บ้านท่ากกแก” หมู่บ้านเล็กๆที่จะสื่อถึงวัฒนธรรมและความเป็นมาของที่นี่ได้อย่างชัดเจน ซึ่งไม่ไกลจากตัวอำเภอหล่มสักที่เต็มไปมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบทุกอย่าง แต่เพียงแค่เราเดินทางเข้าหมู่บ้านเพียงไม่กี่นาที ความรู้สึกนั้นก็จะดูเปลี่ยนไปเลย
“ชาวไทหล่ม” อดีตได้อพยพมาจากทางฝั่งลาว ซึ่งครั้งแรกที่ผมได้ยินชาวบ้านสนทนากัน ไม่คิดว่าภาษาลาวและวัฒนธรรมล้านช้าง จะมาอยู่ใจกลางเมืองไทยแบบนี้ ซึ่งภาษาหล่มก็จะมีความละม้ายคล้ายคลึงกับภาษาลาวเป็นอย่างมาก สำเนียงไพเราะเพราะพริ้ง ทำให้ผมรู้สึกว่าตัวเองได้มาเที่ยวที่หลวงพระบางซะงั้น
กายแต่งกายที่นี่ก็จะเป็นเอกลักษณ์ นุ่งผ้าซิ่นและเบี่ยงสไบสำหรับผู้หญิง
และที่สำคัญยังมี “พระอุโบสถ” หลังเก่าสมัยล้านนาผสมล้านช้าง ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ชมและสื่อให้เห็นถึงความเป็นมาของชาวหล่มได้อย่างชัดเจน
#สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ทำให้ผมได้รู้จักและได้เข้าไปสัมผัสกับวิถีวัฒนธรรมดีดีและหาดูได้ยากแบบนี้,แม่ผู้ใหญ่บ้าน,เจ้าอาวาสวัดท่ากกแก,พี่ญาญ่าและทีมงานทุกคนที่ให้ความร่วมมือและให้รู้ธิวเป็นอย่างดี
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์
‘>
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook