28 พฤษจิกายน 2564 วันเลือกตั้ง สภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือนายก.อบต. ที่เราคุ้นเคยกัน พอใกล้เลือกตั้ง เชื่อว่าต้องมีหลายคนคงรู้สึกตื่นเต้นอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นแล้ววันนี้ ทางเพจข่าวท้องถิ่นเพชรบูณ์จะพาทุกท่านมาเรียนรู้วิธีการเลือกตั้ง เพื่อเวลาไปทำการเลือกแล้วจะไม่ทำให้เราสับสนกันค่ะ ขอขอบคุณจาก สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลคืออะไร
เชื่อว่าในที่นี้คงมีหลายคนที่ยังไม่รู้ว่า องค์การบริหารส่วนตำบลคืออะไร แม้จะมีเป็นส่วนเล็ก ๆ แต่เพจข่าวท้องถิ่นเพชรบูรณ์ของเราไม่ปล่อยผ่านอย่างแน่นอนค่ะ ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสำคัญต่อท้องถิ่นเป็นอย่างมาก มีขนาดเล็กและอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ชนบท ซึ่งจัดตั้งโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เพื่อดูแลและจัดทำบริการสาธารณะแก่ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล มีฐานะเป็นนิติบุคคล และในปัจจุบันมีองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อบต. จำนวน 5,300 แห่ง
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ในนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชนจะสามารถใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1.มีสัญชาติไทย แต่ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
2.อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง
3.มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง
4.และคุณสมบัติอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
ลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1.บุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
2.เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช
3.อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
4.ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ขอบด้วยกฎหมาย
5.วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
6.มีลักษณะอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
หลักฐานที่ใช้แสดงตนในการลงคะแนนเลือกตั้ง
1.บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้)
2.บัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้ที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชน เช่น
– บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
– ใบขับขี่
– หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) ฯลฯ
การเตรียมความพร้อมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องดำเนินการเตรียมพร้อมก่อนไปใช้สิทธิ ดังนี้
-ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วัน
-ตรวจสอบรายชื่อได้ที่ศาลากลางจังหวัด หรือที่ว่าการอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล ที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้ง
-ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน
-ตรวจสอบรายชื่อจากเอกสารที่แจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งมายังเจ้าบ้าน
-ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน
-หากพบว่าตนเองหรือผู้มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านของตนไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือเจ้าบ้านเห็นว่ามีชื่อบุคคลอื่นอยู่ในทะเบียนบ้านของตนโดยไม่ได้อาศัยอยู่จริงให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นเพื่อขอเพิ่มชื่อ – ถอนชื่อ พร้อมนำสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้ไปแสดงด้วย
การแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใดที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เนื่องจากมีเหตุอันสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยทำเป็นหนังสือซึ่งต้องระบุเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง หรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง สามารถแจ้งด้วยตัวเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
เหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
– มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
– เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
– เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
– เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
– มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
– ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง
– มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่ กกต. กำหนด
กรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้แจ้งเหตุไว้แล้ว หากในวันเลือกตั้งเหตุดังกล่าวได้สิ้นสุดลง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งได้
หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะถูกจำกัดสิทธิ ดังนี้
-สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. หรือ ส.ถ. หรือ ผ.ถ. หรือสมัครรับเลือกเป็น ส.ว.
-สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
-เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน ส.ถ. หรือ ผ.ถ.
-ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
-ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น
-ดำรงตำแหน่งเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น และเลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่น
-การถูกจำกัดสิทธิ กำหนดเวลาครั้งละ 2 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
ขั้นตอนการลงคะแนนเลือกตั้ง
-ตรวจสอบรายชื่อ
-ตรวจสอบรายชื่อ และลำดับที่จากบัญชีรายชื่อ ที่ประกาศไว้หน้าที่เลือกตั้ง
-ยื่นหลักฐานแสดงตน
แสดงหลักฐาน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้) หรือ บัตรหรือหลักฐานที่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้ที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชน ต่อ กปน. พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือในบัญชีรายชื่อ
-รับบัตรเลือกตั้ง
ลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือลงที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ได้แก่ บัตรเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
-ทำเครื่องหมายกากบาท
เข้าคูหาลงคะแนนทำเครื่องหมายกากบาท (X) ลงในช่องทำเครื่องหมาย ดังนี้
– บัตรเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เลือกผู้สมัครได้หนึ่งคน
– บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลือกผู้สมัครสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้ไม่เกินจำนวนสมาชิกที่แต่ละเขตเลือกตั้งนั้นพึงมี
– หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครผู้ใด ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (X) ในช่องไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด แล้วพับบัตรเลือกตั้ง
-หย่อนบัตรเลือกตั้งด้วยตัวเอง
นำบัตรเลือกตั้งที่พับเรียบร้อยแล้วหย่อนใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง
และทุกท่านอย่าลืมนะคะเวลาลงคะแนนเลือกตั้ง เข้าคูหากาเบอร์หรือคนที่ตัวเองรัก ใช้เสียงของตนเองให้เต็มที่ เพื่ออนาคตที่ดีและสดใสของตนเองและลูกหลานของท่าน และอย่าลืมนะคะ วันอาทิตย์ ที่ 28 พฤษจิกายน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 17.00 น. ทุกเสียงคือพลัง เลือกตั้งสุจริต ใส่สิทธิโปร่งใสค่ะ มาใช้สิทธิ์ของตนกันเยอะ ๆ นะคะ และทุกท่านสามารถอ่านรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook