LINE : ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์

ยินดีต้อนรับสู่เพจข่าวท้องถิ่นเพชรบูรณ์

วันพฤหัสที่ 19 ธันวาคม 2024
การเมืองสังคมและวัฒนธรรม

เตือน!!! ระวังโรคที่มาพร้อมฤดูหนาว

ฤดูหนาวก็เริ่มมากันเเล้วนะคะทุกคน เชื่อว่าหลาย ๆ พื้นที่ในจังหวัดเพชรบูณ์ของเรา เเน่นอนว่าเริ่มมีอากาศหนาวเข้ามากันเเล้ว ซึ่งพอมีอากาศหนาวเข้ามา หลายท่านร่างกายอาจจะปรับตัวไม่ทัน อาจจะทำให้ไม่สบาย ครั้งที่เเล้วเราบอกวิธีดูเเลร่างกายกันไปแล้ว เเละวันนี้เราจะมารู้จักโรคที่มาพร้อมฤดูหนาวกันค่ะ โดยต้องขอขอบคุณข้อมูลจากโรงพยาบาลกรุงเทพค่ะ เเต่จะมีโรคอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยค่ะ

ไข้หวัด

ถือว่าเป็นโรคพื้นฐานที่เป็นได้แทบจะทุกฤดูกาล แต่หากเข้าสู่ฤดูหนาวอาจจะเป็นได้ง่ายกว่าปกติถึง 2 เท่า โดยไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ  ซึ่งสำหรับอาการของผู้ป่วยมักจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจาม คันคอ นำมาก่อน จากนั้นจะเริ่มมีไข้ หนาวสั่น ปวดศรีษะ และปวดเมื่อยตามตัว

วิธีการรักษา

เป็นไข้หวัดควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำบ่อยๆ เช็ดตัวทุกชั่วโมง รับประทานยาลดไข้ ยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก แต่ถ้ามีไข้ขึ้นสูงติดต่อกันนาน ควรพบแพทย์ เพื่อเช็คอาการให้ละเอียดต่อไป

ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ มีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดาแต่รุนแรงกว่า และหากปล่อยไว้จนมีอาการแทรกซ้อนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส “อินฟลูเอนซา” (Influenza virus) ทางระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน ทำให้มีอาการ หนาวสั่น ไข้ขึ้นสูง เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและศีรษะอย่างรุนแรง และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย

วิธีการรักษา

การรักษาคล้ายกับโรคไข้หวัดนั่นคือ ควรดื่มน้ำให้มาก เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย เช็ดตัวทุกชั่วโมง รับประทานยาตามอาการ และมียาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ แต่ไม่จำเป็นสำหรับทุกคน แต่ถ้ารับประทานยาลดไข้แล้วอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์ทันที

ปอดบวม

ปอดบวม คือภาวะปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส จนทำให้มีหนองและสารปนเปื้อนภายในถุงลม ผู้ป่วยมักมีอาการ คือ ไอ จาม มีเสมหะมาก แน่นหน้าอกจนหายใจไม่ออก คัดจมูก หนาวสั่น มีไข้สูงติดต่อกันเกิน 2 วัน ปอดบวมมักพบหลังจากการเป็นไข้หวัดเรื้อรัง และในผู้ป่วยโรคหอบหืด ปอดบวมมักพบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ และเด็กเล็กอายุระหว่าง 5 – 10 ปี แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจคัดกรอง + ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ลด 15% ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ฉีดอย่างไร ใครฉีดได้ ใครฉีดไม่ได้ สอบถามเราได้วันนี้

วิธีรักษา

หากมีอาการคล้ายเป็นปอดบวม ควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด และหากแพทย์วินิจฉัยว่ามีอาการปอดบวมแล้ว จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะ ควบคู่ไปกับยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ และยาขยายหลอดลม พร้อมแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพราะน้ำจะช่วยละลายเสมหะได้

หัด

หัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็ก อาการของโรคจะคล้ายไข้หวัด คือมีไข้ มีน้ำมูก มักไอแห้งตลอดเวลา ตาและจมูกแดง โดยมักมีไข้สูงประมาณ 3 – 4 วันติดต่อกัน จากนั้นจึงขึ้นผื่นแดง ตามร่างกาย โดยผื่นจะค่อยๆ โตขึ้น และมีสีเข้มขึ้น อาการที่สังเกตได้ว่าจะเป็นหัดคือ ผู้ป่วยมักมีตุ่มใส ๆ ขึ้นในปาก ตรงกระพุ้งแก้มและฟันกราม ซึ่งเป็นตุ่มที่เกิดเฉพาะในโรคหัดเท่านั้น หลังจากผื่นออกประมาณ 2 – 3 วัน อาการก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ และหายได้เอง แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ โรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม อุจจาระร่วง สมองอักเสบ และหูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้น ทั้งนี้หัดจะติดต่อทางลมหายใจ ไอ จาม กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดโรคนี้คือวัยเด็กช่วงอายุ 5 – 9 ปี

วิธีการรักษา

โรคหัดไม่ใช่โรคร้ายแรงนัก แต่ยังไม่มียารักษาโดยตรง จึงต้องรักษาตามอาการ เช่น รับประทานยาลดไข้ ดื่มน้ำมากๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ อาการต่างๆ จะทุเลาลงเอง แต่หากมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น หายใจสั้น เจ็บที่หน้าอกขณะหายใจ ชัก ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

อุจจาระร่วง

เป็นโรคที่มาพร้อมกับฤดูหนาว ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส “โรต้า” (Rotavirus) มักพบในเด็ก อายุต่ำกว่า 5 ปี โดยกลุ่มที่พบบ่อยที่สุดคือเด็กอายุ 6 – 12 เดือน เพราะเด็กวัยนี้ยังมีภูมิต้านทานต่ำและมักมีพฤติกรรมหยิบสิ่งของเข้าปาก ซึ่งเพิ่มโอกาสให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น อาการคือ มีไข้ ถ่ายเหลวและอาเจียนอย่างหนัก จนอาจเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรงถึงขั้นช็อกหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการตามที่กล่าวมา ควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

วิธีการรักษา

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยตรง จึงทำได้แค่ประคับประคองอาการของผู้ป่วยให้ดีขึ้น โดยควรให้ผู้ป่วยจิบสารละลายเกลือแร่บ่อยๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ แต่หากผู้ป่วยดื่มน้ำไม่ได้ จำเป็นต้องให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดแทน ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ และอาการจะค่อยๆ ทุเลาลง

โรคไข้สุกใส

โรคไข้สุกใส มักระบาดในช่วงปลายฤดูหนาวคือเดือนมกราคม – มีนาคม เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส “วาริเซลลา” (Varicella virus) หรือไวรัส “เฮอร์ปีส์ในมนุษย์ชนิดที่ 3” (Human herpesvirus type 3) ติดต่อได้โดยการสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง หรือการสัมผัสของใช้ของผู้ป่วย เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า เช็ดตัว ผ้าห่ม ที่นอน หรือสูดหายใจเอาละอองของตุ่มน้ำเข้าไป พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี อาการแรกเริ่มจะคล้ายๆ ไข้หวัดใหญ่คือ ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่จะมีผื่นแดงหรือตุ่มน้ำใสขึ้นตามร่างกาย มีอาการคัน ต่อมาจะกลายเป็นหนอง หลังจากนั้นจะแห้งและตกสะเก็ดภายใน 5 – 10 วัน และอาการไข้ก็จะค่อยๆ ดีขึ้น

วิธีการรักษา

ไข้สุกใส ต้องรักษาตามอาการ เมื่อมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ งดการใช้ของร่วมกับผู้อื่น และหยุดพักจนกว่าจะหายดี ห้ามแคะ แกะเกา บริเวณตุ่ม เพราะอาจทำให้อักเสบ และเป็นแผลเป็นได้ ส่วนมากผู้ป่วยโรคนี้ไม่ต้องพบแพทย์ เพราะอาการไม่รุนแรง ไม่มีโรคแทรกซ้อน และอาการจะทุเลาลงเอง

แหล่งที่มา:https://bth.co.th/th/news-health-th/item/991-common-winter-diseases.html?fbclid=IwAR35iopF1rCf-jfUiVbH-HvlAJSA1HfOTaPJfnYs7IOY9ymuno5_LimP9TY

 ‘>

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

การเมืองสังคมและวัฒนธรรม ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด