ที่มา หอภูมิปัญญาและวิถีชาวบ้านเพชรบูรณ์
Amazing Phetchabun
ปากพุง คือจุดบรรจบของน้ำพุงและน้ำสัก
สองสายน้ำสำคัญของคนเพชรบูรณ์ ตามหนังสือบอกว่ามารวมกันอยู่ทางใต้ของ อ.หล่มสัก คือตำแหน่งนี้ ม.6 ปากห้วยขอนแก่น ต.ตาลเดี่ยว อ.หล่มสัก
ชาวบ้านเรียกว่า…ปากพุง…ฝั่งซ้ายเป็นน้ำพุง ฝั่งขวาเป็นน้ำสัก สีน้ำไม่ต่างกัน แต่ความลึกต่างกัน ร่องน้ำสักจะลึกกว่า น้ำสักจะไหลอยู่ด้านล่าง น้ำพุงอยู่ด้านบนยามเมื่อไหลมารวมกัน
หากปีใดฝนตกแถบด่านซ้าย เมืองเลย ซึ่งเป็นแถบต้นน้ำพุง น้ำพุงมามาก ชาวบ้านแถวนั้นบอกว่า…มารวมกับน้ำสักตรงนี้ หล่มสัก น้ำท่วมแน่จ้า
Amazing Phetchabun
ต้นมะขามที่ใหญ่ที่สุดของเพชรบูรณ์
มะขามต้นนี้ อยู่ที่ปากห้วยขอนแก่น ต.ตาลเดี่ยว อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์
เป็นมะขามเปรี้ยว อายุไม่ต่ำกว่า 100 ปี ขนาดตามที่ปรากฏ ซ่อนอยู่ไม่ไกลจากถนนใหญ่ ของดีที่หลายคนยังไม่รู้ คนท้องถิ่นบอกว่าต้นใหญ่ที่สุดในเพชรบูรณ์ หากใครท้าชิงความใหญ่ เชิญส่งรายละเอียดมาได้จ้า…
หอเกียรติยศเพชบุระ(Phetchabura Hall of fame)
ปรับปรุงจวนเก่าและจัดทำพิพิธภัณฑ์บุคลสำคัญเมืองเพชรบูรณ์ ด้วยหุ่นขี้ผึ้งและเทคนิคสมัยใหม่ เช่น ท่านเฟื่อง เจ้าเมืองคนแรก,กรมพระยาดำรง เมื่อครั้งเสด็จมา สมัย ร.5,จอมพล ป.สมัยนครบาล,เขาค้อ เขาทราย,ท่านปัจจะ เกสรทอง ฯลฯ กลางปี 2557
นาฬิกาตั้งพื้น สูง 180 เซนติเมตร…
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ประทานเป็นที่ระฤก
เมื่อได้ทรงบัญชาราชการกระทรวงมหาดไทย
มาครบ 20 ปี ในพุทธศักราช 2455
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่จวนผู้ว่าราชการเ่า(สวนเพชบุระ)
จวนผู้ว่าราชการเก่าเพชรบูรณ์(สวนเพชบุระ)
กำลังถูกปรับปรุงซ่อมแซมครั้งใหญ่ ก่อนจัดทำเป็น…หอเกียรติยศบุคคลสำคัญเพชบุระ(Hall of fame) เช่น กรมพระยาดำรง,จอมพล ป.,เจ้าเมืองคนแรก ท่านฟื่อง,ท่านปัญจะ เกสรทอง,เฒ่าแก่ฮอเตี้ย,นายกชาญ,เขาค้อ เขาทราย,หลวงพ่อทบ,หลวงพ่อเขียน ฯลฯ
ผักพื้นบ้าน คนไทหล่มเรียก ผักพรึก(รสชาติเผ็ดนิดๆเหมือนพริก)
คนทางเหนือเรียก ผักขี้หูด(ฝักตะปุ่มตะป่ำเหมือนขี้หูด)
เป็นผักช่วงฤดูหนาว เบิกบานเต็มท้องไร่ ท้องนา จนน่าสงสัย
น่าเอาไปปลูกในสวน English Country จังน้อ…
แบตตาเลี่ยนมือโบราณ…(hair clipper)
รุ่นนี้เกือบ 100 ปี ยี่ห้อ Oster ผลิตในฝรั่งเศส
สมัยอดีตมีใช้ตามร้านตัดผมก่อนเปลี่ยนเป็นรุ่นไฟฟ้า
ร้านตัดผมสมัยก่อนมีคนมาอยู่กันเยอะ ไม่แพ้สภากาแฟ
ทั้งตัดผม นั่งคุย เล่นหมากรุก ดูมวยตู้ หลายกิจกรรมในร้านเดียว
หล่มสัก….มีร้านนายปรีชา พาแก้ว(ขาแหย่ง) ฝีมืออันดับต้นๆ
หล่มเก่า…มีร้านนายเปลี่ยน คำมุง(เล่นดนตรีไทยเก่ง)
ทั้งสองร้านมีตำนานเล่าขาน…ลองถามคนรุ่นพ่อ รุ่นปู่ดูดิ…แง๊บๆๆๆ
ยาสูบหรือยาเส้นที่หอมคือสายพันธุ์อีเหลือง
แต่ที่หอมที่สุด เค้าบอกว่าอยู่ที่นี่…บ้านหนองยาว อ.หล่มเก่า
เนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศเหมาะสม อยู่ในหุบเขา ที่สูง อากาศฯลฯ วันนี้เป็นวันปลูกเบี้ยยา อีกประมาณ 90 วัน ถึงวันเก็บใบ
หนึ่งในของดีเมืองเพชรบูรณ์
ลูกอะไรเอ่ย?
ของดีเพชรบูรณ์อีกอย่าง ที่กรมพระยาดำรงฯเสด็จมาเพชรบูรณ์ ปี 2447 สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงเล่าว่า…ใบยาวหกศอกมีอยู่มากมายในเพชรบูรณ์…ปัจจุบันเกือบจะสูญพันธุ์ ชื่อหมู่บ้านก็มีอยู่ พูดไปอาจไม่ดีเพราะทรพี…ลูกฆ่าแม่.
คุณยายตี๊ด ร่างทรงคนที่ 15 ของเจ้าพ่อตอมาตย์ อ.หล่มเก่า
ปัจจุบันอายุ 86 ปี ยังคงเป็นร่างทรงรับใช้เจ้าพ่อตลอดมา
เรื่องราวของประเพณีงานบุญ เลี้ยงปีเจ้าพ่อ…ประเพณีแห่งความนอบน้อมและความสามัคคีของคนหล่มเก่า.
บ้านสักง่า…เหนือสุดของหล่มเก่า เพชรบูรณ์
สักง่าแปลว่ากิ่งสาขาของน้ำสัก อยู่ด้านขวามือ ซ้ายมือคือลำน้ำสัก
จึงเป็นที่มาและเรียกตรงนี้ว่า…บ้านสักง่า
ห่างไกลแต่วิวสวย มีการจับปลามือเปล่า มีกุ้งแก่งและคนที่นี่ใจดี
เท่ เทเลอร์…ตำนานร้านตัดผ้าเมืองหล่มเก่า
ชื่อเดิม ร้านชัยเจริญ…ตัดเสื้อผ้ามาตั้งแต่สมัยพ่อ ชื่อเสียงโด่งดัง
เทเลอร์ แปลว่าช่างตัดผ้าเฉพาะลูกค้าผู้ชาย มีกรรไกรคู่ชีพจะวางไว้ขวามือของจักรเย็บผ้าเสมอ กรรไกรเล่มนี้ made in Germany
สมบัติตกทอดรุ่นพ่อ 60 ปี…แวะชมได้ที่หล่มเก่า
สืบสาว…ลาวพุงขาว ตำนานตนไทหล่ม
ปู่เกียน คำเนียม ลาวพุงขาวสักขาลายตามแบบฉบับกรมพระยาดำรงฯ แห่งบ้านหินโง่น อ.หล่มเก่า อายุ 102 ปี คนสมัยรัชกาลที่ 5 ลาวพุงขาวที่ยังเหลืออยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์
วิถีคนไทหล่ม…ทุกวันพระ
คนไทหล่มบางบ้านยังยึดถือและปฎิบัติสืบต่อกันมา
ตั้งแต่บรรพบุรุษ ยายบอกว่าเห็นพ่อแม่ทำกันมาตั้งแต่เล็กๆ
คือ การนำดอกไม้ ไปไหว้บูชาที่ประตู หน้าต่างบ้านในวันพระ
เพื่อบูชาแม่ธรณีประตูและเป็นศิริมงคล…น่ายกย่องและชื่นชม
‘>
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook