LINE : ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์

ยินดีต้อนรับสู่เพจข่าวท้องถิ่นเพชรบูรณ์

วันพุธที่ 25 ธันวาคม 2024
คอลัมน์วันนี้

แมงกระพรุนน้ำจืด สัตว์ประหลาดแห่งเขาค้อ

ย่างเข้าสู่ฤดูร้อนมหาโหดอีกครั้ง พิษณุโลกฮอตนิวส์ขอแนะนำ สถานที่พักผ่อนคลายร้อน ที่นอกจากจะได้ชื่นชมกับน้ำตกที่สุดสวยงาม น้ำตกแก่งโสภา  ยังได้ชมแมงกะพรุนน้ำจืด สัตว์น้ำหน้าตาแปลกประหลาดที่มีวงจรชีวิตเวียนว่ายอยู่ในสายน้ำเข็ก มายาวนานแล้ว

“แมงกะพรุนน้ำจืด” ในลำน้ำเข็ก บริเวณ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ต.บ้านแยง อ.นครไทย จ.พิษณุโลก  เริ่มค้นพบในจังหวัดพิษณุโลกเมื่อปี 2548 ที่บริเวณแก่งท่าเดื่อ บ้านเข็กพัฒนา ต.บ้านแยง อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ริมทางหลวงหมายเลข 12 พิษณุโลก-หล่มสัก กม.73-74 นั้น และบริเวณน้ำตกแก่งโสภา บริเวณ กม.ที่ 71-72 น้ำตกชั้นที่ 2 ที่เป็นแอ่งรับน้ำจากน้ำตกสูง 10 เมตร ที่พบว่า ตามแอ่งน้ำนิ่งต่าง ๆ มีแมงกะพรุนน้ำจืดขนาดโตเต็มไวผุดว่ายขึ้นมาจำนวนมาก

 

โดยหลังจากค้นพบที่บ้านเข็กพัฒนาเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2548 ชาวบ้านเข็กพัฒนา ได้เฝ้าติดตามการขึ้นผุดว่ายของแมงกะพรุนน้ำจืดมาอย่างต่อเนื่องมาทุกปี ย้อนหลังสิถิติการเริ่มพบวันที่ 5 มีนาคม ปี 2549 เริ่มพบวันที่27 กุมภาพันธ์ ปี 2548 เริ่มพบวันที่ 8 มีนาคม และปี 2551 เริ่มพบวันที่ 23 มีนาคม 2553 และจะพบเห็นต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายน ชาวบ้านแถบนั้นเรียกว่า “แมงอีหยิบ”ตามลักษณะพฤติกรรม”หยุบเข้า หยุบออก”ของมันขณะกำลังว่ายน้ำ

นายพรชัย  ศรีศักดิ์ นักวิชาการของกรมอุทยานฯที่ติดตามการผุดขึ้นของแมงกะพรุนน้ำจืด เปิดเผยว่า ในพื้นที่ 7 แสนไร่ของอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง มีลำน้ำเข็กเป็นแม่น้ำสายหลัก ไหลผ่านพื้นที่อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ และอ.นครไทย อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ช่วงปี 2548 เริ่มมีการค้นพบแมงกะพรุนน้ำจืดในพื้นที่ 2 จุดสำคัญ คือ ที่แก่งวังน้ำเย็น หรือ หนองแม่นา ในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงด้านอ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ และพื้นที่แก่งท่าเดื่อ และน้ำตกแก่งโสภา บ้านเข็กพัฒนา  ต.บ้านแยง อ.นครไทย จ.พิษณุโลก บริเวณหลักกม.ที่73-74 ทางหลวงหมายเลข 12 ถนนสายพิษณุโลกหล่มสัก

 

จุดที่พบแมงกะพรุนน้ำจืดในลำน้ำเข็ก บริเวณ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงหนองแม่นานั้น ประเทศไทยค้นพบแมงกะพรุนน้ำจืดเป็นประเทศที่ 5 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา รัสเซีย อังกฤษและญี่ปุ่น มีนักวิจัยวิชาการและนักวิจัยชาวบ้านเริ่มเก็บข้อมูลศึกษากันมากขึ้น แต่ก็ยังเป็นความลับและปริศนาอยู่ทุกวันนี้ เพราะตลอดช่วงฤดูฝน สายน้ำเข็กจะกลายสภาพเป็นสีน้ำตาลขุ่นข้นด้วยการชัดล้างของหน้าดินสูงขณะที่ช่วงหน้าร้อนนั้น กระแสน้ำกลับใส มองเห็นเป็นสีเขียวมรกต

“แมงกะพรุนน้ำจืด”ที่พบในลำน้ำเข็กนั้น  มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า”Crasapedacusta Sowerbyi “มีชื่อสามัญว่า “Freshwater Jellyfish” กินแพลงก์ตอน สัตว์เล็ก ๆ ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร มีขนาดประมาณเหรียญ 5 บาท หรือ เหรียญ 10 บาท ร่างกายมีสีขาวใสและขาวขุ่น ประกอบด้วยน้ำประมาณ 95-99 เปอร์เซ็นต์ มีลำตัวคล้ายร่ม หรือกระดิ่ง มีหนวด มีเยื่อบาง ๆ ตรงขอบร่มช่วยในการเคลื่อนไหว บริเวณกลางร่มเป็นทางเข้าออกของอาหาร ช่วงเวลาที่พบคือฤดูร้อนที่อากาศอบอุ่นและน้ำนิ่ง หรือช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน

 

สำหรับแมงกะพรุนน้ำจืดในลำน้ำเข็กเป็นตัวบ่งชี้ว่าธรรมชาติของลำน้ำยังมีความบริสุทธิ์อยู่  แต่ปัจจุบันมีหลายปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะการลักลอบจับแมงกะพรุนน้ำจืดไปแอบขายให้กับผู้นิยมสัตว์แปลก ที่เคยพบว่ามีการแอบลักลอบจับบริเวณแก่งวังน้ำเย็น เขตอ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ตัวละ 40-60 บาท ซึ่งมีความผิด เพราะเป็นอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ นอกจากนี้ การทำเกษตรกรรมโดยชาวบ้านในพื้นที่ต้นน้ำ โดยเฉพาะบริเวณบ้านเข็กน้อย ที่ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งปลูกผักกันมาก สารเคมีจะชะล้างลงมากับแหล่งน้ำ และอาจส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตของแมงกะพรุนน้ำจืดได้ จึงต้องเฝ้าติดตามการเกิดขึ้นในชั้นตัวเต็มวัยทุกปี

 

ชมภาพวิดีโอ แมงกะพรุนน้ำจืด

 

พายเรือสำรวจธรรมชาติ กลางป่าทุ่งแสลงหลวง ตามหา “แมงกระพรุนน้ำจืด” (Fresh Water Jelly Fish) สิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์ก่อนยุคไดโนเสาร์ ที่ยังมีชีวิตรอดเหลือให้พบในปัจจุบัน พบได้แห่งเดียวในประเทศไทย ที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ณ แก่งบางระจัน บ้านหนองแม่นา อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งจะมีโอกาส พบได้ในช่วงเดือน มีนาคม ถึง เดือน พฤษภาคม เท่านั้น 


ขอบคุณภาพจาก http://prajae7.multiply.com

สำหรับแมงกระพรุนน้ำจืดในประเทศไทยแล้วมีสองชนิด แบ่งง่ายๆ คืออยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง กับ น้ำไหล ชื่อไทยที่แบ่งแยกชัดก็คงเป็น แมงกระพรุนลุ่มน้ำโขง Craspedacusta sinensis เป็นแมงกระพรุนน้ำนิ่ง อีกชนิดก็คือแมงกระพรุนลำน้ำเข็ก Craspedacusta sowerbyi เป็นแมงกระพรุนน้ำไหล 
แมงกะพรุนน้ำจืดที่เขาค้อ เพชรบูรณ์ สูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร ต้นกำเนิดอยู่ที่ลำน้ำเข็กรอยต่อของอุทยานฯ ทุ่งแสลงหลวงจะลอยล่องอยู่ในลำน้ำเลย ไหลไปไหลมาไปกับลำน้ำ พบได้ที่เพชรบูรณ์แห่งเดียวในขณะนี้ และเป็นแห่งที่สองของโลกที่พบแมงกะพรุนน้ำจืดปรากฏตัวอยู่บนภูเขาสูง ซึ่งหมายถึงมันไม่ได้ติดต่อกับน้ำทะเล(เหมือนลำน้ำโขง) แห่งแรกอยู่ที่เทีอกเขาแอปปาเลเชี่ยนในสหรัฐอเมริกา สันนิษฐานว่าเมื่อก่อนหลายๆ ล้านปีที่อยู่ตรงนั้นเป็นน้ำทั้งหมด(Water world)แล้วก็เกิดการยกตัวของแผ่นดิน ตอนหลังน้ำทะเลกลายเป็นน้ำจืดแล้วก็แมงกระพรุนที่อยู่ในรูปของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ก็ปรับตัวให้อยู่กับน้ำจืดได้ ส่วน แมงกระพรุนลุ่มน้ำโขง นั้นจะจับกลุ่มอาศัยอยู่ที่แหล่งน้ำขัง เช่นตามตลิ่งของแม่โขง หรือตามโบกที่มีน้ำขังอยู่ จะไม่ออกไปล่องลอยในแม่น้ำ (โบกก็คือ ลานหินที่เป็นหลุมกลมๆ ลึกๆ ที่เกิดจากการกัดเซาะของกระแสน้ำ)


ขอบคุณภาพจาก http://prajae7.multiply.com

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
กลุ่มชุมชนคนรักป่าหนองแม่นาทานตะวัน 58 หมู่ 6 ต.หนองแม่นา อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ 67270
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานภาคเหนือเขต 3 โทร. 055-252-742-3 โทรสาร.055-231-063
‘>

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

คอลัมน์วันนี้ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด