LINE : ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์

ยินดีต้อนรับสู่เพจข่าวท้องถิ่นเพชรบูรณ์

วันพฤหัสที่ 19 ธันวาคม 2024
การเมืองสังคมและวัฒนธรรม

ประติมากรรมสุริยะเทพศิลา จากเมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์

สุริยเทพจากเมืองศรีเทพ ที่เมืองโบราณศรีเทพมีการพบพระสุริยะเป็นจำนวนมากอีกทั้งลักษณะบางประการยังมีความแตกต่างกับพระสุริยะที่พบในแหล่งอื่นๆ ปัจจุบันเทวรูปพระสุริยะสกุลช่างศรีเทพเท่าที่มีการเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์ทั้งประเทศและต่างประเทศตลอดจนอยู่ในการครอบครองของส่วนบุคคล และเก็บรักษาอยู่ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์นับได้ 8 องค์
ประติมากรรมสุริยะเทพศิลา ลักษณะพระเศียรกล่าวคือ พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรเบิกโพง มีพระมัสสุ และพระทาฒิกะยาวและหนาตลอดพระปรางค์ ทั้งสองข้าง ทรงกีรีฏมงกุฎทรงกลมที่มีลวดลายตาบคล้ายทรงสามเหลี่ยมประดับอยู่ทั้ง 3 ด้าน เบื้องหลังปรากฏประภามณฑลขนาดใหญ่ และทรงกุณฑลประดับลวดลาย กรองศอมีการประดับลวดลายที่มีลักษณะคล้ายกับลายดอกไม้ในกรอบสี่เหลี่ยมวงโค้ง พระวรกายประทับยืนสมภังค์ พระกรหักทั้งสองข้าง อย่างไรก็ดีการปรากฏการงอข้อศอกนั้นย่อมแสดงให้เห็นว่าแต่เดิมคงมีลักษณะการถือดอกบัวในพระหัตถ์ทั้งสอง พระองค์ทรงนุ่งภูษาแบบชาวอินโดซิเถียน ยาวจรดรพะชานุ และปรากฏคล้ายเส้นเชือกที่ห้อยลงมาดังกล่าวไม่พบในเทวรูปพระสุริยที่พบในเมืองศรีเทพองค์อื่น
เทวรูปพระสุริยะกลุ่มนี้ ได้มีการกำหนดอายุโดยกลุ่มนักวิชาการหลายท่านไว้ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิสกุล ทรงกำหนดอายุอยู่ในกลุ่มเทวรูปรุ่นเก่าอายุราวพุทธ 12-13
จิตรปรีดี อุณหะสุวรรณ์ กำหนดอายุอยู่ในกลุ่ม ที่มีอายุอ่อนที่สุด ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 13
ศาสตราจารย์ ดร.หม่อมราชวงศ์สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ จัดอยู่ในศิลปะรูปแบบไพรกเมง กำหนดอายุราวช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-ครึ่งแรกของพุทธศตวรราที่ 14
ศาสตราจารย์ ดร, ศักดิ์ชัย สายสิงห์ สันนิษฐานว่าสร้างโดยช่างพื้นถิ่น ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-14
วลัยลักษณ์ ผ่องสุขสวัสดิ์ กำหนดช่วงอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-14 โดยกล่าวว่าพระสุริยะเทพที่เมืองศรีเทพได้รับแรงบันดาลใจจากด้านรูปแบบจากวัฒนธรรมอินเดีย วัฒนธรรมใกล้เคียง และปรับให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะถิ่นของศรีเทพ
ดังนั้นจากการกำหนดอายุทั้งหมดจะเห็นได้ว่าเทวรูปพระสุริยะถูกกำหนดอายุอย่างกว้างๆอยู่ในช่วง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-14 นอกจากนี้ประติมากรรมทั้ง 3 องค์นี้แล้ว ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพยังมีชิ้นส่วนประติมากรรมที่คาดว่าจะเป็นเทวรูปพระสุริยเทพสกุลช่างศรีเทพ อีก 2 ชิ้น
เมืองโบราณเมืองศรีเทพ
ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เขตอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตัวเมืองตั้งอยู่ระหว่างบ้านบึงนาจานทางทิศตะวันตกกับบ้านศรีเทพน้อยทางทิศตะวันออกและบ้านสระปรือทางทิศเหนือ สภาพพื้นที่ปัจจุบันเป็นพื้นที่ๆใช้ในการเกษตรกรรม ผังเมืองโบราณศรีเทพ มีลักษณะเป็นผังเมืองขนาดใหญ่ เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมนและมีระบบคูน้ำคันดินซ้อนเป็นรูปวงกลมอยู่ภายในเมืองจึงทำให้ผังเมืองโบราณแห่งนี้มีลักษณะเป็นเมืองแฝด
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือคูน้ำคันดินที่ล้อมรอบทางทิศตะวันตกซึ่งมีแผนผังเกือบวงกลมเรียกว่าเมืองใน ส่วนคูน้ำคันดินที่ต่อขยายออกมาทางด้านทิศตะวันออกเรียกว่าเมืองนอก หลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่า ตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 5-7 เป็นต้นมา ได้พบร่องรอยผู้คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ ในระยะต่อมาเมื่อเข้าสู่ช่วงสมัยประวัติศาสตร์หรือช่วงสมัยทวารวดที่ได้มีการสร้างคูน้ำคันดินของเมืองใน หลังจากนั้นเมื่อมีประชากรในเมืองเพิ่มมากขึ้นซึ่งบางท่านสันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงที่ได้รับวัฒนธรรมเขมรในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา จึงมีการขยายเมืองออกไปทางทิศตะวันออก
แนวคิดเกี่ยวกับงานศิลปกรรมเนื่องในวัฒนธรรมเขมรที่เมืองศรีเทพ
กลุ่มประติมากรรม
เมืองโบราณศรีเทพ เป็นแหล่งที่ค้นพบประติมากรรมเทวรูปศิลาเนื่องในศาสนาพราหมณ์เป็นจำนวนมาก ซึ่งเทวรูปต่างๆที่พบในเมืองโบราณแห่งนี้มีลักษณะเอกลักษณะบางประการที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน แตกต่างไปจากเทวรูปที่พบในแหล่งอื่นๆ ทั้งในประเทศและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเรียกรูปแบบที่พบในลักษณะนี้ว่า สกุลช่างศรีเทพ
นอกจากนี้ยังพบประติมากรรมเนื่องในพุทธศาสนา ทั้งพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันประติมากรรมเทวรูปที่พบที่เมืองศรีเทพ พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว?ส่วนหนึ่งถูกรักษาและเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติพระนคร อีกส่วนหนึ่งอยู่ในการควบคุมของส่วนบุคคลและพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานักวิชาการหลายท่านได้ทำการศึกษาและกำหนดอายุประติมากรรมสกุลช่างศรีเทพไว้ค่อนข้างมาก โดยในส่วนเพื่อความเข้าใจในภาพรวมของการศึกษาประติมากรรมเทวรูปที่เมืองศรีเทพแบ่งการศึกษาที่ผ่านมาของเทวรูปที่พบในเมืองศรีเทพออกเป็น 4 กลุ่ม คือกลุ่มพระวิษณุ(กฤษณะ) กลุ่มประติมากรรมเทวรูปพระสุริยะ กลุ่มพระพุทธรูพธิสัตว์ตามลำดับ
ประวัติและความเป็นมาของสุริยเทพ
ตำนานสุริยเทพหรือพระอาทิตย์
อาทิตย์ ตามคัมภีร์ไตรเพทของพราหมณ์ กล่าวว่ามีถึง 8 องค์ มีชื่อต่างๆกันว่าเป็นโอรสของพระกัศปประชาบดี กับพระอทิติ แต่ได้ทอดทิ้งพระมรรตาณะฑะเสียองค์หนึ่ง คงนำไปเฝ้าพระเป็นเจ้าแค่ ๗ องค์ ต่อมาไกล่เกลี่ยตกลงกันได้ จึงยอมรับพระมรรตาณะฑะเป็นอาทิตย์ด้วย จึงรวมเป็นพระอาทิตย์ 8 องค์ ได้แก่
1. วรุณาทิตย์ 2. มิตราทิตย์ 3. อริยมนาทิตย์ 4. ภคาทิตย์ 5. องศาทิตย์ 6 .อินทราทิตย์
7. ธาตราทิตย์ 8. สุริยาทิตย์
องค์ที่มีนามว่า สุริยาทิตย์ คือ พระมรรตตาณะฑะ ที่พระมารดาคือพระอทิติ ไม่พาไปเฝ้าพระผู้เป็นเจ้า จึงไม่ได้อยู่บนเทวโลกอย่างพระอาทิตย์องค์อื่นๆ ทั้ง 7 องค์แรก จึงคงเที่ยวขับราชรถอยู่ระหว่างเทวโลกกับมนุษย์โลกตราบเท่าทุกวันนี้ ตามคัมภีร์พระเวท พระอาทิตย์จะมีนามนัยหนึ่งว่า พรุสูรย์ หรือ พระ สุริยเทพ มีหน้าที่ให้แสงสว่างและความอบอุ่นต่อมนุษย์ สัตว์และพืชพันธุ์บนพื้นโลกนี้ มีบางแห่งเรียกว่า สวิตฤ(สวิต์ฤ) ขี่ราชรถเทียมม้าแดง 7 ตัว
มีเรื่องเล่าว่า พระสุริยเทพ มีชายาหลายนาง แต่ที่ปรากฏนามเสมอๆ ได้แก่นางสัญญา ซึ่งเป็นธิดาของพระวิศวกรรม มีลูกด้วยกันคือ พระมนูไววัสวัต (หรืออีกนามว่า ท้าวสัตยพรต) 1 พระยม (หรือพระธรรมราชา) 1 นางยมี (หรือ ยมุนา) ซึ่งเป็นชื่อแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำยมนา หรือ ยมุนา) เนื่องจากพระสุริยเทพมีกายรุ่งโรจน์ร้อนแรงเหลือทน นางสัญญาจึงให้ นางฉายา ไปเป็นเมียแทน ส่วนตนนั้นได้ออกบวช บำเพ็ญพรตเป็นโยคินี อยู่ในป่า และไม่ต้องให้สามีจำได้ จึงจำแลงแปลงร่างเป็นม้า มีฉายานามว่า อัศวินี
อย่างไรก็ตาม พระสุริยเทพก็มีอิทธิฤทธิ์เหมือนกัน จึงแปลงร่างเป็นม้าไปสมสู่เป็นคู่ผัวตัวเมียจนเกิดลูกด้วยกัน คือ อัศวิน แฝดคู่กับ เวรันต์ แล้ว จึงพานางกลับมายังสำนักเดิมแห่งตน ฝ่ายพระวิศวกรรมผู้พ่อตา (ในปางที่แยกมาจากพระวิษณุหรือพระอิศวร) จึงจับพระสุริยะกลึง เพื่อขัดถูขูดผิวกายที่สว่างมากๆออกเสีย 1 ส่วนใน 8 ส่วน ผิวที่ขูดออกไปนั้น พ่อตาได้นำไปสร้างเป็น จักร ถวายพระนารายณ์ 1 ตรีศูล ถวายพระอิศวร 1 คฑา(ไม้เท้า)ถวายท้าวกูเวร 1หอก ถวายแด่พระขันทกุมาร 1 และนอกจากนี้ยังนำไปสร้างเป็นอาวุธแจกจ่ายให้เทพยดาอื่นๆจำนวนมาก
ในรามายณะ กล่าวว่า พระสุริยเทพหรือพระอาทิตย์ เป็นพ่อของ พญาสุครีพ ลิงผู้ครองนครกีษกินธยา
ในมหาภารตะ ว่า เป็นพ่อท้าวกรรณะ ผู้ครองแคว้นองคราษฎร์(เมืองเบงคอล)ผู้เป็นเสานาบดีแม่ทัพฝ่ายโกรพ
ในหริศวัต ว่า เป็นพ่อของพระมนูไววัสสัต ซึ่งเป็นพ่อของท้าวอิกษวากุ ผู้เป็นบรมชนกแห่งกษัตริย์สุริยวงศ์ ผู้ครองนครศรีอโยธยา และนครมิกิลา ก็แลพระมนู นั้นยังมีธิดาชื่อ นางอิลา ซึ่งได้เป็นมเหสีของ พระพุธเทวราช พระพุธกับนางอิลามีโอรสคือ ท้าวปุรูรพ บรมกษัตริย์แห่งจันทรวงศ์ กับมีความนิยมกันว่า คราวพระสุริย์แปลงเป็นม้าอยู่นั้น ได้พบพระฤา ชื่อ ยาญวัลกย์ ได้บอกพระอรชุนยัชุรเวท ให้แก่พระยาญวัลกย์
พระอาทิตย์หรือพระสุริยาทิตย์ ถ้ากล่าวในหมู่เทวดา กลุ่มดาวนพเคราะห์ เรียกว่า ระวี (ระพี) และยังมีชื่อต่างดันออกไปเช่น
. 1.ทินกร = ผู้ทำวัน
2. ทิวากร = ผู้ทำวัน
3. ภาสกร = ผู้ทำแสงสว่าง
4. ประภากร = ผู้ทำแสงสว่าง
5. อาภากร = ผู้ทำแสงสว่าง
6. สวิตฤ = ผู้เลี้ยง
7. อรหบดี = ผู้เป็นใหญ่ในวัน
8. โลกจักษุ = ผู้เป็นตาโลก
9. สหัสสรกิรณะ = ผู้มีแสงพันหนึ่ง
10. วิกรรตตะณะ = ผู้ถูกขูดแสงออก
ในคัมภีรไตรเพท ยังกล่าวไว้ว่า พระสุริยาทิตย์นั้น มีเนตร (ตา) เป็นทอง มีกร(แขน) เป็นทอง และมีชิวหา(ลิ้น)เป็นทอง ทรงรถเทียมม้าเท้าด่างขาว
ในคัมภีรปุรณะ แสดงว่า รูปร่างพรอาทิตย์ มีสีกายแดงแก่ มี 3 เนตร 4 กร ถือดอกบัว 2 ข้าง อีกสองข้างข้างหนึ่งให้พรอีกข้างหนึ่งกวัวให้บูชา นั่งมาบนดอกบัวหลวง มีรัศมีเปล่งปลั่งรุ่งโรจน์อยู่รอบกาย มีสารถีคือพระอรุณ
การบูชาพระสุริยาทิตย์นั้น มีสืบกันมาเนิ่นนานแล้วตั้งแค่สมัยพระเวท ต่อมาในต้นคริสต์ศักราช ลัมธิกรบูชาพระอาทิตย์มีความเจริญรุ่งเรือง และมีการพัฒนาไปมากทั้งอินเดียเหนือและใต้ จะมีการสร้างเทวลัยหรือเทวสถาน อุทิศให้กับรูปปั้น รูปหล่อ ของพระสุริยเทพโดยเฉพาะ ดังปรากฏที่เมืองมูลแทน แคว้นแคชเมียร์(กัษมีระ)อนึ่งยังมีชาวฮินดูรวมเอาพระอาทิตย์เข้าในการบูชาเป็นเทพเจ้าทั้ง 5 องค์ ในแห่งเดียวกัน เทวาลัยที่สำคัญจะตั้งอยู่ตรงกลาง ส่วนอีก 4 แห่งจะตั้งอยู่ตามทิศ 4 มุม เรียกตามคติชาวฮินดูว่า ฮินดูปัญจายาคะนะ มีเทพคือ สุริยะเป็นแกนกลาง ส่วน 4 ทิศนั้นหมายถึง พระวิษณุ พระคเณศร์ พระเทวี และพระศิวะ แต่ในยุดหลังๆ ต่อมาการบูชาสุริยเทพได้เสื่อมลดน้อยถอยลงแต่ก็ยังจัดอยู่ในเทพชั้นรอง มีกล่าวถึงราชรถของพระอาทิตย์บ้าง ที่ว่าเทียมด้วยม้า ๗ ตัวนั้น บางคัมภีร์ว่าความจริงเทียมด้วยม้าเพียงตัวเดียว แต่มี ๗ หัว เช่นเดียวกับนาค ๗ หัวมีตัวเดียวนั่นเอง ที่กล่าวแตกต่างกันไปเนื่องจาก นักปราชญ์ทางศาสนาฮินดูต่างมีหลากหลายความคิด แล้วแต่จะกล่าวสรรเสริญยกย่องเทพเจ้าแห่งตน เลอเลิศประเสริฐศรีเพียงใดนั่นเอง รูปพระอาทิตย์หรือพระสุริยเทพ ตามลัทธิความเชื่อถือของชาวฮินดู จะทำให้มีรูปกายสีแดง เรือนร่างมนุษย์ นั่งบนรถเทียมม้า ๗ ตัว หรือตัวเดียวมี ๗ หัว ปรากฏ ประกายแสงสว่างรุ่งเรืองรอบรถและม้ามีสารถีนามว่า อรุณ แหล่างสำนักคือ วิวัสวดี ส่วนมเหสีมีเพิ่มมาอีก ๓ นาง คือ สวรรณี ๑ สวาดี ๑ และ นางมหาวีรยา๑ สำหรับมเหสีเดิมคงได้แก่ นางสัญญา ๑ นางฉายา ๑ และนาง อัศวนี ๑ เทียบตามคติพราหมณ์ ผู้ให้กำเนิดโหรศาสตร์ท่ากล่าวว่า พระอาทิตย์ ท่านว่า มีผิวกายดำแดง ผิวเนื้อสองสี ประดับอาภรณ์ ด้วยเครื่องทรงเป็นแก้วมณีแดง หรือปัทม ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ เป็นเทพที่อุบัติขึ้นในจักรวาลก่อนดาวเคราะห์ทั้งมวล เป็นดังไฟร้อนแรงรุ่งโรจน์ร้ายแรงยิ่งนัก มีกำลัง ๖ ทางศาสนาฮินดูเรียกว่า “สุริยเทพ” สถิตอยู่เบื้อง ทิศอิสาณ แปลว่า “ทิศแห่งพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่”
ตามหลักคัมภีร์พระเวท ตอนฤคเวท กล่าวว่า ร่างของพระอาทิตย์ มีลักษณะเป็นนกมีปีกอันสวยสง่างาม มีรัศมีวายกายสีแดง เป็นแสงรุ่งโรจน์รอบตัว มี ๔ กร มี อรุณเป็นสารถี รถม้าเทียม ๗ ตัว บางตำราว่า ๑ ตัว แต่มี ๗ หัว ที่ประทับสุรยเทพ เรียกว่า วิวัสวดี ดวงอาทิตย์ ตามหลักโหรราศาสตร์ ประจำราศีธาตุไฟ เป็นดาวฤกษ์ที่ให้แสงสว่างและเสริมกำลังให้แก่ดาวนพเคราะห์ทั้งหลายอันก่อให้เกิดมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นในโลก เช่น มนุษย์ สัตว์ และพืชต่างๆ
” สุริยเทพ แห่งเมืองโบราณศรีเทพ ”
ความสำคัญและการดำเนินการทวงคืนฯ
………………………………………………..

นับเป็นกลุ่มโบราณวัตถุที่สำคัญยิ่งของไทย ค้นพบเพียงไม่กี่องค์ ณ เมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ อายุเก่าแก่กว่า 1,400 ปี และมีรูปแบบศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาก

รูปแบบนี้ไม่พบที่อื่นใดบนโลกใบนี้ ไม่พบแม้ในอินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย พบเฉพาะที่เมืองโบราณศรีเทพ ประเทศไทย เท่านั้น

ท่านอาจารย์ ศ.มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ให้ความสำคัญกับโบราณวัตถุชิ้นนี้เป็นพิเศษ ทรงประทานสัมภาษณ์กับ หนังสือสารคดี
ฉบับที่ 46 เดือนธันวาคม พ.ศ.2531 เพื่อกระตุ้นเตือนให้คนไทยได้ตื่นขึ้นมา ช่วยกันหาทางนำสุริยเทพ กลับคืนมาให้ได้ ดังทับหลังนารายณ์ พนมรุ้ง ที่ไทยเราทำสำเร็จมาแล้ว

คนไทยหลายท่าน ที่ติดตามข่าวสารการรณรงค์ทวงคืนโบราณวัตถุไทยจากอเมริกา ได้เดินทางไปชม สุริยเทพองค์นี้ ที่พิพิธภัณฑ์ Norton Simon เมืองแพซาเดน่า แคลิฟอร์เนีย แล้วส่งภาพมาช่วยยืนยันว่าเป็นไปดังที่เป็นข่าวจริง

ขณะนี้ เจ้าหน้าที่กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ กำลังดำเนินการตรวจสอบ และเตรียมดำเนินคดีในชั้นศาล ตามที่คณะกรรมการติดตามทวงคืนโบราณวัตถุไทย ได้ส่งเอกสารหลักฐานเพื่อขอเรียกคืนสุริยเทพองค์นี้

งานนี้มีความเป็นไปได้สูง ที่ไทยเราจะได้รับคืน เพราะพิพิธภัณฑ์นอร์ตั้น ไซม่อน จะต้องชี้แจงให้ได้ว่า ได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ? ภายในปีนี้น่าจะได้เห็น ได้รับทราบความคืบหน้าในเรื่องนี้แน่นอน

‘>

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

การเมืองสังคมและวัฒนธรรม ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด