นครบาลเพชรบูรณ์ ในระหว่าง สงคราม โลกครั้งที่ 2 และสงครามมหาเอเชีย บูรพา กรุงเทพฯถูกโจมตี จนประชาชนต้อง อพยพออกต่างจังหวัด จอมพล ป.พิบูล สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นเห็นสมควรให้ย้าย เมือง หลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เพราะมีชัยภูมิเหมาะสม มีภูเขาล้อมรอบมีทางออกทางเดียว ศัตรูรุกรานได้ยาก คณะรัฐมนตรีซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายก รัฐมนตรี จึงได้ยกร่าง พระราชกำหนดสร้างนครบาล ขึ้นชื่อว่า ” พระราชกำหนดระเบียบการบริหารนครบาล เมืองเพชรบูรณ ์และสร้างพุทธบุรี พ.ศ. 2487″ ซึ่งมีขั้นตอนดำเนินงานดังนี้
1. ช่วงปี พ.ศ. 2485 และ พ.ศ. 2486 ปลายมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลซึ่งมี จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้วางแผน จะย้ายเมืองหลวง มาตั้งที่เพชรบูรณ์ เพราะประเทศไทยกำลังตกอยู่ในภาวะคับขัน กรุงเทพฯถูกโจมตี จากการทิ้งระเบิดอย่างหนักเพชรบูรณ ์มีชัยภูมิความเหมาะสมที่จะเป็นเมืองหลวง แห่งแห่งใหม่ เพราะมีชัยภูมิเหมาะสม มีภูเขาล้อมรอบ มีเส้นทางคมนาคมเข้าออกเพียงทางเดียว มีภูมิประเทศสวยงาม อากาศดี อยู่ตรงกลางของประเทศ เป็นศูนย ์กลางภาคเหนือ กับภาคอีสานและกรุงเทพฯ ทั้งยังต้องการสร้าง เพชรบูรณ์ให้เป็นฐานทัพลับไว้เพื่อรบขับไล่ศัตรูอีกด้วย
2. การดำเนินการก่อสร้างนครบาลเพชรบูรณ์ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ออก คำสั่งเป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรี เป็นส่วนใหญ่โดยคำสั่ง ครั้งแรกในวันที่ 13 มีนาคม 2486 และดำเนินการร่างพระราชกำหนด จัดระเบียบราชการ บริหารนครบาลเพชรบูรณ์ฯ กำหนดให้ราชการ บริหารส่วนภูมิภาค จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นนครบาลเพชรบูรณ์ และดำเนินการ อพยพราษฎรมาตั้งหลักแหล่งที่เพชรบูรณ์ พร้อมกับย้ายที่ทำการรัฐบาล ตลอดจนสถานที่ ราชการมาตั้งที่เพชรบูรณ์ มีการทำพิธีสร้างหลักเมือง นครบาลฯ ที่บ้านบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก ส่วนที่ทำการราชการต่าง ๆ จะสร้างเป็นลักษณะชั่วคราว จ.ผ.ด. (จักสาน-ไม้ไผ่-ดินเผา) ซึ่งได้เสื่อมสภาพไปหมดแล้ว ในปัจจุบันคงเหลือแต่เพียงเสาหลักเมือง นครบาลฯ เท่านั้น จึงจำลองมา สร้างเป็นอนุสรณ์นครบาลเพชรบูรณ์ ไว้กลางเมืองเพชรบูรณ์
3. รัฐบาลในขณะนั้นได้เกณฑ์คนมา สร้างเมืองหลวงใหม่ และสร้างถนน สายตะพานหิน เพชรบูรณ์ อันเป็นเส้นทางคมนาคม เพียงทางเดียว ในสมัยนั้น ได้มีการเกณฑ์แรงงานราษฎร มาจาก 29 จังหวัด จำนวนนับแสนคน (เกิดคำว่า “คนเกณฑ์” ขึ้น) ได้ประสบความยากลำบาก เจ็บป่วยล้มตายด้วย ไข้มาลาเรียจำนวนมาก และเพื่อประโยชน์ ในการ ยุทธจำเป็นต้องเพิ่ม พลเมืองในเพชรบูรณ ์ให้มากขึ้นโดยเร็ว จึงใช้วิธี อพยพราษฎรจากจังหวัดต่าง ๆ เข้ามาจำนวนมาก มาตั้งบ้านเรือน และทำมาหากินที่เพชรบูรณ์เพื่ออาศัยให้ เพาะปลูกเลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร แก่หน่วยทหาร และอาศัยแรงงานการอพยพนี้เป็นการ ชักชวนให้มาทำมา หากิน ทางราชการจัดการ ขนส่งและจัดแบ่งที่ทำกินให้ฝั่ง ตะวันออกแม่น้ำ ป่าสักและให้ทุนเริ่มแรกตามสมควร.
4. ได้มีการย้ายส่วนราชการสำคัญต่างๆ มาที่เพชรบูรณ์ เช่น กระทรวงการ คลัง ตั้งที่ถ้ำฤาษีตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสักได้ขนย้าย พระคลังสมบัติ ทรัพย์สินของชาติ ทรัพย์ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติมาเก็บไว้ ณ ที่นี้ด้วย มีการก่อสร้างตึกทำการตลอดจน ก่อสร้างปรับปรุงถ้ำเก็บ ทรัพย์สมบัติ ให้มั่นคงปลอดภัย ปัจจุบันชาวบ้าน ยังคงเรียกกันว่า “ถ้ำฤาษีสมบัติ” นอกจากนั้นยังมีการสร้างกระทรวงยุติธรรมที่บ้าน ห้วยลาน ตำบลน้ำชุน อำเภอหล่มสักกระทรวงมหาดไทย ที่บ้านบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก กระทรวงอุตสาหกรรม ที่บ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก เป็นต้น
5. ในด้านการทหารได้ย้ายโรงเรียนนายร้อย จ.ป.ร. มาตั้งที่บ้านป่าแดง (ร.ร.นายร้อยป่าแดง) ตำบลป่าเลา อำเภอเมืองฯ มีการตั้งค่ายทหาร “พิบูลศักดิ์” ที่ตำบลหนองไขว่ อำเภอหล่มสัก ตั้งกระทรวงกลาโหม ที่บ้านป่าม่วง ตำบลท่าพล อำเภอเมืองฯ ย้ายกองทัพอากาศมาที่บ้านสักหลง อำเภอหล่มสัก ซึ่งเดิมวางแผนจะย้ายมาอำเภอท่าโรง (อำเภอวิเชียรบุรี) กรมยุทธโยธา คลังแสงและโรงงานช่างแสง กรมพลาธิการ กรมยุทธศึกษา กรมเสนา ธิการทหารบก กรมเสนารักษ์ทหารบก กรมเชื้อเพลิง ฯลฯ ต่างก็มีการโยกย้ายมาอยู่ที่เพชรบูรณ์ และเป็นกำลังสำคัญ ในการสร้างเมืองหลวงใหม่ตามนโยบาย ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
6. จอมพล ป.พิบูลสงครามได้มอบหมายให้ พลตรีอุดมโยธา รัตนวดี เป็นผู้อำนวยการสร้าง เมืองหลวงใหม่ มีหน้าที่สำคัญ คือ กำหนดผังเมือง และอำนวยการสร้าง มีการสร้างถนนชัยวิบูรณ์ จากอำเภอชัยบาดาลผ่าน วิเชียรบุรี มาบรรจบ สายตะพานหิน-เพชรบูรณ์ที่วังชมภู มีการตั้งกระทรวง เกษตรฯที่บ้านน้ำคำ ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก ตั้งกองชลประทานมีหน้าที่ จัดสร้างทำนบกั้นน้ำ สร้างเขื่อนเหมือง ฝายบำรุงรักษาคลอง และลำห้วย ให้สะอาดมีน้ำใช้ตลอดปี ให้มีการลอกห้วยป่าไม้แดง ห้วยน้ำก้อ ทำนบเหมือง ฝายห้วยท่าพล ห้วยน้ำชุน ลำห้วยนา ลำน้ำพุงที่หินอาว อำเภอหล่มเก่า ทำการกักน้ำที่หนองนารีตลอดจนให้รักษาความสะอาด ของแม่น้ำป่าสัก
7. จอมพล ป. พิบูลสงครามได้วาดผังเมืองใหญ่ 2 แห่ง คือ 1. บริเวณ เพชรบูรณ์ 2. บริเวณหล่มสักและหล่มเก่า มีการกำหนดให้กระทรวงทบวง กรมต่าง ๆ ได้กระจายตั้งกันอยู่ทั่วจังหวัดโดยมิให้กระจุกตัวกันอยู่ในเมือง เหมือนกรุงเทพฯ มีการสร้าง สำนักนายกรัฐมนตรีและศาลารัฐบาล ณ บริเวณ น้ำตกห้วยใหญ่ หลังที่ตั้งกระทรวงพาณิชย์ ปลายห้วยป่าไม้แดง โดยให้ พ.ต.ล้อม บูรกรรมโกวิทเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง นอกจากนั้น ยังสร้างทำเนียบ “บ้านสุขใจ ” ติดแม่น้ำป่าสัก เป็นที่พักอาศัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และครอบครัว (บริเวณโรงน้ำแข็งเพชรเจริญเดิม) ทำเนียบ “สามัคคีชัย” ที่เขารัง และทำเนียบที่บ้านน้ำก้อใหญ่ ไว้เป็นที่พักแรม มีการวางแผนสร้างบ้าน บัญชาการ สำนักนายกฯ ที่บริเวณ บึงสามพันด้วย
8. การก่อสร้างเมืองหลวงใหม่ได้ทวี ความสำคัญมากยิ่งขึ้นใน ขณะ นั้นได้มี การจัดงบ ประมาณ เพิ่มเติมเพื่อ สร้างศาลากลาง เพชรบูรณ์ (บริเวณเดียวกับที่ตั้งศาลากลางจังหวัดปัจจุบัน) และการเตรียมย้ายรัฐบาล มายังเพชรบูรณ์ จนกระทั่งมีการแต่งตั้ง พ.อ.ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม เป็นรองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ดูแล กิจการทั้งสิ้นที่เพชรบูรณ ์แทนนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจ อย่างนายกฯ เรียกว่า รองนายกฯ ประจำเพชรบูรณ์ และเมื่อเดือน ตุลาคม 2486 ได้มีการปรับปรุง เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ให้เป็นเทศบาลนครเพชรบูรณ์เพื่อ รองรับการ ก่อสร้าง และการขยายตัวของ เมืองหลวงใหม่
9. ได้มีคำสั่งย้ายกรมโยธาเทศบาล (กรมโยธาธิการ) มาอยู่บ้านยาวี อำเภอเมืองฯ จัดการวางผังสร้างกรมไปรษณีย์ กรมทางและกรมขนส่ง ที่บ้านท่าพล อำเภอเมืองฯ มีการวางแผนสร้างทางรถไฟจากอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี มาที่จังหวัดเพชรบูรณ์จนถึงจังหวัดเลย มีการสร้างบำรุง ถนนสายหลักเพชรบูรณ์ ตั้งแต่เชิงเขาวังชมภู ถึงค่ายทหารบ้านหินฮาว อำเภอหล่มเก่า ตั้งกระทรวงศึกษาที่บ้านหนองแส ตำบลบุ่งคล้า อำเภอ หล่มสัก แม้แต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีแผนที่จะต้องอพยพ มาเปิดสอนที่เพชรบูรณ์ด้วย โดยจะสร้างที่บ้านไร่ ตำบลสะเดียง แต่ขณะนั้นโรงเรียนเตรียมจุฬาฯ ได้อาศัยเรียนที่โรงเรียนเมืองเพชรบูรณ์ (เดิมเป็นโรงเรียนเพชรพิทยาคม)
10. การก่อสร้างและติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้สั่งการ ให้ติดตั้ง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าไว้หลายแห่งทั้งในเมือง และหน่วย ราชการมีการเพิ่ม โทรศัพท์ให้เพียงพอแก่ความ ต้องการของราชการ ปรับปรุงการโทรเลขมีการ สร้างโรงหนังไทยเพ็ชรบูล สโมสรรัตนโกสินทร์ และโรงแรมขึ้นในเขตเมืองเพชรบูรณ์เพื่อให้ข้าราชการ ได้ใช้เวลามาตรวจราชการ มีการสั่งการ ให้สร้างตลาดสดและอาคารเช่า 3 แห่ง คือ ตลาด เพชรบูรณ์ ตลาดวังชมภู และตลาดหล่มสัก ซึ่งทุกแห่งต้องมีโรงมโหรสพด้วย
11. ได้มีการสั่งย้ายโรงพิมพ์ทุกประเภทมาที่เพชรบูรณ์ เมื่อเวลา กรุงเทพฯ ถูกโจมตีทางอากาศไม่สามารถทำงานได้ จะได้ใช้โรงพิมพ์ ตั้งใหม่ที่เพชรบูรณ์พิมพ์หนังสือราชการ (ตั้งอยู่บ้านป่าแดง) และโรง พิมพ์ธนบัตร (อยู่ที่หนองนายั้ง) จัดตั้งโรงเลื่อยที่วังชมภูโดยกรมยุทธโยธา (โรงเลื่อย ยย.) สร้างกระทรวงสาธารณสุขที่บ้านวังซอง ตำบลท่าพล อำเภอเมืองฯ และโรงพยาบาลที่ร่องแคน้อย ตำบลสะเดียง (บริเวณสถาบัน ราชภัฏเพชรบูรณ์ปัจจุบัน) ให้ชักชวนผู้รับเหมางานที่เพชรบูรณ์ เพราะมีการก่อสร้างทั้งส่วนราชการและเอกชนจำนวนมาก หากไม่มีใครมาก็ต้องเกณฑ์ให้มาจนพอแก่งาน
12. การก่อสร้างเมืองหลวงใหม่ได้ดำเนินการโดยเร่งด่วน และถือเป็น ความลับของราชการ ยุทธของชาติตลอดมา เพื่อ มิให้ข้าศึกรู้แผนกการณ์ กระทั่งวันที่ 20 กรกฎาคม 2487 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เสนอ พระราชกำหนด ระเบียบราชการ บริหารนครบาลเพชรบูรณ์ฯ พ.ศ. 2487 ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่ออนุมัติเป็นพระราชบัญญัติ มีผลดำเนินการ อย่างถาวร ตลอดไปแต่ในที่สุดสภา ผู้แทนราษฎร ลงมติไม่อนุมัติด้วยคะแนนเสียง 48 ต่อ 36 ด้วยเหตุผลว่า “เพชรบูรณ์เป็นแดนกันดาร ภูมิประเทศ เป็นป่าเขา และมีไข้ชุกชุม เมื่อเริ่มสร้างเมืองนั้น ผู้ที่ถูกเกณฑ์ไปทำงานล้มตายลง นับเป็นพัน ๆ คน…. ” อนุสรณ์นครบาลเพชรบูรณ์แห่งนี้ จึงสร้างขึ้นเพื่อรำลึก ถึงบุญคุณและอัจฉริยภาพของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และเพื่อคน เพชรบูรณ์ จะได้ภูมิใจ ในประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งและความเจริญก้าวหน้า ของบ้านเมืองตน’>
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook