LINE : ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์

ยินดีต้อนรับสู่เพจข่าวท้องถิ่นเพชรบูรณ์

วันพฤหัสที่ 19 ธันวาคม 2024
คอลัมน์วันนี้

กำเนิดเมืองนครบาลเพชรบูรณ์.

 

คนเพชรบูรณ์เดิมแล้วมาจากหลวงพระบาง
ภาษาที่พูดไม่ใช่อีสาน
แต่คือภาษาลาวหลวงพระบาง
อพยพโดยการเดินล่องลงมา เมื่อครั้งศึกในสมัยรัชกาลที่ 4 สายหนึ่งไปทางตะวันออกเฉียงใต้
อีกสายหนึ่งลงใต้มาตามเทือกเขาเพชรบูรณ์

ทวดของเราเกิดเมื่อปี 2400 เดินมาจากหลวงพระบาง ถือวรรณคดีเรื่อง สุริวงศ์ (เหมือนรามเกียรติ์ฉบับลาว) เป็นใบลาน 800 ใบ หิ้วมาด้วย
คนหล่มเก่าคือเชื้อสายลาวหลวงพระบาง
คนหล่มสักและหล่มเก่าน่าจะมาจากทั้งหลวงพระบางและเวียงจันทร์แยกกันอยู่เป็นหม่บ้านสังเกตุสำเนียงแต่ละหมู่บ้านจะไม่ค่อยเหมื่อนกัน คนที่มาจากเวียงจันทร์มักจะมีนามสกุลที่มีคำว่าจันทร์อยู่ด้วยครับและภาษาพูดจะเน่อมากกว่า กลุ่มที่มาจากหลวงพระบาง แต่ปัจจุบันก็ผสมปนกันไป นี่เป็นแค่ข้อสังเกตุนะครับ


สมัยสุโขทัย
ในสมัยสุโขทัยลายพระหัตถ์เกี่ยวกับเพชรบูรณ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จ พระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงค์ มีความว่าเดิมจะตั้งชื่อเมืองเพชรบูร. ให้ใกล้เคียงกับเพชรบุรี แปลว่า เมืองแข็ง แต่ชื่อ อาจใกล้เคียงกันมากเกินไป จึงตั้งชื่อว่าเพชรบูรณ์ สันนิษฐานว่าตั้งชื่อรุ่นเดียวกับเมืองพิษณุโลก คำว่าเพชรบูรณ์ อาจมาจาคำว่าพืช ในประเทศอินเดียมีเมืองโบราณชื่อ bijure เทียบได้กับพืชปุระ
ชื่อเมืองเพชรบูรณ์เขียนได้ 2 แบบ คือ เพชรบูรณ์ และ เพชรบูร จากศิลาจารึกสมัยสุโขทัย (หลักที่ 53 ) จากวัดอโศการาม ( พ.ศ. 1949 ) มีข้อความอ้างอิงถึงจังหวัดเพชรบูรณ์ดังนี้
” รัฐมณฑลกว้างขวาง ทั้งปราศจากอันตรายและนำมาซึ่ง ความรุ่งเรือง รัฐสีมาของพระราชาผู้ทรง บุญญสมภาคองค์ นั้น เป็นที่รู้จักกันอยู่ว่า ในด้านทิศตะวันออกทรงทำเมืองวัชชะปุระเป็นรัฐสีมา ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทรงทำเมืองเชียงทอง เป็น รัฐสีมา…”
จากศิลาจารึกนี้ ชื่อเมืองเพชรบูรณ์อาจจะมาจากคำว่าบุระหรือปุระ แปลว่า ป้อม หอวัง ส่วนคำว่าบูรณ์ มาจากคำว่า ปูรณ แปลว่าเต็ม นายตรี อมาตกุล อธิบายว่า เมืองเพชรบูรณ์อาจจะเป็นเมืองราดก็ได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ หลักฐานโบราณคดี ชี้ชัดว่า เมืองเพชรบูรณ์ เป็นรัฐสีมาของสุโขทัย ได้แก่ พระเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งพระประธานของวัด มหาธาตุของสุโขทัยและเมืองอื่นๆ ซึ่งจัดว่าเป็นพุทธสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ และในการขุดค้นทางโบราณคดี ที่พระเจดีย์ ทรงดอกบัวตูม ที่วัดมหาธาตุ เมืองเพชรบูรณ์ของกรมศิลปกร เมื่อพ.ศ. 2510 ค้นพบศิลปวัตถุจำนวนมาก เช่น เครื่องสังคโลก ของไทย และเครื่องถ้วยกับตุ๊กตาจีน

 


สมัยอยุธยา
ในสมัยอยุธยา กฎหมายที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ว่าด้วยการเทียบศักดินาสำหรับข้าราชการ ที่มียศ สูงสุดมีศักดินาหนึ่งหมื่น ได้แก่ ฝ่ายทหาร จำนวน 12 ตำแหน่ง มีพระยาเพชรรัตน์สงคราม ตำแหน่งประจำเพชรบูรณ์ด้วย สมัยสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ แห่งกรุงศรีอยุธยา (สมเด็จพระมหาธรรมราชา) ได้ทำสัมพันธไมตรีกับ พระไชยเชษฐาธิราช แห่งนครเวียงจันทน์ เพราะเกรงว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาจะยกทัพมาตี สมเด็จพระมหาธรรมราชา พระไชยเชษฐาธิราช ได้ปฏิบัติตามสัญญาพันธมิตร ณ เจดีย์ศรีสองรักษ์ อีก 5 ปีต่อมาพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง ทัพพระไชยเชษฐา ส่งกองทัพมาช่วย ทางด่านเมืองนครไทย เข้ามาทางเมืองเพชรบูรณ์ ผ่านมาทางเมืองสระบุรีเวลารบนาน 9 เดือน จึงเสียกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ. 2100 สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ที่กล่าวถึงเมืองเพชรบูรณ์ดังต่อไปนี้ พระยาละแวก เจ้าแผ่นดินเขมร ยกทหารมา 3 หมื่นคน เข้ามาทาง เมืองนครนายก สมเด็จพระมหาธรรมราชาเกรงว่าจะตั้งรับทัพเขมรไม่ได้ เพราะถูกพระเจ้าหงสาวดี กวาดต้อนเอาทหารและอาวุธไป เมื่อกรุงแตกสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงมีบัญชา ให้ขุนเทพอรชุน จัดเตรียมเรือพระที่นั่งและเรือ ประทับเสด็จไปที่เมืองพิษณุโลก เพื่อให้พ้นศัตรูก่อน ขณะนั้นพระเพชรรัตน์ เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ มีความผิด จึงถูกปลดออกจากตำแหน่ง มีข่าวลือไปถึงเมืองหลวงว่า พระเพชรรัตน์โกรธ และคิดซ่องสุมคนเพื่อ ดักปล้นกองทัพ หลวง สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึง ไม่เสด็จไปที่พิษณุโลก และตีทัพ พระยาละแวกแตกไป ในสมัยพระมหาธรรมราชา ยังได้กล่าวถึง จังหวัดเพชรบูรณ์อีกว่า มีไทยใหญ่ที่เมืองกำแพงเพชรอพยพหนีพม่า และมอญมุ่งไปทางเมืองพิษณุโลก ทรงเกรง ว่าเป็นพวกอื่น ปลอมปนมาด้วย จึงอายัดด่านเพชรบูรณ์ เมืองนครไทย ชาติตระการและซา ไม่ให้ไทยใหญ่หนีไปได้


สมัยธนบุรี
พ.ศ. 2218 เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ได้นำกองทัพ ตีแตกทัพ อะแซ หวุ่นกี้ (พม่า) ที่ล้อมเมืองพิษณุโลก ออกมาได้ และมาชุมนุม พักทัพที่เมืองเพชรบูรณ์


สมัยรัตนโกสินทร์
จากบทความ ในหนังสือนิทานโบราณคดี พระนิพนธ์ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึงเมือง ศรีเทพและเมืองเพชรบูรณ์ว่า ขณะที่เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงไปสืบเมืองโบราณ และไม่มีใครรู้ว่าเมืองศรีเทพ อยู่ที่ใด ได้พบสมุดดำเป็นหนังสือให้คนเชิญตรา ไปบอกข่าวเรื่องการสิ้นรัชกาลที่ 2 ตามหัวเมืองสระบุรี เมืองชัยบาดาล เมืองศรีเทพและ เมืองเพชรบูรณ์ สำหรับพระราชพงศวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เรื่องทรงตั้งและแปลงนามเจ้าเมือง กรมการ ซึ่งมีว่า เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ คือพระเพชรพิชัยปลัดแปลงเป็นพระเพชรพิชภูมิ หลักฐานที่ชัดเจน เป็นพระราชนิพนธ์นิทาน โบราณคดีของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเรื่องคนไข้เมือง เพชรบูรณ์ มีว่า เมืองเกิดไข้มาลาเรียระบาดอย่างร้ายแรง ที่เมืองเพชรบูรณ์ไม่มีผู้ใดอาสาไปรับราชการ ด้วยความกลัวไข้ ท่านจึงเสด็จไป ตรวจราชการที่เมืองเพชรบูรณ์ เองเพื่อแสดงให้เห็นว่า ไข้มาลาเรียไม่ได้ร้ายแรง อย่างเช่นที่กลัวกัน ขณะที่เตรียมตัว ออกเดินทางก็มีคนห่วงใย มาส่งและให้พรคล้ายกับจะไปทำการรบ เมื่อเสด็จถึง เมืองเพชรบูรณ์ ทรงกล่าว ว่า ” ฉันไปถึงเมืองเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ท้องที่มณฑลเพชรบูรณ์ บอกแผนที่ ได้ไม่ยาก ถือลำแม่น้ำป่าสัก เป็นแนวแต่เหนือลงมาใต้มีภูเขาสูงเป็นเทือกเขาลงมา ตามแนวลำน้ำทั้งสอง ฟากเทือกข้างตะวันออก เป็นเขาปันน้ำ ต่อแดน มณฑณ นครราชสีมา เทือกเขาตะวันตกเป็นเขาต่อ แดนมณฑลพิษณุโลก เทือกเขาทั้งสองข้างบางแห่งก็ห่าง บางแห่งก็ใกล้ แม่น้ำป่าสัก เมืองหล่มสักที่อยู่สุดลำน้ำทางข้างเหนือ แต่ลงมาถึงเมืองเพชรบูรณ์ตรงที่ตั้งเมืองเพชรบูรณ์ เทือกเขาเข้ามา ใกล้ลำน้ำดูเหมือนจะไม่ถึง 400 เส้น แลเห็นต้นไม้บนภูเขาถนัดทั้ง 2 ฝั่ง ทำเลที่เมืองเพชรบูรณ์ตอนริมน้ำเป็นที่ลุ่ม ฤดูน้ำ น้ำท่วมแทบ ทุกแห่ง พ้นที่ลุ่มขึ้นไปเป็นที่ราบ ทำนาได้ผลดีเพราะอาจจะขุดเหมืองชักน้ำจากห้วยเข้านาได้เช่นเมืองลับแล พ้นที่ราบขึ้นไป เป็นโคกสลับ กับแอ่งเป็นหย่อม ๆ ไปจนถึงเชิงเขาบรรทัด บนโคกเป็นป่าเต็งรังเพาะปลูกอะไรอย่างอื่นไม่ได้ แต่ตามแอ่งน้ำ เป็นที่น้ำซับ เพาะปลูกพันธ์ไม้ งอกงามดี เมืองเพชรบูรณ์จึงสมบูรณ์ ด้วยกสิกรรม จนถึงชาวเมืองทำนา ครั้งเดียวก็ได้ข้าวพอกินกันทั้งปี สิ่งซึ่งเป็น สินค้า เมืองเพชรบูรณ์ ก็คือ ยาสูบ เพราะรสดีกว่ายาสูบ ที่อื่นทั้งหมด ในเมืองไทย ชาวเมืองเพชรบูรณ์ จึงหาผลประโยชน์ ด้วยการปลูกยาสูบขาย” หลังจากที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯทรงยืนยันถึงประโยชน์ ของการไป ครั้งนี้ว่าสามารถหาคนไปรับราชการ ในเมืองเพชรบูรณ์ได้ ง่ายกว่าสมัยก่อนมาก

 

ในสมัยรัชกาลที่ 5
ได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้าเป็นมณฑล ในปี พ.ศ. 2436 และในปี พ.ศ. 2440 เมืองเพชรบูรณ์ได้ยกฐานะเป็นมณฑลเพชรบูรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ดำรงตำแหน่ง สมุหเทศบาลอำเภอหล่มสัก ยกฐานะเป็น จังหวัดหล่มสักใน พ.ศ. 2447 มณฑลเพชรบูรณ์ถูกยุบไป ขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก แต่ได้รับการ แต่งตั้งอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2450 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ยุบเมืองเพชรบูรณ์ไปขึ้นกับมณฑณพิษณุโลก มีฐานะเป็นเมือง เพชรบูรณ์ตามเดิม มีการยกเลิกมณฑณ ต่างๆ เมื่อมีพระราชพิธีราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

 


ภาษาถิ่น
จังหวัดเพชรบูรณ์ มีประชากรที่เป็นคนพื้นบ้านซึ่งพูดภาษาถิ่นที่แตกต่างกันแต่ละท้องที่ นอกจากนี้ยัง มีประชากรที่อพยพจากส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทยใช้ภาษาถิ่นเดิมของตน และชาวไทยภูเขาที่พูดภาษาของ เผ่าตน จึงทำให้วัฒนธรรมทางภาษาถิ่นของเพชรบูรณ์มีความหลากหลาย ภาษาถิ่นที่ใช้กันในจังหวัด เพชรบูรณ์ สรุปได้ดังนี้
๑. กลุ่มภาษาหล่ม เป็นภาษาถิ่นที่ใช้กันในเขตอำเภอตอนบน ได้แก่ อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำหนาว ประชากรในเขตพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นเดิม ภาษาพูดเป็นภาษาถิ่นดั้งเดิมครั้งอพยพ มาจากเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว ภาษาหล่มมีการใช้ศัพท์คล้ายกับภาษาไทยอิสาน แต่แตกต่างกันที่ สำเนียง ภาษาหล่มจะมีสำเนียงคล้ายกับภาษาลาวที่ใช้พูดในเมืองหลวงพระบาง ในตำบลต่าง ๆ ในแต่ละ อำเภอ สำเนียงพูดจะแตกต่างกัน เล็กน้อย แต่ภาษาสื่อสารกันได้เพราะใช้ศัพท์ใกล้เคียงกัน ปัจจุบันความ สะดวกทางการคมนาคมและการใช้ภาษาไทยถิ่นกลาง จึงทำให้ภาษาไทยถิ่นกลางปะปนกับภาษาหล่ม เช่น พูดสำเนียงภาษาหล่มโดยใช้ศัพท์ภาษาไทยถิ่นภาคกลาง
๒. กลุ่มภาษาเพชรบูรณ์ กลุ่มภาษานี้จะพูดกันในเขตอำเภอเมืองเป็นภาษาที่มีสำเนียงเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว คำศัพท์ที่ใช้มีทั้งภาษาถิ่นไทยกลาง และภาษาเพชรบูรณ์
๓. กลุ่มภาษาเพชรบูรณ์ตอนใต้ คือ ภาษาที่ใช้กันในเขตอำเภอตอนใต้ซึ่งได้แก่ อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอศรีเทพ ภาษาที่ใช้พูดจะแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ ภาษาถิ่นไทยภาคกลางซึ่งส่วนใหญ่จะ เป็นคนท้องถิ่นเดิม และภาษาพูดอีกกลุ่มหนึ่งคือ ภาษาอิสาน ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่เป็นประชากรที่อพยพมา จากจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอิสาน แต่ประชากรส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาเพชรบูรณ์ตอนใต้ได้ทั้งสองกลุ่ม ภาษา
๔. กลุ่มภาษาถิ่นไทยกลาง เป็นภาษาที่ใช้พูดทั่วไปในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ เพราะเพชรบูรณ์เป็นเมือง ที่มีประชากรมาจากหลายท้องที่อพยพเข้ามา จึงใช้ภาษาถิ่นไทยกลางในการสื่อสาร แต่การใช้ภาษาจะมี ศัพท์ภาษาเดิมผสมผสานกันบ้าง
๕. ภาษากลุ่มชาวบน ชาวบนเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมของเพชรบูรณ์ สืบเชื้อสายมาจากละว้า มีภาษาพูด เป็นภาษาชาวบน ซึ่งคำศัพท์แตกต่างไปจากภาษากลุ่มอื่น ๆ ปัจจุบันประชากรเชื้อสายชาวบนเป็นชนกลุ่ม น้อย มีชุมชนอยู่ที่บ้านน้ำเลา บ้านห้วยไคร้ อำเภอเมือง และบ้านท่าด้วง อำเภอหนองไผ่
๖. ภาษากลุ่มชาวเขา ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดเพชรบูรณ์มีรูปร่างคล้าย กะทะ มีภูเขาล้อมรอบ ทุกด้าน จึงมีประชากรส่วนหนึ่งอาศัยอยู่บนเขา ชาวเขาในจังหวัดเพชรบูรณ์ประกอบด้วยชาวเขาเผ่าม้งเป็น ส่วนใหญ่ และเผ่าอื่น ๆ เช่น ลีซอ เป็นต้น
เมื่อจะศึกษาว่าเมืองหล่มสักนั้นมีวิวัฒนาการมาอย่างไรและก่อนที่จะรู้จักกับเมืองหล่มสักในด้านอื่น ๆ ขั้นแรกนั้นควรจะต้องทำควารู้จักกับชนท้องถิ่นพื้นเมืองหล่มสักก่อนว่า มีประวัติความเป็นมาและมีลักษณะอุปนิสัยและการดำรงชีพและอื่น ๆ ก่อน

 

ในจังหวัดเพชรบูรณ์นั้นมีชนพื้นเมืองที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรม เชื้อชาติและ ภาษาที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่ ๒ อำเภอ ประกอบด้วยอำเภอหล่มเก่าและอำเภอหล่มสัก กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้สันนิษฐานว่าเป็นพวกลาวพุงดำ(นิยมสักลายตั้งแต่ขาท่อนบนขึ้นไปถึงเอว) สืบเชื้อสายมาจากหลวงพระบาง ทั้งนี้สำเนียงภาษาเหมือนกันทุกอย่าง จึงน่าสันนิษฐานว่าชนกลุ่มนี้เข้ามาแต่เมื่อไรและเข้ามาทางไหน ตามคำบอกเล่าและพิจารณาตามหลักฐานในท้องถิ่น น่าจะอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในแถบนี้ตั้งแต่สมัยโบราณ อาจจะก่อนสมัยสุโขทัยก็เป็นได้ เพราะในสมัยสุโขทัยยังปรากฏชื่อเสียง เมืองลุ่มหรือเมืองหล่ม หรือเมืองลมบาจาย อยู่ในท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ตอนเหนือน่าจะเป็นเมืองหล่มเก่า ปัจจุบันในบ้านเมืองบริเวณนี้มีซากวัดวาอารามกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป แต่ปรักหักพังยากแก่การจะพิสูจน์ได้ ในสมัยพระเจ้าพีล่อโก๊ะแห่งน่านเจ้า ได้ส่งขุนลอโอรสมาสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นมาใหม่เรียกว่าเมืองเซา(หลวงพระบาง) ผู้คนจากหลวงพระบางอาจจะเคลื่อนย้ายตามลำน้ำโขงลงมา บางพวกอาจจะเข้าไปในทางน้ำปาดแสนตอ ท่าสัก เข้าสู่นครไทย และบางพวกเข้ามาทางจังหวัดเลยและเข้ามาทางเมืองแก่นท้าว ด่านซ้าย เข้าสู่หล่มเก่า หล่มสัก พบดินแดนอุดมสมบูรณ์จึงปักหลักตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มเป็นก้อน อยู่ทางตอนเหนือของลุ่มน้ำป่าสักและสาขา ชนกลุ่มนี้มีความรักความสามัคคีกันเป็นอันดี รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้ โดยเฉพาะภาษาพูด การแต่งกายและความเชื่อต่าง ๆ ในหมู่บ้านใหญ่ ๆ จะมีศาลเจ้าพ่อ มีนางเทียม เสื้อเมืองทรงเมือง ตำแหน่งเจ้าพ่อต่าง ๆ นั้น จะมีเจ้าพ่อใหญ่ เจ้าพ่อทหาร อุปฮาด เมืองกลาง หลวงศรี ศรีหวงษ์
ลูกสมุนเลี้ยงช้างเลี้ยงม้า มีเครื่องศาตราวุธ เช่น หอก ดาบ ของ้าว และฉัตร ชาวบ้านจะเคารพนับถือมากในเดือนหกของทุกปีจะมีการทำบุญเลี้ยงบ้านตามศาลเจ้าพ่อต่าง ๆ จากชื่อของเจ้าพ่อต่าง ๆ อาจจะพิจารณาและเทียบดูได้ว่าน่าจะเป็นตำแหน่งทางการปกครองในสมัยโบราณของชนพื้นเมืองหล่มสัก

สาเหตุของชนพื้นเมืองหล่มสักซึ่งมักจะรวมกันเป็นกลุ่มไม่ค่อยจะแพร่กระจายไปที่ใด
ส่วนมากจะขยายออกไปเป็นบริเวณแคบในท้องถิ่น ทั้งนี้เป็นเพราะ……….

๑. ทางเดินลำบากมีแต่เทือกเขาล้อมรอบ และเป็นชัยภูมิป้องกันข้าศึกรุกรานตามธรรมชาติ
๒. เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ จึงไม่อยากอพยพไปอยู่ที่อื่น
๓. ทางตอนใต้ลงมาอาจจะเป็นดินแดนที่ขอมปกครองในเขตเมืองศรีเทพ

เมืองลุ่มนี้นี้มาปรากฏมีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ เพราะเกิดมีกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ส่งเจ่าราชวงศ์คุมกองทัพส่วนเนึ่งมายึดเมืองลุ่มอุปฮาดเจ้าเมืองลุ่มมีกำลังน้อย จึงต้องยอมสวามิภักดิ์ต่อเจ้าราชวงศ์ เมื่อกองทัพพระยาอภัยภูธร กับพระยาพิชัยมาถึงเมืองลุ่ม นายคงชาวพื้นเมืองลุ่มได้อาสานำทัพพระยาอภัยภูธรติดตามทัพกบฎไปทันกันที่เมืองหนองบัวลำภู เขตจังหวัดอุดรธานี ทัพไทยจับเจ้าเมืองหรืออุปฮาดเมืองลุ่มได้แล้วสำเร็จโทษ ตำแหน่งอุปฮาดจึงว่างลง ทางราชการพิจารณาความชอบของนายคงเห็นว่าควรบำเหน็จรางวัลด้วยตำแหน่ง อุปฮาด และบรรดาศักดิ์ให้สูงขึ้น ดังนั้น นายคงจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ว่า “พระสุริยะวงศาชนะสงครามรามภักดีวิริยะ กรมพาหะ” จากนั้นท่านได้เดินทางกลับจากกรุงเทพฯ มายังเมืองลุ่มหรือเมืองหล่ม ได้ผ่านบ้านท่ากกโพธิ์ซึ่งอยู่ใต้เมืองลุ่มเดิม(หล่มเก่า)ลงมา เห็นว่าดินแดนแห่งนี้อุดมสมบูรณ์เป็นชัยภูมิอันเหมาะที่จะเป็นเมืองได้จึงย้ายเมืองหล่มมาตั้งขึ้นใหม่ที่บ้านท่ากกโพธิ์ ซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำป่าสัก จึงให้ชื่อว่า เมืองหล่มศักดิ์ ราว พ.ศ. ๒๔๔๐ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองหล่มสักได้รับยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดหล่มสัก ส่วนอำเภอในเมืองให้ชื่อว่า หล่มเก่า มาจนถึงทุกวันนี้ ต่อมาเมืองถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๗ เกิดวกฤตการข้ายากหมากแพงขึ้น จังหวัดหล่มสักจึงถูกลดฐานะลงมาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์มาจนถึงทุกวันนี้…..

 

บริเวณราบลุ่มที่มีเทือกเขาเพชรบูรณ์ล้อมขนาบทั้งสามด้าน คือ เขตอำเภอหล่มเก่าและอำเภอหล่มสัก เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ มากมาย และในอดีตในบริเวณเหล่านี้ก็มีความเป็นมายาวนานนับหลายร้อยปี ชื่อเมืองลุ่มหรือเมืองหล่มได้ปรากฏในนิทานหรือตำนาน เรื่อง ท้าวคัชนาม ซึ่งเป็นนิทานของราชอาณาจักรล้านช้าง ตามเนื้อเรื่องในบางสำนวนเล่าว่า ท้าวคัชเนก และ ท้าวคัชจันทร์ บุตรของท้าวคัชนามเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์มาก ทั้งสองวิวาทกันทำศึกจนสะเทือนไปทั้งโลกและจักรวาล เดือดร้อนไปถึงหมู่เทพเทวา เทวดาทั้งหลายจึงไปเฝ้าพญาแถนให้มาห้ามทัพ พญาแถนเล็งเห็นว่าท้าวคัชเนกนั้นสิ้นบุญมีชะตาขาดแล้ว จึงบันดาลลมมีดแถ(มีดโกน) ไปยังกองทัพของทั้งสองพี่น้อง ลมมีดแถก็ฟันถูกท้าวคัชเนกสิ้นชีวิตตกลงบนแผ่นดิน ร่างท้าวคัชเนกกลายเป็นภูเขาชื่อว่า “ภูจอมสี” เป็นภูเขาอยู่กลางเมืองหลวงพระบาง ศีรษะตกลงดินกลายเป็นพระยานาค เลือดตกลงมาเป็นก้อนสีแดง เรียกว่า “ภูครั่ง” ร่างส่วนหนึ่งตกลงมากระทบแผ่นดินเป็นหลุมใหญ่ในหุบเขา ภายหลังกลายเป็นเมืองเรียกว่า “เมืองลุ่ม” หรือเมืองหล่มเก่าและเมืองหล่มสัก

ขอขอบคุณข้อมูลและแหล่งที่มา…
nakornban.net

283346_10150184940402168_613647167_6170960_7197741_n 284778_10150185845337168_613647167_6178912_1459962_n 223874_10150185845212168_613647167_6178908_8014171_n 285382_10150184940527168_613647167_6170962_2123965_n 216649_10150185861222168_613647167_6179203_5562299_n กำเนิด 11.jpg 262589_10150190789987168_613647167_6227292_7815922_n IMG_0001 IMG_0007-1 12292608621229261173l IMG_0006‘>

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

คอลัมน์วันนี้ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด