LINE : ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์

ยินดีต้อนรับสู่เพจข่าวท้องถิ่นเพชรบูรณ์

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2025
ข่าวเด่นเพชรบูรณ์

ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เรื่อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ฉบับที่ ๙/๒๕๖๓

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่มช่วงวันที่ 7 – 12 ตุลาคม จากอิทธิพลหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันวันพรุ่งนี้

ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
เรื่อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม
ฉบับที่ ๙/๒๕๖๓


กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกประกาศเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ฉบับที่ 9 หลังกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์สภาพอากาศพบหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในวันพรุ่งนี้ (6 ต.ค.63) คาดว่า จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนใต้วันที่ 7 ตุลาคม จากนั้นจะเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกมายังบริเวณอ่าวไทยตอนบนวันที่ 8 ตุลาคม ทำให้ช่วงวันที่ 7 – 9 ตุลาคม มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันตก และภาคใต้ เบื้องต้นได้ประเมินสถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ (One Map) พบมีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำช่วงวันที่ 7 – 12 ตุลาคม คือ เฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ในพื้นที่ภาคเหนือ บริเวณเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก น่าน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี // ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณชัยภูมิ เลย ขอนแก่น และนครราชสีมา // ภาคตะวันออก บริเวณปราจีนบุรี นครนายก สระแก้ว ชลบุรี และระยอง // ภาคตะวันตก บริเวณราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ // ภาคใต้ บริเวณชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และสตูล โดยเฉพาะเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ // บริเวณลำตะคอง ลำน้ำมูล และลำปลายมาศ จังหวัดนครราชสีมา

ทั้งนี้ กอนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามเฝ้าระวังสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะพื้นที่มีฝนตกหนักต่อเนื่อง หรือพื้นที่เสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมซ้ำซากและมีสิ่งกีดขวางทางระบายน้ำ ควบคู่กับประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำและแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมพร้อมอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์ // ปรับแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ พร้อมพิจารณาความเหมาะสมการบริหารน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 90 หรือเกินเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก และอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำ รวมทั้ง เตรียมพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อเป็นแก้มลิงในการหน่วงน้ำและรองรับน้ำหลากด้วย

‘>

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

ข่าวเด่นเพชรบูรณ์ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด