ปวดหัว ตัวร้อน มีอาการแปลกๆ หลังน้ำท่วม อาการนี้คืออะไร จากบทความที่แล้วเราเรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดจากน้ำท่วมไปกันแล้วนะคะ แต่ยังมีอีก 1 เรื่องที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ควรเฝ้าระวังอย่างยิ่ง ทุกคนรู้ไหมว่า นอกจากผลที่ตามมาจากปัญหาน้ำท่วม นอกจากจะทำให้บ้านเรือน หรือพืชไร่เสียหายแล้ว แต่อีกสิ่งหนึ่งที่น่ากลัวและเป็นกังวลไม่ต่างกัน คงหนีไม่พ้น โรคที่ตามมากับน้ำท่วมด้วย วันนี้ทางเพจข่าวท้องถิ่นเพชรบูรณ์ ได้นำโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมและวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น จะมีโรคอะไรนั้นติดตามได้กับบทความนี้ค่ะ
ประเภทของอุทกภัย
ภัยที่เกิดขึ้นจากมีน้ำมีหลายสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ หมุนเขตร้อน ลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ แบ่งได้ 2 ชนิด
-อุทกภัยจากน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน เกิดจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ดินดูดซับไม่ทัน น้ำฝนไหลลงพื้นราบอย่างรวดเร็ว ความแรงของน้ำทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน ชีวิต ทรัพย์สิน
-อุทกภัยจากน้ำท่วมขังและน้ำอ่อนลง เกิดจากน้ำในแม่น้ำ ลำธารล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติ ท่วมและแช่ขัง ทำให้การคมนาคมชะงัก เกิดโรคระบาด ทำลายสาธารณูปโภค และพืชผลการเกษตร ชนิดของอุทกภัย
1.น้ำป่าหลาก เกิดจากฝนตกหนักบนภูเขา ต้นน้ำลำธารและไหลบ่าลงที่ราบอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีต้นไม้ ช่วยดูดซับ ชะลอกระแสน้ำ ความเร็วของน้ำ ของท่อนซุง และต้นไม้ ซี่งพัดมาตามกระแสน้ำจะทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน และชีวิตมนุษย์และสัตว์จนได้รับความเสียหาย
2.น้ำท่วมขัง น้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติท่วมแช่ขัง ทำให้การคมนาคมหยุดชะงัก เกิดโรคระบาดได้ ทำลายพืชผลเกษตรกร
3.คลื่นซัดฝั่ง เกิดจากพายุลมแรงซัดฝั่ง ทำให้น้ำท่วมบริเวณชายฝั่งทะเล บางครั้งมีคลื่นสูงถึง 10 เมตร ซัดเข้าฝั่งทำลายทรัพย์สินและชีวิตได้
โรคที่ตามมากับอุทกภัย
โรงพยาบาลกรุงเทพได้ให้ข้อมูลและวิธีการป้องกันดังนี้
1.โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม อาการ ไข้ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
วิธีการดูแลและการป้องกัน
-ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
-ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น
-เช็ดตัวให้แห้ง
-หลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นเวลานาน
-หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นหวัด
-ปิดปากและจมูกเวลาไอ หรือ จาม
-ล้างมือเป็นประจำ ด้วยน้ำ และสบู่
2.โรคระบบทางเดินอาหาร
ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค โรคบิด ไทฟอยด์ และโรคตับอักเสบ อาการ ถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือมีมูกเลือด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ตัวเหลือง ตาเหลือง
การดูแลและป้องกัน
-ทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด อาหารกระป๋องที่ยังไม่หมดอายุ กระป๋องไม่บวมหรือเป็นสนิม
-ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำจากขวดที่ฝาปิดสนิท น้ำต้มสุก
-ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้ง ก่อนกินอาหาร และหลังการใช้ห้องน้ำ
-ห้ามถ่ายอุจจาระลงในน้ำโดยตรง ถ้าส้วมใช้ไม่ได้ ให้ถ่ายลงในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปใส่ในถุงขยะ
3.โรคฉี่หนู (หรือโรคเลปโตสไปโรซิส)
อาการ ไข้สูงฉับพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะบริเวณน่องและโคนขา หรือปวดหลัง อาจมีอาการตาแดง มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม สับสน
การดูแลและการป้องกัน
-หลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน
-ป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำโดยการสวมร้องเท้าบูธยาง
-รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุดเมื่อต้องลุยน้ำย่ำโคลน
4.โรคน้ำกัดเท้า
อาการโรคน้ำกัดเท้า เท้าเปื่อยและเป็นหนอง คันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกเป็นขุย มีผื่นผุพอง ผิวหนังอักเสบบวมแดง
การดูแลและป้องกัน
-หลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน
-ป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำโดยการสวมร้องเท้าบูธยาง
-รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุดเมื่อต้องลุยน้ำย่ำโคลน
5.โรคตาแดง
อาการ ตาแดง ระคายเคืองตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตา หนังตาบวม
การดูแลและการป้องกัน
-ล้างด้วยน้ำสะอาดทันทีถ้ามีฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตา
-ไม่ควรขยี้ตาด้วยมือที่สกปรก อย่าให้แมลงตอมตา
-แยกผู้ป่วยตาแดงออกจากคนอื่น ๆ
-ไม่ใช้สิ่งของร่วมกันเพื่อป้องกันการระบาดของโรค
6.ไข้เลือดออก
อาการ ไข้สูงลอย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หน้าแดง จุดเลือดออกตามผิวหนัง เลือดออกตามไรฟัน
การดูและการป้องกัน
-ระวังอย่าให้ยุงกัดในเวลากลางวัน
-นอนในมุ้ง
-ทายากันยุง
-กำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยปิดฝาภาชนะเก็บน้ำไม่ให้มีน้ำขัง
6.อุบัติเหตุและการถูกสัตว์ร้ายมีพิษกัดต่อยนอกจากโรคต่าง ๆ แล้ว ยังมีอุบัติเหตุที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่ ไฟดูด จมน้ำ เหยียบของมีคม
7.อันตรายจากสัตว์มีพิษที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่ งู ตะขาบ แมงป่อง ซึ่งหนีน้ำมาหลบอาศัยในบริเวณบ้านเรือน
การดูแลและการป้องกัน
-ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า สับคัตเอาต์ตัดไฟฟ้าในบ้านก่อนที่น้ำจะท่วมถึง
-เก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคม ในบริเวณอาคารบ้านเรือน และตามทางเดินอย่างสม่ำเสมอ
โรคต่าง ๆ ที่ตามมาจากน้ำท่วมเห็นกันแล้วใช่ไหมคะ ว่าหากเราไม่ดูแลตัวเอง อาจจะทำให้เกิดโรคพวกนี้กับเราหรือคนในครอบครัวได้ เพราะฉะนั้นทางเพจข่าวท้องถิ่นเพชรบูรณ์ อยากให้ทุกคนดูแลตนเองและคนรอบข้าง แต่หากให้มีลักษณะอาการทั้งนี้ ให้รีบพบหรือปรึกษาแพทย์ที่ใกล้เราที่สุดค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.bangkokhospital.com/content/contagious-diseases-dangerous-from-the-flood
http://www.klanghospital.go.th/index.php/9.html
https://www.sites.google.com/site/social058/bth-thi-2/hawkhx-yxy-2-2
‘>
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook